เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ (ภาคพิเศษ)

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะสาธารณสุขศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.ph.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ)

จุดเด่นของหลักสูตร

เป็นหลักสูตรที่เน้นการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนด้านการวิเคราะห์พฤติกรรมสุขภาพ การวางแผนงาน โครงการ การดำเนินงาน การประเมินผลโครงการ และการวิจัยสุขศึกษา พฤติกรรมสุขภาพ และการ ส่งเสริมสุขภาพ

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ก แบบ ก๒
(๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสุขศึกษา สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ สาธารณสุขศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับรอง
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ 
(๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
(๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจาก ข้อ (๒) ถึง ข้อ (๓) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ข 
(๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี  สาขาวิชาสุขศึกษา สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์  สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ สาธารณสุขศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับรอง
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ 
(๓) มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านสุขศึกษา ส่งเสริมสุขภาพ สาธารณสุข หรืองานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพไม่น้อยกว่า ๑ ปี 
(๔) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
(๕) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจาก ข้อ (๒) ถึง ข้อ (๔) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
แผน ข
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12            หน่วยกิต
สารนิพนธ์ 6            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรนี้ สามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานภาครัฐบาล หรือในกำกับของรัฐบาล เช่น กระทรวงสาธารณสุข หน่วยบริการสุขภาพ สถาบันการศึกษา และหรือหน่วยงานภาคเอกชนด้านสุขภาพ ในตำแหน่ง

- นักวิชาการสุขศึกษา
- นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
- นักวิชาการสาธารณสุข
- นักวิจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพ
- ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ถ่ายทอดความรู้ในสถานศึกษา

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
สศสษ๖๒๐ : สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ 2
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สศสษ๖๒๘ : การประยุกต์ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์กับงานสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ 3
สศสษ๖๓๔ : กลวิธีและวิธีการทางสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ 3
สศสษ๖๔๒ : การวางแผนและประเมินผลทางสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ 3
สศสษ๖๖๖ : สัมมนาทางสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ 3
สศสษ๖๘๗ : สถิติสำหรับการวิจัยและการประเมินโครงการทางสุขภาพ 3
สศสษ๗๑๐ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สศสษ๖๓๙ : การสร้างเสริมสุขภาพชุมชน 2
สศสษ๖๕๗ : การสื่อสารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ 2
สศสษ๖๕๘ : เพศศึกษารอบด้านในโรงเรียน 2
สศสษ๖๗๔ : ความรอบรู้ด้านสุขภาพ 2
สศสษ๖๘๔ : การวัดทางสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ 2
สศสษ๗๐๑ : หัวข้อพิเศษทางสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ 2
สศสษ๗๑๑ : สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพในโรงพยาบาล 2
สศสษ๗๑๒ : การฝึกอบรมเพื่อการพัฒนา 2
สศสษ๗๑๓ : สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มโรคเรื้อรัง 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สศสษ๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

แผน ข

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
สศสษ๖๒๐ : สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ 2
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สศสษ๖๒๘ : การประยุกต์ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์กับงานสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ 3
สศสษ๖๓๔ : กลวิธีและวิธีการทางสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ 3
สศสษ๖๔๒ : การวางแผนและประเมินผลทางสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ 3
สศสษ๖๖๖ : สัมมนาทางสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ 3
สศสษ๖๘๗ : สถิติสำหรับการวิจัยและการประเมินโครงการทางสุขภาพ 3
สศสษ๗๑๐ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สศสษ๖๓๙ : การสร้างเสริมสุขภาพชุมชน 2
สศสษ๖๕๗ : การสื่อสารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ 2
สศสษ๖๕๘ : เพศศึกษารอบด้านในโรงเรียน 2
สศสษ๖๗๔ : ความรอบรู้ด้านสุขภาพ 2
สศสษ๖๘๔ : การวัดทางสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ 2
สศสษ๗๐๑ : หัวข้อพิเศษทางสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ 2
สศสษ๗๑๑ : สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพในโรงพยาบาล 2
สศสษ๗๑๒ : การฝึกอบรมเพื่อการพัฒนา 2
สศสษ๗๑๓ : สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มโรคเรื้อรัง 2
สารนิพนธ์ หน่วยกิต
สศสษ๖๙๗ : สารนิพนธ์ 6

อาจารย์ประจำหลักสูตร

  1. รองศาสตราจารย์ มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์   (ประธานหลักสูตร)
  2. รองศาสตราจารย์ มณฑา เก่งการพานิช
  3. รองศาสตราจารย์ มลินี สมภพเจริญ
  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศรัณญา เบญจกุล
  5. รองศาสตราจารย์ พัชราณี ภวัตกุล
  6. รองศาสตราจารย์ วราภรณ์ เสถียรนพเก้า
  7. รองศาสตราจารย์ จุฑาธิป ศีลบุตร
  8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณัฐนารี เอมยงค์
  9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุคนธา ศิริ
  10. อาจารย์ อลงกรณ์ เปกาลี
  11. อาจารย์ ชวภณ สารข้าวคำ
  12. ศาสตราจารย์ สุภา เพ่งพิศ
  13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณิชชาภัทร ขันสาคร
  14. รองศาสตราจารย์ ปิยะธิดา ขจรชัยกุล
  15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดรุณี ภู่ขาว
  16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดวงใจ บรรทัพ
  17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นรีมาลย์ นีละไพจิตร
  18. รองศาสตราจารย์ อิสรีย์ฐิกา ชัยสวัสดิ์ จันทร์ส่องสุข
  19. อาจารย์ ไพรินทร์ ยอดสุบัน
  20. อาจารย์ ศิริพร แสนตรี
  21. อาจารย์ สุภาวดี พันธุมาศ