ผู้สนใจเข้าศึกษา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการองค์กรอย่างยั่งยืน (ภาคพิเศษ)
ระดับ | ปริญญาโท |
คณะ/สถาบัน | คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ |
เว็บไซต์ |
http://www.en.mahidol.ac.th |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(การจัดการองค์กรอย่างยั่งยืน)
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ๒ แบบวิชาชีพ (ศึกษารายวิชาและการค้นคว้าอิสระ) ๑. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทุกสาขาวิชา ๒. มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า ๑ ปี ๓. คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด ๔. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๓. อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้าศึกษาได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แผน 2 แบบวิชาชีพ | |||
หมวดวิชาบังคับ | 18 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 12 | หน่วยกิต | |
การค้นคว้าอิสระ | 6 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 36 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1 นักวิเคราะห์ด้านความยั่งยืน 2 เจ้าหน้าที่พัฒนานโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนการบริหารจัดการความยั่งยืนขององค์กร 3 นักวิชาการด้านการพัฒนาความยั่งยืนขององค์กรรัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม และองค์กรอิสระ 4 เจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อมในสาขาการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 5 เจ้าหน้าที่พัฒนากิจกรรมเพื่อสังคม 6 ผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรทางการศึกษา
รายวิชาในหลักสูตร
แผน ข
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
สวยย๖๐๑ : ทฤษฎีความยั่งยืน | 3 | ||
สวยย๖๐๒ : นวัตกรรมที่ยั่งยืน และ ภาวะการเป็นผู้ประกอบการ | 3 | ||
สวยย๖๐๓ : การจัดทำรายงานและการประเมินความยั่งยืน | 3 | ||
สวยย๖๐๔ : การวิจัยและสัมมนาด้านความยั่งยืน | 3 | ||
สวยย๖๐๕ : การประเมินและบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก | 3 | ||
สวยย๖๐๖ : ความยั่งยืนเชิงกลยุทธ์ระดับองค์กร | 3 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
โมดูลการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับองค์กร | |||
สวยย๖๑๐ : ความยั่งยืน ผลประกอบการทางการเงิน และการลงทุนยั่งยืน | 3 | ||
สวยย๖๑๑ : การกำกับดูแลกิจการและความยั่งยืน | 3 | ||
สวยย๖๑๒ : การตลาดเพื่อความยั่งยืน | 3 | ||
สวยย๖๑๓ : การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน | 3 | ||
โมดูลการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับองค์กร | |||
สวยย๖๑๔ : สัมมนาพิเศษเกี่ยวกับการบริหารจัดการความยั่งยืน | 3 | ||
สวยย๖๑๕ : การผลิตและบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ | 3 | ||
สวยย๖๑๖ : การเปลี่ยนผ่านองค์กรให้เป็นกลางทางคาร์บอนและปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ | 3 | ||
โมดูลการใช้เครื่องมือระดับสูงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับองค์กร | |||
สวยย๖๑๗ : การประเมินผลกระทบด้านความยั่งยืน | 3 | ||
สวยย๖๑๘ : ทรัพยากรและการจัดการมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม | 3 | ||
สวยย๖๑๙ : การคิดเชิงระบบและทัศนภาพระบบเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน | 3 | ||
สวยย๖๒๐ : ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร | 3 | ||
การศึกษาอิสระ | หน่วยกิต | ||
สวยย๖๙๖ : การค้นคว้าอิสระ | 6 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- อาจารย์ นรินทร์ บุญตานนท์
- รองศาสตราจารย์ จารุวรรณ วงค์ทะเนตร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เบญจลักษณ์ ศกุนะสิงห์
- รองศาสตราจารย์ กฤตณะ พฤกษากร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เพียงใจ พีระเกียรติขจร
- อาจารย์ จักรพล พันธุวงศ์ภักดี
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พลอย สุดอ่อน
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จิรทยา เริ่มมนตรี
- รองศาสตราจารย์ สยาม อรุณศรีมรกต
- อาจารย์ บุญลือ คะเชนทร์ชาติ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กันต์ ปานประยูร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มณฑิรา ยุติธรรม
- รองศาสตราจารย์ นพพล อรุณรัตน์
- รองศาสตราจารย์ สุกัญญา เสรีนนท์ชัย
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อัจฉรา อัศวรุจิกุลชัย
- รองศาสตราจารย์ วิริยะ เตชะรุ่งโรจน์