เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันเสาร์ที่   20   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาดทางการสาธารณสุข 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะสาธารณสุขศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.ph.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(โรคติดเชื้อและวิทยาการระบาดทางการสาธารณสุข)

จุดเด่นของหลักสูตร

๑. หลักสูตรฯ บูรณาการการสอนด้านโรคติดเชื้อ (จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา) โรคไร้เชื้อ วิทยาการระบาด การสาธารณสุขและสุขภาพ เชื่อมโยงกับวิทยาการทันสมัยด้านชีวโมเลกุลและเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อการวินิจฉัยและการควบคุมป้องกันโรค ๒. นักศึกษาเลือกเรียนและทำวิทยานิพนธ์ได้ใน 3 กลุ่มวิชา คือ - กลุ่มวิชากลุ่มวิชาจุลชีววิทยาโรคติดเชื้อ จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม สารสนเทศทางจุลชีววิทยา จุลชีววิทยา ระดับโมเลกุล วิทยาภูมิคุ้มกันของโรคติดเชื้อ และโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล - กลุ่มวิชาปรสิตสาธารณสุข ปรสิตวิทยาสิ่งแวดล้อม ปรสิตวิทยาระดับโมเลกุล พาหะนำโรค และ ชีวสารสนเทศปรสิต - กลุ่มวิชาวิทยาการระบาดของโรคติดเชื้อและโรคเรื้องรัง วิทยาการระบาดเชิงสังคม วิทยาการระบาด ระดับโมเลกุล วิทยาการระบาดเชิงพันธุศาสตร์ วิทยาการระบาดด้านพฤติกรรมศาสตร์ อาชีวอนามัยและ สิ่งแวดล้อมวิทยาการระบาดเชิงภูมิสารสนเทศ และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ทางวิทยาการระบาด ๓. นักศึกษาสามารถทำวิทยานิพนธ์ได้ทั้งด้านโรคติดเชื้อ ปรสิต และพาหะนำโรค โรคติดเชื้อทางจุลชีววิทยา โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล ระบาดวิทยาของการเกิดโรคติดเชื้อและโรคไร้เชื้อ

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ชีววิทยา เทคนิคการแพทย์เทคนิคการสัตวแพทย์ จุลชีววิทยา เกษตรศาสตร์หรือสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต พยาบาลศาสตรบัณฑิต เภสัชศาสตรบัณฑิต สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต แพทยศาสตรบัณฑิตหรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพจากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง
๒. ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ 
๓. มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย 
๔. กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
๕. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๒ ถึงข้อ ๓ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิชาการสาธารณสุขด้านโรคติดเชื้อและระบาดวิทยา
- นักวิจัยด้านโรคติดเชื้อทางจุลชีววิทยาปรสิตวิทยาและกีฏวิทยาและระบาดวิทยา
- นักวิชาการและนักวิจัยในสถาบันการศึกษาและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
- งานอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านการแพทย์และสาธารณสุข

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
สศรว๕๐๐ : โรคติดเชื้อและปัจจัยกำหนดทางการสาธารณสุข 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สศชส๖๓๘ : ฐานรากของชีวสถิติ 3
สศรบ๖๐๒ : หลักวิทยาการระบาด 3
สศรว๖๐๑ : นิเวศวิทยาและวิทยาการระบาดของโรคติดเชื้อทางการสาธารณสุข 2
สศรว๖๐๒ : การจัดการควบคุมโรคติดเชื้อทางการสาธารณสุข 2
สศรว๖๐๓ : สัมมนาทางโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด 2
สศรว๖๐๔ : เทคนิคทางห้องปฏิบัติการในการสอบสวนทางวิทยาการระบาดของโรคติดเชื้อ 2
สศรว๖๐๕ : การวิเคราะห์เชิงสถิติทางโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด 2
สศรว๖๐๖ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด 2
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สศจว๖๑๔ : การควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ 2
สศจว๖๑๗ : วิธีการทางห้องปฏิบัติการวิทยาภูมิคุ้มกันทางสาธารณสุข 2
สศจว๖๑๘ : สุขภาพและการเดินทาง 2
สศจว๖๒๐ : การตรวจวินิจฉัยทางจุลชีววิทยาระดับโมเลกุล 2
สศจว๖๒๓ : การประยุกต์เทคโนโลยีวัคซีนทางสาธารณสุข 2
สศจว๖๒๕ : วิธีการระดับโมเลกุลด้านโรคติดเชื้อ 2
สศจว๖๒๗ : วิทยาภูมิคุ้มกันของโรคติดเชื้อ 2
สศจว๖๓๒ : การประเมินความเสี่ยงทางจุลชีววิทยา 2
สศจว๖๔๒ : วิธีการทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาสาธารณสุข 2
สศจว๖๕๐ : ไวรัสวิทยาทางสาธารณสุข 2
สศจว๖๙๖ : หัวข้อพิเศษทางโรคติดเชื้อจุลชีพ 2
สศปว๖๐๐ : ชีววิทยาระดับโมเลกุลของโรคปรสิต 2
สศปว๖๐๓ : ปรสิตวิทยาสิ่งแวดล้อม 2
สศปว๖๐๙ : กีฎวิทยาทางการแพทย์ 2
สศปว๖๑๘ : ชีวสารสนเทศศาสตร์ทางโรคติดเชื้อ 2
สศปว๖๗๑ : โรคปรสิตและโรคติดต่อนําโดยแมลงในด้านสาธารณสุข 2
สศปว๖๗๒ : เทคนิคทางห้องปฏิบัติการทางปรสิตวิทยาและกีฏวิทยา 2
สศปว๖๗๓ : ปรสิตวิทยาและกีฏวิทยาสาธารณสุขขั้นสูง 2
สศปว๖๗๔ : โครงการพิเศษทางปรสิตวิทยาและกีฏวิทยา 2
สศปว๖๘๘ : สัมมนาทางปรสิตวิทยาและกีฏวิทยา 2
สศรบ๖๐๓ : การศึกษาทางวิทยาการระบาดของโรคติดเชื้อ 3
สศรบ๖๒๑ : สัมมนาทางวิทยาการระบาด ๑ 2
สศรบ๖๕๐ : วิทยาการระบาดของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2
สศรบ๖๕๑ : การวิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยา 2
สศรบ๖๖๖ : การฝึกปฏิบัติภาคสนามทางการควบคุมโรคประจำถิ่น 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สศรว๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

อาจารย์ประจำหลักสูตร

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุคนธา ศิริ   (ประธานหลักสูตร)
  2. ศาสตราจารย์ ลีรา กิตติกูล
  3. รองศาสตราจารย์ เฟื่องฟ้า อุตรารัชต์กิจ
  4. รองศาสตราจารย์ ธนศักดิ์ ช่างบรรจง
  5. รองศาสตราจารย์ มธุรส ทิพยมงคลกุล
  6. รองศาสตราจารย์ วิศิษฎ์ ฉวีพจน์กำจร
  7. รองศาสตราจารย์ องอาจ มหิทธิกร
  8. รองศาสตราจารย์ แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ
  9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จิรพันธุ์ จันทร์จร
  10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชญาภรณ์ ศรัณพฤฒิ
  11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณัฐนารี เอมยงค์
  12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทวี สายวิชัย
  13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิธิดา พัฒนอิสรานุกูล
  14. รองศาสตราจารย์ สุวรรณา เชาวน์รัตนกวี
  15. อาจารย์ จิราลักษณ์ นนทารักษ์
  16. อาจารย์ ประภัสสร เพ็ชรกิจ
  17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พีรยา เอกจริยาวัฒน์
  18. อาจารย์ เมธิณี พิพัฒนา
  19. อาจารย์ วรากร โกศัยเสวี
  20. อาจารย์ สิริลักษณ์ ดุสิตสิทธิพร