เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   26   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประชากรศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.sh.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ประชากรศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)

จุดเด่นของหลักสูตร

รายละเอียดของหลักสูตรมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพประชากรในแนวทางสหวิทยาการ

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททุกสาขาวิชา จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ 
๓. มีผลสอบภาษาอังกฤษตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๔. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดใน ข้อ ๒. และ ข้อ ๓. อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้าศึกษาได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิชาการในองค์กรต่างๆ ที่ทำงานด้านการวางแผนและพัฒนาประชากร
- นักวิจัยด้านสังคมศาสตร์ ที่สามารถทำงานวิจัยด้านการพัฒนาประชากร
- นักพัฒนาในองค์กรต่างๆ ที่ทำงานด้านการวางแผนและพัฒนาประชากร
- ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประชากร
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาคุณภาพประชากรในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สมปย๖๕๑ : ประชากรศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3
สมปย๖๕๒ : นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3
สมปย๖๕๓ : สัมมนาวิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางประชากรศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สมปย๖๕๔ : นวัตกรรมการวิจัยทางประชากรศึกษา 3
สมปย๖๕๕ : ประชากรและสุขภาพ 3
สมปย๖๕๖ : การพัฒนาความรอบรู้สำหรับประชากรในศตวรรษที่ ๒๑ 3
สมปย๖๕๗ : นวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒนาประชากร 3
สมปย๖๕๘ : หัวข้อคัดสรรด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สมปย๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36