เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   26   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.sh.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข)

จุดเด่นของหลักสูตร

๑. เป็นหลักสูตรสหวิทยาการที่นำองค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์ทุกด้านมาประยุกต์ใช้กับสาธารณสุข ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีความร่วมมือ และมีผลงานวิจัย ในระดับนานาชาติที่จะเสริมสร้างประสบการณ์และความรู้ให้กับนักศึกษา เพื่อให้มีคุณสมบัติในระดับเดียวกับที่จบปริญญาเอกจากต่างประเทศ ๒. สาขาการวิจัยที่เน้นหนักทางด้านสังคมศาสตร์สุขภาพทางเพศ เอชไอวี เอดส์ เพศภาวะ ระบบบริการสุขภาพ สุขภาพวัยรุ่นและผู้ด้อยโอกาส การจัดสรรทรัพยากรสุขภาพกับความเป็นธรรม ประกันคุณภาพ

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา จากสถาบันอุดมศึกษาที่คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง 
    โดยมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐  หรือ
๒. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข หรือสาขาวิชาสังคมศาสตร์และสุขภาพ 
    หรือสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันอุดมศึกษาที่คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง ไดยมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
๓. มีผลสอบคะแนนภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด
๔. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้นอาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร 
     และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๒
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข หรือสังคมศาสตร์สุขภาพ
หมวดวิชาบังคับ 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาอื่น ๆ
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 54            หน่วยกิต
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
- นักวิจัยด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
- นักวิเคราะห์นโยบายด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
- ผู้นำองค์กรด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
- ผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขในระดับอุดมศึกษา

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
   สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาตรี และสำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาอื่นๆ
สมพส๕๒๓ : พื้นฐานเบื้องต้นทางสังคมศาสตร์ 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาตรี
สมพส๕๐๖ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๕๐๗ : แนวคิดและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๕๐๘ : สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขประยุกต์ 3
สมพส๖๐๐ : ปรัชญาและทฤษฎีสังคมศาสตร์ 3
สมพส๖๐๑ : วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ขั้นสูง 3
สมพส๖๐๒ : สัมมนาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
   สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข หรือสาขาวิชาสังคมศาสตร์และสุขภาพ
สมพส๖๐๐ : ปรัชญาและทฤษฎีสังคมศาสตร์ 3
สมพส๖๐๑ : วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ขั้นสูง 3
สมพส๖๐๒ : สัมมนาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
   สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาอื่นๆ
สมพส๕๐๗ : แนวคิดและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๕๐๘ : สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขประยุกต์ 3
สมพส๖๐๐ : ปรัชญาและทฤษฎีสังคมศาสตร์ 3
สมพส๖๐๑ : วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ขั้นสูง 3
สมพส๖๐๒ : สัมมนาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สมพส๕๐๑ : สังคมวิทยาสุขภาพ 3
สมพส๕๐๒ : มานุษยวิทยาการแพทย์ 3
สมพส๕๐๓ : จิตวิทยาสุขภาพ 3
สมพส๕๐๔ : เศรษฐศาสตร์สุขภาพ 3
สมพส๕๐๕ : สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๖๐๓ : ทฤษฎีและประเด็นเชิงประจักษ์ในการวิจัยและบริหารการบริการสุขภาพ 3
สมพส๖๐๔ : มานุษยวิทยาเควียร์ทางเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ 3
สมพส๖๐๕ : ระบาดวิทยาสังคม : ทฤษฎีและวิธีการ 3
สมพส๖๐๗ : การศึกษาดูงานในอาเซียนด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๖๐๘ : โลกาภิวัตน์และสุขภาพ 3
สมพส๖๐๙ : เพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ 3
สมพส๖๑๐ : ทฤษฎีสังคมวิทยาสุขภาพ 3
สมพส๖๑๑ : ทฤษฎีสังคมวิทยาสุขภาพร่วมสมัย 3
สมพส๖๑๒ : ทฤษฎีองค์การ 3
สมพส๖๑๓ : การวิเคราะห์และการพัฒนาระบบสุขภาพ 3
สมพส๖๑๔ : สถาบันการศึกษาและความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพ 3
สมพส๖๑๕ : งานและความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพ 3
สมพส๖๑๖ : ทฤษฎีสตรีนิยม 3
สมพส๖๑๗ : การวิจัยนโยบายและระบบสุขภาพ 3
สมพส๖๑๘ : การเคลื่อนย้ายของประชากรและสุขภาพระหว่างประเทศ 3
สมพส๖๑๙ : วิธีการวิจัยเชิงปริมาณขั้นสูง 3
สมพส๖๒๐ : แนวคิดและทฤษฎีทางมานุษยวิทยาและมานุษยวิทยาการแพทย์ 3
สมพส๖๒๒ : วัฒนธรรม ความทุกข์ทางสังคมและสุขภาพ 3
สมพส๖๒๓ : การวิเคราะห์การตัดสินใจในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ 3
สมพส๖๒๔ : การวิจัยประเมินผลประเด็นทางการแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๖๒๕ : มานุษยวิทยาดิจิตอลและสุขภาพ 3
สมพส๖๒๖ : หลักการของตัวกำหนดสุขภาพเชิงสังคม 3
สมพส๖๒๗ : สังคมศาสตร์อนามัยการเจริญพันธุ์ 3
สมพส๖๒๘ : การวิจัยและการปฏิบัติด้านการพัฒนาสุขภาพ 3
สมพส๖๒๙ : สังคมในฐานะตัวกำหนดสุขภาพ 3
สมพส๖๓๑ : บุคลิกภาพ สุขภาพ และความเจ็บป่วย 3
สมพส๖๓๒ : จิตวิทยาสังคมและจิตวิทยาเชิงบวกทางสุขภาพ 3
สมพส๖๓๓ : จิตวิทยาอปกติ 3
สมพส๖๔๑ : การวางแผนและนโยบายสาธารณสุข 3
สมพส๖๔๒ : นโยบายสาธารณะและสุขภาพ 3
สมพส๖๔๓ : ระบบประกันสุขภาพ 3
สมพส๖๕๐ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ 3
สมพส๖๖๐ : การอ่านตามกำหนดทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สมพส๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
สมพส๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48