ผู้สนใจเข้าศึกษา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาและจริยศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคพิเศษ)
ระดับ | ปริญญาเอก |
คณะ/สถาบัน | คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ |
เว็บไซต์ |
www.sh.mahidol.ac.th |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ศาสนาและจริยศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
แผน ๑.๑ ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว (จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ) (๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า สาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ (๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย (๔) คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด (๕) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนด (๒) - (๔) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย แผน ๒.๑ ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์ (จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย) (๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า สาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ (๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย (๔) คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด (๕) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนด ในข้อ (๒) - (๔) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แผน 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท | |||
วิทยานิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 48 | หน่วยกิต | |
แผน 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท | |||
หมวดวิชาบังคับ | 9 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 3 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 36 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 48 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักวิจัย นักวิชาการ ด้านศาสนากับการพัฒนา ในหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน องค์กรศาสนาและภาคประชาสังคมที่ทำงานพัฒนา หรือชุมชน
- ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษาด้านจริยศาสตร์ ในบริบทเทคโนโลยี สุขภาพ และองค์กรในองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน หรือองค์กรที่ทำงานด้านการพัฒนา หรือชุมชน
รายวิชาในหลักสูตร
แบบ 1
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
สมศจ๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 48 |
แบบ 2
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
สมศจ๖๐๑ : การประยุกต์จริยศาสตร์และศาสนศึกษาเพื่อการพัฒนา | 3 | ||
สมศจ๖๐๒ : สัมมนาการพัฒนาที่ยั่งยืนและจริยศาสตร์การพัฒนา | 3 | ||
สมศจ๖๐๓ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยระดับดุษฎีบัณฑิตสำหรับการศึกษาศาสนาและ จริยศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน | 3 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
สมศจ๕๑๖ : การผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืน | 2 | ||
สมศจ๕๑๗ : การวิเคราะห์นโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบททางศาสนา | 2 | ||
สมศจ๕๒๖ : ประเด็นจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน | 2 | ||
สมศจ๕๓๑ : สานเสวนาเพื่อความเข้าใจมนุษย์และการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง | 2 | ||
สมศจ๕๓๒ : ความเคลื่อนไหวทางศาสนากับการพัฒนา | 2 | ||
สมศจ๕๓๓ : สัมมนาองค์กรศาสนาเพื่อการพัฒนา | 2 | ||
สมศจ๕๓๔ : สัมมนาศาสนากับประเด็นสุขภาพ | 1 | ||
สมศจ๕๓๕ : สัมมนาศาสนากับประเด็นเพศสภาวะ | 1 | ||
สมศจ๕๓๖ : สัมมนาศาสนากับนิเวศวิทยา | 1 | ||
สมศจ๕๓๗ : สัมมนาศาสนากับความเหลื่อมล้ำและการลดความยากจน | 2 | ||
สมศจ๕๓๘ : สัมมนาแนวทางเชิงคัมภีร์สำหรับประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย | 2 | ||
สมศจ๕๓๙ : สัมมนาพุทธศาสนากับสุขภาวะทางร่างกายและจิตใจ | 2 | ||
สมศจ๕๔๑ : ชีวิตและความตาย | 2 | ||
สมศจ๕๔๒ : การพัฒนาองค์กรในขอบเขตจริยธรรม | 2 | ||
สมศจ๕๔๓ : จริยศาสตร์วิชาชีพ | 2 | ||
สมศจ๕๔๔ : จริยธรรมและสมรรถนะทางวัฒนธรรม | 2 | ||
สมศจ๕๔๕ : ปรัชญาและจริยศาสตร์ปัญญาประดิษฐ์ | 2 | ||
สมศจ๕๔๖ : การตรวจสอบจริยธรรมในองค์กร | 2 | ||
สมศจ๕๔๗ : เครื่องมือในการวิเคราะห์เชิงจริยศาสตร์ | 2 | ||
สมศจ๕๔๘ : จริยศาสตร์แห่งความอาทรเพื่อกลุ่มเปราะบาง | 1 | ||
สมศจ๖๑๑ : ประเด็นพิเศษในศาสนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน | 3 | ||
สมศจ๖๑๒ : ประเด็นพิเศษในจริยศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน | 3 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
สมศจ๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ | 36 |