เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารสาธารณสุข (ภาคพิเศษ)

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะสาธารณสุขศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.ph.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(บริหารสาธารณสุข)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา ในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันอุดมศึกษา
    ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง 
๒. ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
๓. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุข ไม่น้อยกว่า ๑ ปี  
๔. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
๕. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร 
    และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาบังคับ 19            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 5            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิชาการในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรระหว่างประเทศ และสถาบันการศึกษาทุกระดับทั้งในภาครัฐและเอกชน สามารถเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารสาธารณสุขระดับต้น และระดับกลางได้
- นักวิจัยในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในประเทศและต่างประเทศ
- นักบริหารสาธารณสุขในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สศคร๗๐๕ : วิทยาการระบาดและสถิติสำหรับการบริหารสาธารณสุข 3
สศบส๖๐๒ : การบริหารงานสาธารณสุข 3
สศบส๖๑๔ : ภาวะผู้นำ พฤติกรรมองค์การ และการพัฒนาระบบสุขภาพ 3
สศบส๖๑๖ : นโยบายและการวางแผนสุขภาพ 3
สศบส๖๒๒ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางการบริหารสาธารณสุข 3
สศบส๖๒๔ : จริยธรรมและกฎหมายสำหรับการบริหารสาธารณสุข 1
สศบส๖๙๒ : การฝึกงานทางการบริหารสาธารณสุข 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   หมวดวิชานโยบายและการจัดการ
สศบส๖๓๐ : การจัดการทรัพยากรสุขภาพ 3
สศบส๖๓๔ : การกำกับและประเมินผลในงานสาธารณสุข 3
สศบส๖๓๕ : หัวข้อเฉพาะทางการบริหารงานสาธารณสุข 2
สศบส๖๔๒ : สาธารณสุขมูลฐานและการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3
สศบส๖๙๕ : สัมมนาปัญหาทางสาธารณสุขและการบริหาร 2
   หมวดวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข
สศบส๖๐๕ : เศรษฐศาสตร์สุขภาพประยุกต์ 3
สศบส๖๕๕ : การประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์และการประเมินเทคโนโลยีทางสุขภาพ 3
   หมวดวิชาการบริหารโรงพยาบาล
สศบส๖๔๖ : หลักการบริหารโรงพยาบาล 3
สศบส๖๔๘ : การจัดการการเงินและบัญชีโรงพยาบาล 2
สศบส๖๖๑ : การจัดการคุณภาพในโรงพยาบาล 2
สศบส๖๖๒ : ประเด็นทางการจัดการโรงพยาบาลสมัยใหม่ 2
สศบส๖๖๓ : เศรษฐศาสตร์โรงพยาบาล 2
   หมวดวิชาการบริหารกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข
สศบส๖๒๙ : การเจรจาและการระงับข้อพิพาททางการแพทย์และสาธารณสุข 2
สศบส๖๖๔ : การบริหารกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข 3
สศบส๖๖๕ : กฎหมายและจริยศาสตร์ทางการแพทย์ 3
สศบส๖๗๕ : กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ 2
สศบส๖๗๖ : กฎหมายมหาชน 3
   หมวดวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
สศบส๖๘๓ : เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสุขภาพ 3
สศบส๖๘๔ : นวัตกรรมการดูแลสุขภาพ 3
สศบส๖๘๕ : การกำกับดูแลและการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ 3
สศบส๖๘๙ : การสื่อสารความเสี่ยงและเตรียมความพร้อมในการเผชิญภัยพิบัติ 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สศบส๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

อาจารย์ประจำหลักสูตร

  1. ศาสตราจารย์ ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ
  2. รองศาสตราจารย์ จารุวรรณ ธาดาเดช
  3. รองศาสตราจารย์ นวรัตน์ สุวรรณผ่อง
  4. รองศาสตราจารย์ สุคนธา คงศีล
  5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยุวนุช สัตยสมบูรณ์
  6. อาจารย์ ชนิดา เลิศพิทักษ์พงศ์
  7. รองศาสตราจารย์ มธุรส ทิพยมงคลกุล
  8. รองศาสตราจารย์ ปรารถนา สถิตย์วิภาวี
  9. รองศาสตราจารย์ สุขุม เจียมตน
  10. รองศาสตราจารย์ วิริณธิ์ กิตติพิชัย
  11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุคนธา ศิริ
  12. รองศาสตราจารย์ จุฑาธิป ศีลบุตร
  13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณัฐนารี เอมยงค์
  14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศรัณญา เบญจกุล
  15. รองศาสตราจารย์ ศริยามน ติรพัฒน์
  16. รองศาสตราจารย์ มลินี สมภพเจริญ
  17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วันวิสาข์ ศรีสุเมธชัย
  18. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์
  19. อาจารย์ ระพีพันธ์ จอมมะเริง
  20. อาจารย์ อลงกรณ์ เปกาลี