ผู้สนใจเข้าศึกษา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารสาธารณสุข
ระดับ | ปริญญาโท |
คณะ/สถาบัน | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
เว็บไซต์ |
http://www.ph.mahidol.ac.th |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(บริหารสาธารณสุข)
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
๑. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา ในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันอุดมศึกษา ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง ๒. ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ ๓. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุข ไม่น้อยกว่า ๑ ปี ๔. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย ๕. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก๒ | |||
หมวดวิชาบังคับ | 19 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 5 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 12 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 36 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักวิชาการในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรระหว่างประเทศ และสถาบันการศึกษาทุกระดับทั้งในภาครัฐและเอกชน สามารถเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารสาธารณสุขระดับต้น และระดับกลาง ได้
- นักวิจัยในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในประเทศและต่างประเทศ
- นักบริหารสาธารณสุขในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน
รายวิชาในหลักสูตร
แผน ก แบบ ก2
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
สศคร๗๐๕ : วิทยาการระบาดและสถิติสำหรับการบริหารสาธารณสุข | 3 | ||
สศบส๖๐๒ : การบริหารงานสาธารณสุข | 3 | ||
สศบส๖๑๔ : ภาวะผู้นำ พฤติกรรมองค์การ และการพัฒนาระบบสุขภาพ | 3 | ||
สศบส๖๑๖ : นโยบายและการวางแผนสุขภาพ | 3 | ||
สศบส๖๒๒ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางการบริหารสาธารณสุข | 3 | ||
สศบส๖๒๔ : จริยธรรมและกฎหมายสำหรับการบริหารสาธารณสุข | 1 | ||
สศบส๖๙๒ : การฝึกงานทางการบริหารสาธารณสุข | 3 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
หมวดวิชานโยบายและการจัดการ | |||
สศบส๖๓๐ : การจัดการทรัพยากรสุขภาพ | 3 | ||
สศบส๖๓๔ : การกำกับและประเมินผลในงานสาธารณสุข | 3 | ||
สศบส๖๓๕ : หัวข้อเฉพาะทางการบริหารงานสาธารณสุข | 2 | ||
สศบส๖๔๒ : สาธารณสุขมูลฐานและการพัฒนาอย่างยั่งยืน | 3 | ||
สศบส๖๙๕ : สัมมนาปัญหาทางสาธารณสุขและการบริหาร | 2 | ||
หมวดวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข | |||
สศบส๖๐๕ : เศรษฐศาสตร์สุขภาพประยุกต์ | 3 | ||
สศบส๖๕๕ : การประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์และการประเมินเทคโนโลยีทางสุขภาพ | 3 | ||
หมวดวิชาการบริหารโรงพยาบาล | |||
สศบส๖๔๖ : หลักการบริหารโรงพยาบาล | 3 | ||
สศบส๖๔๘ : การจัดการการเงินและบัญชีโรงพยาบาล | 2 | ||
สศบส๖๖๑ : การจัดการคุณภาพในโรงพยาบาล | 2 | ||
สศบส๖๖๒ : ประเด็นทางการจัดการโรงพยาบาลสมัยใหม่ | 2 | ||
สศบส๖๖๓ : เศรษฐศาสตร์โรงพยาบาล | 2 | ||
หมวดวิชาการบริหารกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข | |||
สศบส๖๒๙ : การเจรจาและการระงับข้อพิพาททางการแพทย์และสาธารณสุข | 2 | ||
สศบส๖๖๔ : การบริหารกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข | 3 | ||
สศบส๖๖๕ : กฎหมายและจริยศาสตร์ทางการแพทย์ | 3 | ||
สศบส๖๗๕ : กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ | 2 | ||
สศบส๖๗๖ : กฎหมายมหาชน | 3 | ||
หมวดวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรม | |||
สศบส๖๘๓ : เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสุขภาพ | 3 | ||
สศบส๖๘๔ : นวัตกรรมการดูแลสุขภาพ | 3 | ||
สศบส๖๘๕ : การกำกับดูแลและการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ | 3 | ||
สศบส๖๘๙ : การสื่อสารความเสี่ยงและเตรียมความพร้อมในการเผชิญภัยพิบัติ | 2 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
สศบส๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 12 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- อาจารย์ อลงกรณ์ เปกาลี
- รองศาสตราจารย์ นวรัตน์ สุวรรณผ่อง
- รองศาสตราจารย์ สุคนธา คงศีล
- ศาสตราจารย์ ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ
- รองศาสตราจารย์ มธุรส ทิพยมงคลกุล
- รองศาสตราจารย์ สุขุม เจียมตน
- รองศาสตราจารย์ มลินี สมภพเจริญ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุคนธา ศิริ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณัฐนารี เอมยงค์
- รองศาสตราจารย์ ปรารถนา สถิตย์วิภาวี
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วันวิสาข์ ศรีสุเมธชัย
- รองศาสตราจารย์ จารุวรรณ ธาดาเดช
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์
- อาจารย์ ระพีพันธ์ จอมมะเริง
- อาจารย์ ชนิดา เลิศพิทักษ์พงศ์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยุวนุช สัตยสมบูรณ์
- รองศาสตราจารย์ จุฑาธิป ศีลบุตร
- รองศาสตราจารย์ วิริณธิ์ กิตติพิชัย
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศรัณญา เบญจกุล
- รองศาสตราจารย์ ศริยามน ติรพัฒน์