เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันพุธที่   24   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะสาธารณสุขศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.ph.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(สนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ)

จุดเด่นของหลักสูตร

๑. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ(หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตร แรกของคณะสาธารณสุขศาสตร์ และเป็นหลักสูตรแรกของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีการพัฒนาเป็นหลักสูตร ในระดับปริญญามหาบัณฑิต ในลักษณะหลักสูตรนานาชาติ ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยมหิดล ในคราวประชุมครั้งที่ ๔๑๗ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เปิดรับนักศึกษาครั้งแรกปีการศึกษา ๒๕๕๒ ในลักษณะหลักสูตรนานาชาติ มีนักศึกษาต่างชาติสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตร จากสหรัฐอเมริกา ประเทศ จีน เนปาล กัมพูชา เวียดนาม นักศึกษาชาวไทยที่สมัครเข้าเรียนมาจาก ๒ สาขาวิชาสำคัญ คือ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ๒. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ) พัฒนาขึ้นมา โดยภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ซึ่งมีประวัติยาวนานมาจากการพัฒนาหลักสูตร วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวสถิติ ด้วยความสำเร็จมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๘ ด้วยทักษะและองค์ความรู้ทางด้าน ชีวสถิติที่บุคลากรทุกคนมีอยู่ ทำให้การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ ประยุกต์กับ ข้อมูลจำนวนมาก ประยุกต์กับฐานข้อมูลด้านสุขภาพที่มาจากหลายๆ แหล่ง และมีการสื่อสารเชื่อมโยงกัน ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารของข้อมูล เพื่อประโยชน์ทางด้านสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านสุขภาพ การบริหาร จัดการ รวมถึงนโยบายสุขภาพด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวติของมวลมนุษยชาติ ๓. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ) ได้วาง รากฐานเครือข่ายของวงวิชาการด้านสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ ทั้งหน่วยงานของรัฐด้านสุขภาพ องค์กร อิสระด้านวิชาการ และการประยุกต์สนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ ตลอดจนสมาคมซึ่งเป็นทีประสานกันทำงาน ด้านวิชาการ ประกอบกับงานด้านสนเทศาสตร์ทางสุขภาพ เป็นงานที่บุคลากรด้านนี้ทุกท่าน ทำด้วย ความรักในองค์ความรู้ ความศัทธาต่อสาขาวิชา มีความประสงค์ที่จะสร้างและพัฒนาบุคลากรให้มีองค์ความรู้ ที่พร้อม มีทัศนคติที่ดี และมีความภูมิใจในสาขาวิชาของตนเอง ๔. ระบบการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรที่มีแผน ก๒ ซึ่งทำงานวิจัยในลักษณะวิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต และในแผน ข ซึ่งทำงานวิจัยในลักษณะสารนิพนธ์ ๖ หน่วยกิต เป็นแนวทางที่เอื้อให้การเลือก แผนการศึกษาเหมาะสมกับนักศึกษาแต่ละคน โดยยึดหลักของระบบการเรียนโดยให้นักศึกษาเป็น ศูนย์กลาง ๕. ระบบการเรียนการสอนของหลักสูตรวิทยาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ เป็นหลักสูตรนานาชาติ สามารถรองรับการเป็นสมาชิกของ ASEAN Community ในปี ๒๐๑๕ ได้ทันที

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ สนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ คณิตศาสตร์ สถิติ
แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด
สาธารณสุขศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
๒.ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ หรือเทียบเท่า
๓. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

รวมไม่น้อยกว่า 38            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยวกว่า 6            หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาบังคับ 20            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 38            หน่วยกิต
แผน ข
หมวดวิชาบังคับ 20            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12            หน่วยกิต
สารนิพนธ์ 6            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิชาการและนักวิจัยด้านสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ
- นักวิเคราะห์ระบบ ออกแบบระบบ และพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์กรด้านสุขภาพ

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
สศชส๕๕๑ : ฐานความรู้ทางคอมพิวเตอร์และสนเทศศาสตร์ 2
สศชส๕๕๒ : ฐานความรู้ทางการแพทย์และสุขภาพ 2
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สศชส๖๐๒ : ชีวสถิติ ข 3
สศชส๖๒๖ : บันทึกข้อมูลการแพทย์ มาตรฐาน การลงรหัสและระบบการจำแนกโรค 3
สศชส๖๔๐ : ระบบฐานข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์สนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ 3
สศชส๖๔๑ : สนเทศศาสตร์ทางการแพทย์และระบบการดูแลสุขภาพ 3
สศชส๖๔๒ : หลักสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ 3
สศชส๖๔๔ : การออกแบบวิจัยและการประเมินผลสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ 3
สศชส๖๘๑ : สัมมนาทางสนเทศศาสตร์สุขภาพ 2
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สศชส๖๔๓ : ระบบการดูแลสุขภาพอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ 3
สศชส๖๔๕ : การจำลองระบบทางสุขภาพ 3
สศชส๖๔๖ : การออกแบบส่วนต่อประสานการดูแลสุขภาพ 3
สศชส๖๔๗ : การทำเหมืองข้อมูลและการค้นพบความรู้ 3
สศชส๖๔๘ : การสร้างตัวแบบทางความรู้ในสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ 3
สศชส๖๔๙ : ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจทางสุขภาพ 3
สศชส๖๕๐ : เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ 3
สศชส๖๗๑ : การจัดการระบบสารสนเทศทางสุขภาพ 3
สศชส๖๗๒ : การจัดการโครงการสารสนเทศ 3
สศชส๖๗๓ : ความมั่นคงในระบบสารสนเทศทางสุขภาพ 3
สศชส๖๗๕ : ลักษณะจริยศาสตร์ทางกฎหมายสำหรับสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ 3
สศชส๖๗๖ : การพัฒนาระบบเชิงวัตถุทางสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ 3
สศชส๖๗๗ : สนเทศศาสตร์ทางสาธารณสุข 3
สศชส๖๗๘ : ระบบสารสนเทศเพื่อส่งให้การดูแลสุขภาพ 3
สศชส๖๘๓ : การสื่อสารข้อมูลและการจัดการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 3
สศชส๖๘๔ : ระบบลูกข่าย-แม่ข่าย 3
สศชส๖๘๕ : การศึกษาเฉพาะด้านสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สศชส๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

แผน ข

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
สศชส๕๕๑ : ฐานความรู้ทางคอมพิวเตอร์และสนเทศศาสตร์ 2
สศชส๕๕๒ : ฐานความรู้ทางการแพทย์และสุขภาพ 2
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สศชส๖๐๒ : ชีวสถิติ ข 3
สศชส๖๒๖ : บันทึกข้อมูลการแพทย์ มาตรฐาน การลงรหัสและระบบการจำแนกโรค 3
สศชส๖๔๐ : ระบบฐานข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์สนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ 3
สศชส๖๔๑ : สนเทศศาสตร์ทางการแพทย์และระบบการดูแลสุขภาพ 3
สศชส๖๔๒ : หลักสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ 3
สศชส๖๔๔ : การออกแบบวิจัยและการประเมินผลสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ 3
สศชส๖๘๑ : สัมมนาทางสนเทศศาสตร์สุขภาพ 2
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สศชส๖๔๓ : ระบบการดูแลสุขภาพอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ 3
สศชส๖๔๕ : การจำลองระบบทางสุขภาพ 3
สศชส๖๔๖ : การออกแบบส่วนต่อประสานการดูแลสุขภาพ 3
สศชส๖๔๗ : การทำเหมืองข้อมูลและการค้นพบความรู้ 3
สศชส๖๔๘ : การสร้างตัวแบบทางความรู้ในสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ 3
สศชส๖๔๙ : ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจทางสุขภาพ 3
สศชส๖๕๐ : เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ 3
สศชส๖๗๑ : การจัดการระบบสารสนเทศทางสุขภาพ 3
สศชส๖๗๒ : การจัดการโครงการสารสนเทศ 3
สศชส๖๗๓ : ความมั่นคงในระบบสารสนเทศทางสุขภาพ 3
สศชส๖๗๕ : ลักษณะจริยศาสตร์ทางกฎหมายสำหรับสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ 3
สศชส๖๗๖ : การพัฒนาระบบเชิงวัตถุทางสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ 3
สศชส๖๗๗ : สนเทศศาสตร์ทางสาธารณสุข 3
สศชส๖๗๘ : ระบบสารสนเทศเพื่อส่งให้การดูแลสุขภาพ 3
สศชส๖๘๓ : การสื่อสารข้อมูลและการจัดการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 3
สศชส๖๘๔ : ระบบลูกข่าย-แม่ข่าย 3
สศชส๖๘๕ : การศึกษาเฉพาะด้านสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ 2
สารนิพนธ์ หน่วยกิต
สศชส๖๖๐ : สารนิพนธ์ 6

อาจารย์ประจำหลักสูตร