เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันเสาร์ที่   27   กรกฎาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะสาธารณสุขศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.ph.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต

วิชาเอก

  • วิชาเอกการพยาบาลสาธารณสุข
  • วิชาเอกบริหารสาธารณสุข
  • วิชาเอกวิทยาการระบาด
  • วิชาเอกสุขภาพประชากรโลก
  • วิชาเอกโภชนาการสาธารณสุข
  • วิชาเอกปรสิตวิทยาและกีฏวิทยา
  • วิชาเอกสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ
  • วิชาเอกอนามัยครอบครัว
  • วิชาเอกอนามัยครอบครัวและอนามัยการเจริญพันธุ์
  • คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

    ๑. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
        วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  (สาธารณสุขศาสตร์)  สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม สาขาอนามัยครอบครัว
        สาขาการพยาบาลสาธารณสุข สาขาโรคติดเชื้อและการระบาด สาขาส่งเสริมสุขภาพ สาขาบริหาร
        สาธารณสุข สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ   หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงาน
        คณะกรรมการอุดมศึกษารับรอง
    ๒. มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาโทหรือเทียบเท่า
    ๓. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานทางด้านสาธารณสุขและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า ๑ ปี
    ๔. ผู้ที่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ ๑. - ๓.   อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
         เข้าศึกษา  ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร  และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

    โครงสร้างหลักสูตร

    หมวดวิชาแกน 8            หน่วยกิต
    หมวดวิชาบังคับ 7            หน่วยกิต
    หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
    วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
    รวมไม่น้อยกว่า 54            หน่วยกิต

    อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


    - นักบริหารงานสาธารณสุข นักบริหารทั่วไป
    - นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
    - นักวิจัยระบบนโยบายสุขภาพและสาธารณสุข ทั้งระดับชาติและนานาชาติ
    - ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางวิชาการด้านสาธารณสุข
    - นักวิชาการด้านการพัฒนาระบบสุขภาพ สาธารณสุข และส่งเสริมสุภาพ
    - นักวิจัยและประเมินผลแผนงาน โครงการด้านส่งเสริมสุขภาพ
    - ผู้ปฏิบัติและผู้บริหารงานในอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์การบริหารและอาชีพอิสระ

    รายวิชาในหลักสูตร

    แบบ 2

    หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
    สศคร๖๘๒ : บูรณาการและนวัตกรรมของการสาธารณสุข 2
    สศคร๖๘๓ : การฝึกภาคสนามด้านภาวะผู้นำสาธารณสุข 1
    สศคร๖๘๕ : สัมมนาดุษฎีบัณฑิตทางการสาธารณสุข 1
    สศชส๖๒๙ : ชีวสถิติขั้นสูงทางสาธารณสุข 3
    สศบส๕๑๖ : จริยธรรมในระบบสุขภาพ 1
    หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
       วิชาเอกบริหารสาธารณสุข
    สศบส๖๗๘ : การจัดทำนโยบายสาธารณสุข ดำเนินการ และการประเมินผล 2
    สศบส๖๘๐ : การบริหารและพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุข 2
    สศบส๖๘๒ : การพัฒนาและวิจัยทางการบริหารสาธารณสุข 3
       วิชาเอกอนามัยครอบครัว
    สศอค๖๓๔ : การวิจัยขั้นสูงเพื่อพัฒนาครอบครัว 2
    สศอค๖๓๕ : อนามัยครอบครัวขั้นสูง 2
    สศอค๖๓๖ : เพศสภาวะกับสุขภาพ 1
    สศอค๖๓๗ : สหวิทยาการเพื่อสุขภาพเด็กและวัยรุ่น 2
       วิชาเอกสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ
    สศสษ๖๔๔ : การสัมมนาทางการวิจัยและการปฏิบัติทางพฤติกรรมและสังคมศาสตร์ 1
    สศสษ๖๔๖ : การวิจัยทางพฤติกรรมและสังคมศาสตร์ขั้นสูง 3
    สศสษ๖๔๘ : การประยุกต์ทฤษฎีและหลักการทางพฤติกรรม และสังคมศาสตร์ในการส่งเสริมสุขภาพ 3
       วิชาเอกสุขภาพประชากรโลก
    สศคร๖๗๑ : แนวคิดด้านสุขภาพประชากรโลก 2
    สศคร๖๗๘ : การศึกษาพิเศษด้านสุขภาพประชากรโลก 2
    สศคร๖๘๐ : กลยุทธ์ในงานสุขภาพประชากรโลก 3
       วิชาเอกปรสิตวิทยาและกีฏวิทยา
    สศปว๖๐๔ : ปรสิตวิทยาขั้นสูง 2
    สศปว๖๑๕ : การจัดการงานปรสิตวิทยาสาธารณสุขระดับโมเลกุล 2
    สศปว๖๑๖ : การกำหนดรูปแบบและการวิเคราะห์ในงานวิจัยทางปรสิตวิทยา 2
    สศปว๖๑๗ : สัมมนาปรสิตขั้นสูง 1
       วิชาเอกวิทยาการระบาด
    สศรบ๖๑๔ : สถิติวิเคราะห์ในงานระบาด ๒ 3
    สศรบ๖๑๘ : การศึกษาทางระบาดวิทยาส่วนรูปแบบและการวิเคราะห์ ๑ 3
    สศรบ๖๙๐ : ประสบการณ์การสอนทางวิทยาการระบาด 1
       วิชาเอกการพยาบาลสาธารณสุข
    สศพส๖๓๗ : สัมมนาการวิจัยทางการพยาบาลสาธารณสุขร่วมสมัย 2
    สศพส๖๖๔ : การศึกษาพยาบาลและการจัดการในงานพยาบาลสาธารณสุข 3
    สศพส๖๖๕ : การพัฒนาทฤษฎีการพยาบาลสาธารณสุข 2
       วิชาเอกโภชนาการสาธารณสุข
    สศภว๖๕๑ : การพัฒนาและบริหารแผนงานทางโภชนาการ 3
    สศภว๖๕๒ : การวิจัยทางโภชนาการสาธารณสุขระดับปริญญาเอก 2
    สศภว๖๕๓ : สัมมนาโภชนศาสตร์ขั้นสูง 2
    หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
    สศบส๖๐๕ : เศรษฐศาสตร์สุขภาพประยุกต์ 3
    สศภว๖๕๔ : โภชนศาสตร์ในการชราภาพและการมีอายุยืน 2
    สศภว๖๕๕ : การศึกษาพิเศษ 2
    สศรบ๖๐๔ : วิธีการทางสถิติในงานวิทยาการระบาด ๑ 3
    สศรบ๖๑๐ : วิทยาการระบาดเชิงสังคม 3
    สศรบ๖๑๒ : หัวข้อการวิจัยทางวิทยาการระบาด 3
    สศสษ๖๕๔ : การศึกษาพิเศษด้านการวิจัยพฤติกรรมและสังคมศาสตร์ 3
    สศสษ๖๕๖ : การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูลด้านพฤติกรรมและสังคมศาสตร์ 2
    สศอค๖๓๙ : จิตวิทยาครอบครัวและสังคม 2
    สศอค๖๔๐ : ประเมินผลโครงการอนามัยครอบครัว 2
    วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
    สศคร๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
    สศคร๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
    สศบส๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
    สศปว๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
    สศพส๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
    สศภว๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
    สศรบ๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
    สศสษ๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36

    อาจารย์ประจำหลักสูตร