ผู้สนใจเข้าศึกษา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาดทางการสาธารณสุข (ภาคพิเศษ)
ระดับ | ปริญญาโท |
คณะ/สถาบัน | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
เว็บไซต์ |
http://www.ph.mahidol.ac.th/thai/ |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(โรคติดเชื้อและวิทยาการระบาดทางการสาธารณสุข)
จุดเด่นของหลักสูตร
๑. หลักสูตรฯ บูรณาการการสอนด้านโรคติดเชื้อ (จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา) โรคไร้เชื้อ วิทยาการระบาด
การสาธารณสุขและสุขภาพ เชื่อมโยงกับวิทยาการทันสมัยด้านชีวโมเลกุลและเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์
เพื่อการวินิจฉัยและการควบคุมป้องกันโรค
๒. นักศึกษาเลือกเรียนและทำวิทยานิพนธ์ได้ใน 3 กลุ่มวิชา คือ
- กลุ่มวิชากลุ่มวิชาจุลชีววิทยาโรคติดเชื้อ จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม สารสนเทศทางจุลชีววิทยา จุลชีววิทยา
ระดับโมเลกุล วิทยาภูมิคุ้มกันของโรคติดเชื้อ และโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
- กลุ่มวิชาปรสิตสาธารณสุข ปรสิตวิทยาสิ่งแวดล้อม ปรสิตวิทยาระดับโมเลกุล พาหะนำโรค และ
ชีวสารสนเทศปรสิต
- กลุ่มวิชาวิทยาการระบาดของโรคติดเชื้อและโรคเรื้องรัง วิทยาการระบาดเชิงสังคม วิทยาการระบาด
ระดับโมเลกุล วิทยาการระบาดเชิงพันธุศาสตร์ วิทยาการระบาดด้านพฤติกรรมศาสตร์ อาชีวอนามัยและ
สิ่งแวดล้อมวิทยาการระบาดเชิงภูมิสารสนเทศ และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ทางวิทยาการระบาด
๓. นักศึกษาสามารถทำวิทยานิพนธ์ได้ทั้งด้านโรคติดเชื้อ ปรสิต และพาหะนำโรค โรคติดเชื้อทางจุลชีววิทยา
โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล ระบาดวิทยาของการเกิดโรคติดเชื้อและโรคไร้เชื้อ
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
๑. สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ชีววิทยา เทคนิคการแพทย์เทคนิคการสัตวแพทย์ จุลชีววิทยา เกษตรศาสตร์หรือสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต พยาบาลศาสตรบัณฑิต เภสัชศาสตรบัณฑิต สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต แพทยศาสตรบัณฑิตหรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพจากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง ๒. ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ ๓. มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย ๔. กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ๕. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๒ ถึงข้อ ๓ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก๒ | |||
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน | ไม่นับหน่วยกิต | ||
หมวดวิชาบังคับ | 18 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 12 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 36 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักวิชาการสาธารณสุขด้านโรคติดเชื้อและระบาดวิทยา
- นักวิจัยด้านโรคติดเชื้อทางจุลชีววิทยาปรสิตวิทยาและกีฏวิทยาและระบาดวิทยา
- นักวิชาการและนักวิจัยในสถาบันการศึกษาและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
- งานอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านการแพทย์และสาธารณสุข
รายวิชาในหลักสูตร
แผน ก แบบ ก2
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน | หน่วยกิต | ||
สศรว๕๐๐ : โรคติดเชื้อและปัจจัยกำหนดทางการสาธารณสุข | 3 | ||
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
สศชส๖๓๘ : ฐานรากของชีวสถิติ | 3 | ||
สศรบ๖๐๒ : หลักวิทยาการระบาด | 3 | ||
สศรว๖๐๑ : นิเวศวิทยาและวิทยาการระบาดของโรคติดเชื้อทางการสาธารณสุข | 2 | ||
สศรว๖๐๒ : การจัดการควบคุมโรคติดเชื้อทางการสาธารณสุข | 2 | ||
สศรว๖๐๓ : สัมมนาทางโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด | 2 | ||
สศรว๖๐๔ : เทคนิคทางห้องปฏิบัติการในการสอบสวนทางวิทยาการระบาดของโรคติดเชื้อ | 2 | ||
สศรว๖๐๕ : การวิเคราะห์เชิงสถิติทางโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด | 2 | ||
สศรว๖๐๖ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด | 2 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
สศจว๖๑๔ : การควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ | 2 | ||
สศจว๖๑๗ : วิธีการทางห้องปฏิบัติการวิทยาภูมิคุ้มกันทางสาธารณสุข | 2 | ||
สศจว๖๑๘ : สุขภาพและการเดินทาง | 2 | ||
สศจว๖๒๐ : การตรวจวินิจฉัยทางจุลชีววิทยาระดับโมเลกุล | 2 | ||
สศจว๖๒๓ : การประยุกต์เทคโนโลยีวัคซีนทางสาธารณสุข | 2 | ||
สศจว๖๒๕ : วิธีการระดับโมเลกุลด้านโรคติดเชื้อ | 2 | ||
สศจว๖๒๗ : วิทยาภูมิคุ้มกันของโรคติดเชื้อ | 2 | ||
สศจว๖๓๒ : การประเมินความเสี่ยงทางจุลชีววิทยา | 2 | ||
สศจว๖๔๒ : วิธีการทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาสาธารณสุข | 2 | ||
สศจว๖๕๐ : ไวรัสวิทยาทางสาธารณสุข | 2 | ||
สศจว๖๙๖ : หัวข้อพิเศษทางโรคติดเชื้อจุลชีพ | 2 | ||
สศปว๖๐๐ : ชีววิทยาระดับโมเลกุลของโรคปรสิต | 2 | ||
สศปว๖๐๓ : ปรสิตวิทยาสิ่งแวดล้อม | 2 | ||
สศปว๖๐๙ : กีฎวิทยาทางการแพทย์ | 2 | ||
สศปว๖๑๘ : ชีวสารสนเทศศาสตร์ทางโรคติดเชื้อ | 2 | ||
สศปว๖๗๑ : โรคปรสิตและโรคติดต่อนําโดยแมลงในด้านสาธารณสุข | 2 | ||
สศปว๖๗๒ : เทคนิคทางห้องปฏิบัติการทางปรสิตวิทยาและกีฏวิทยา | 2 | ||
สศปว๖๗๓ : ปรสิตวิทยาและกีฏวิทยาสาธารณสุขขั้นสูง | 2 | ||
สศปว๖๗๔ : โครงการพิเศษทางปรสิตวิทยาและกีฏวิทยา | 2 | ||
สศปว๖๘๘ : สัมมนาทางปรสิตวิทยาและกีฏวิทยา | 2 | ||
สศรบ๖๐๓ : การศึกษาทางวิทยาการระบาดของโรคติดเชื้อ | 3 | ||
สศรบ๖๒๑ : สัมมนาทางวิทยาการระบาด ๑ | 2 | ||
สศรบ๖๕๐ : วิทยาการระบาดของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง | 2 | ||
สศรบ๖๕๑ : การวิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยา | 2 | ||
สศรบ๖๖๖ : การฝึกปฏิบัติภาคสนามทางการควบคุมโรคประจำถิ่น | 2 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
สศรว๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 12 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- รองศาสตราจารย์ เฟื่องฟ้า อุตรารัชต์กิจ (ประธานหลักสูตร)
- ศาสตราจารย์ ลีรา กิตติกูล
- รองศาสตราจารย์ วิศิษฎ์ ฉวีพจน์กำจร
- รองศาสตราจารย์ มธุรส ทิพยมงคลกุล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทวี สายวิชัย
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชญาภรณ์ ศรัณพฤฒิ
- รองศาสตราจารย์ องอาจ มหิทธิกร
- รองศาสตราจารย์ ภูมิ อดิศักดิ์วัฒนา
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชุติพงศ์ สุขคะนนท์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุคนธา ศิริ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณัฐนารี เอมยงค์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กิตติพงษ์ ฉายศิริ
- อาจารย์ สิริลักษณ์ ดุสิตสิทธิพร
- อาจารย์ พิชิต วิรุณพันธ์
- รองศาสตราจารย์ แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ
- อาจารย์ เมธิณี พิพัฒนา
- อาจารย์ วนฤทธิ์ จิตสมัย
- อาจารย์ สันต์ สุวรรณมณี
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรากร โกศัยเสวี
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จิราลักษณ์ นนทารักษ์
- อาจารย์ ณัฐชิต ลิมป์จรรยาวงศ์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จิรพันธุ์ จันทร์จร
- อาจารย์ หทัยชนน์ อินทร์ชัย
- อาจารย์ วรางคณา เถาธรรมพิทักษ์
- อาจารย์ ธนยศ ศศิวิมลรัตนา
- รองศาสตราจารย์ สุวรรณา เชาวน์รัตนกวี
- รองศาสตราจารย์ ธนศักดิ์ ช่างบรรจง
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พีรยา เอกจริยาวัฒน์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิธิดา พัฒนอิสรานุกูล
- รองศาสตราจารย์ กอบพร บุญนาค