เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันเสาร์ที่   20   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (ภาคพิเศษ)

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.sh.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

(๑) ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ก  แบบ ก ๒
๑.๑ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากหลักสูตร หรือสาขาวิชาทางด้านสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง
๑.๒ ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ 
๑.๓ หากมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์หรืออาชญาวิทยาและงานยุติธรรมมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี จะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี
๑.๔ มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
๑.๕ ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๑.๒ ถึงข้อ ๑.๔ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

(๒) ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ข
๒.๑ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากหลักสูตร หรือสาขาวิชาทางด้านสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง
๒.๒ ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
๒.๓ มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
๒.๔ มีประสบการณ์การทำงานในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องสังคมศาสตร์หรืออาชญาวิทยาและงานยุติธรรม อย่างน้อย ๓ ปี 
๒.๕ ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๒.๒ ถึงข้อ ๒.๔ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาบังคับ 21            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
แผน ข
หมวดวิชาบังคับ 21            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
สารนิพนธ์ 6            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิชาการอาชญาวิทยาในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระและองค์กรระหว่างประเทศ
- นักวิชาการยุติธรรมในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม องค์กรอิสระและองค์กรระหว่างประเทศ
- นักวิจัยในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หน่วยงานกระบวนการยุติธรรม องค์กรอิสระและองค์กรระหว่างประเทศ
- เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับงานด้านอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สมสค๕๐๑ : ทฤษฎีอาชญาวิทยา 3
สมสค๕๒๒ : การบริหารงานยุติธรรมทางอาญา 3
สมสค๕๒๓ : การกระทำผิดของเด็กและเยาวชน 3
สมสค๕๒๖ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางด้านอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม 3
สมสค๕๔๔ : ชุมชนและการป้องกันอาชญากรรม 3
สมสค๕๕๑ : สถิติสำหรับการวิจัยทางด้านอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม 3
สมสค๖๓๑ : สัมมนาทางอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สมสค๕๒๐ : อาชญากรรมทางเพศ 3
สมสค๕๖๓ : สัมมนาปัญหาอาชญากรรม 3
สมสค๕๖๔ : สัมมนาปัญหางานยุติธรรมทางอาญา 3
สมสค๕๖๖ : อาชญากรรมข้ามชาติ 3
สมสค๖๒๒ : ระบบราชทัณฑ์เปรียบเทียบ 3
สมสค๖๒๗ : อาชญากรรมไซเบอร์และความปลอดภัยไซเบอร์ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สมสค๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

แผน ข

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สมสค๕๐๑ : ทฤษฎีอาชญาวิทยา 3
สมสค๕๒๒ : การบริหารงานยุติธรรมทางอาญา 3
สมสค๕๒๓ : การกระทำผิดของเด็กและเยาวชน 3
สมสค๕๒๖ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางด้านอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม 3
สมสค๕๔๔ : ชุมชนและการป้องกันอาชญากรรม 3
สมสค๕๕๑ : สถิติสำหรับการวิจัยทางด้านอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม 3
สมสค๖๓๑ : สัมมนาทางอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สมสค๕๒๐ : อาชญากรรมทางเพศ 3
สมสค๕๖๓ : สัมมนาปัญหาอาชญากรรม 3
สมสค๕๖๔ : สัมมนาปัญหางานยุติธรรมทางอาญา 3
สมสค๕๖๖ : อาชญากรรมข้ามชาติ 3
สมสค๖๒๒ : ระบบราชทัณฑ์เปรียบเทียบ 3
สมสค๖๒๗ : อาชญากรรมไซเบอร์และความปลอดภัยไซเบอร์ 3
สารนิพนธ์ หน่วยกิต
สมสค๖๙๗ : สารนิพนธ์ 6