เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันพฤหัสบดีที่   25   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.sh.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม)

วิชาเอก

  • วิชาเอกการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน
  • วิชาเอกการบริหารงานยุติธรรม
  • วิชาเอกการแก้ไขเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม
  • วิชาเอกการควบคุมสังคม
  • คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

    ๑. เป็นผู้สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนสุดท้ายในระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา
    ๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ 
    ๓. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้า
    ศึกษา  ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

    โครงสร้างหลักสูตร

    แผน ก แบบ ก๒
    หมวดวิชาแกน 12            หน่วยกิต
    หมวดวิชาบังคับ 12            หน่วยกิต
    หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
    วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
    รวมไม่น้อยกว่า 39            หน่วยกิต

    อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


    - ประกอบอาชีพในสังกัดต่างๆ ของกระทรวงยุติธรรมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    - ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการทางด้านอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม
    - นักวางแผนและนักวิจัย

    รายวิชาในหลักสูตร

    แผน ก แบบ ก2

    หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
    สมสค๕๐๑ : ทฤษฎีอาชญาวิทยา 3
    สมสค๕๒๒ : การบริหารงานยุติธรรมทางอาญา 3
    สมสค๕๒๕ : สถิติและคอมพิวเตอร์สำหรับการวิจัยทางด้านอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม 3
    สมสค๕๒๖ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางด้านอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม 3
    หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
       วิชาเอกการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน
    สคสค๕๒๗ : ความประพฤติเบี่ยงเบนและความประพฤติคล้อยตาม 3
    สมสค๕๒๓ : การกระทำผิดของเด็กและเยาวชน 3
    สมสค๕๒๘ : บุคลิกภาพและอาชญากรรม 3
    สมสค๖๙๐ : การฝึกงานภาคสนาม 3
       วิชาเอกการบริหารงานยุติธรรม
    สมสค๕๗๗ : นโยบายและการวางแผนงานยุติธรรม 3
    สมสค๖๓๓ : ความรับผิดชอบทางวิชาชีพในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา 3
    สมสค๖๕๑ : การคุมประพฤติ การอภัยโทษ การพักการลงโทษและการสงเคราะห์ภายหลังปล่อย 3
    สมสค๖๙๐ : การฝึกงานภาคสนาม 3
       วิชาเอกการแก้ไขเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม
    สมสค๖๓๔ : การบำบัดโดยชุมชน 3
    สมสค๖๓๕ : กลยุทธ์นวัตกรรมและส่งเสริมการเปลี่ยนแปลง 3
    สมสค๖๓๖ : การประเมินผลโครงการ 3
    สมสค๖๙๐ : การฝึกงานภาคสนาม 3
       วิชาเอกการควบคุมสังคม
    สมสค๕๒๑ : การควบคุมสังคม 3
    สมสค๕๗๖ : สถาบันสังคมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม 3
    สมสค๖๓๗ : การใช้กฎหมายควบคุมความประพฤติเบี่ยงเบน 3
    สมสค๖๙๐ : การฝึกงานภาคสนาม 3
    หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
    สมสค๕๑๙ : อาชญากรรมองค์กรและอาชญากรรมข้ามชาติ 3
    สมสค๕๒๐ : อาชญากรรมทางเพศ 3
    สมสค๕๘๑ : สัมมนาปัญหางานยุติธรรมทางอาญา 3
    สมสค๕๘๔ : อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ 3
    สมสค๖๒๑ : เพศสภาพกับอาชญากรรม 3
    สมสค๖๒๒ : ระบบราชทัณฑ์เปรียบเทียบ 3
    สมสค๖๒๓ : ความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม 3
    สมสค๖๒๔ : เทคโนโลยีกับอาชญากรรม 3
    สมสค๖๒๕ : สิทธิมนุษยชนกับกระบวนการยุติธรรม 3
    สมสค๖๒๖ : ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานยุติธรรม 3
    สมสค๖๓๒ : อาชญากรรมไม่มีผู้เสียหาย 3
    สมสค๖๓๘ : การออกแบบวิธีวิจัยทางอาชญาวิทยาและวิธีทางสถิติขั้นสูง 3
    สมสค๖๓๙ : สัมมนาปัญหาอาชญากรรมและสังคม 3
    สมสค๖๔๐ : อาชญากรรมทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม 3
    สมสค๖๔๑ : สัมมนาวิทยานิพนธ์ 3
    สมสค๖๖๓ : การเปลี่ยนแปลงองค์การ 3
    วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
    สมสค๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

    อาจารย์ประจำหลักสูตร