ผู้สนใจเข้าศึกษา
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
ระดับ | ปริญญาโท |
คณะ/สถาบัน | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
เว็บไซต์ |
http://www.ph.mahidol.ac.th |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต(การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน)
จุดเด่นของหลักสูตร
- หลักสูตรผสมผสานความรู้ทางทฤษฎีและงานวิจัยทางคลินิกและปฏิบัติชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาเบื้องต้นและฟื้นฟูสุขภาพในประชากรทุกช่วงวัย
- หลักสูตรได้นำเนื้อหาวิชาทางระบาดวิทยาและชีวสถิติเข้ามาในการสอนเพื่อเตรียมบัณฑิตพร้อมในการปฏิบัติพยาบาลในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ
- หลักสูตรส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการจัดการดูแลและภาวะะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพและวิชาการ
- หลักสูตรจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีที่หลากหลาย เช่น การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนในชั้นเรียนหรือออนไลน์ด้วยการใช้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีต่าง ๆ
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
๑. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสภาการพยาบาลให้การรับรอง และมีประสบการณ์การปฏิบัติการพยาบาลมาแล้ว อย่างน้อย ๑ ปี ๒. มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ ๓. มีใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น ๑ หรือการพยาบาลชั้น ๑ ที่ยังไม่หมดอายุ ๔. มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับที่มหาวิทยาลัยกำหนดตามระเบียบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล ๕. มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย ๖. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก๒ | |||
หมวดวิชาบังคับ | 21 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 3 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 12 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 36 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในสถานบริการด้านสุขภาพทั้งภาครัฐ และเอกชน ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ งานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชน กลุ่มงานเวชกรรมสังคม/กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ศูนย์บริการสาธารณสุข หน่วยเวชศาสตร์ชุมชน เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป และหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของภาคเอกชน หรือ องค์กรที่ไม่ใช่หน่วยงานภาครัฐ
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
- นักวิชาการ วิทยากร หรือนักวิจัยในสถาบันวิชาการของภาครัฐและเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรอิสระ
รายวิชาในหลักสูตร
แผน ก แบบ ก2
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
สศพส๖๐๗ : การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน | 2 | ||
สศพส๖๗๓ : การวิจัยทางการพยาบาลและสถิติ | 3 | ||
สศพส๖๗๔ : ทฤษฎีการพยาบาลและการประยุกต์ | 2 | ||
สศพส๖๗๗ : การพยาบาลสุขภาพชุมชนขั้นสูง | 2 | ||
สศพส๖๗๘ : การฝึกปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน | 3 | ||
สศพส๖๘๘ : การประเมินภาวะสุขภาพ การรักษาโรคเบื้องต้นและเภสัชวิทยา | 3 | ||
สศพส๖๘๙ : การฝึกปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติ | 3 | ||
สศพส๗๓๙ : ระบบสุขภาพ ภาวะผู้นำ และจริยธรรมสำหรับวิชาชีพพยาบาล | 2 | ||
สศพส๗๔๑ : สัมมนาทางการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน | 1 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
สศพส๖๕๒ : การพยาบาลชุมชนในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น | 2 | ||
สศพส๖๗๙ : การพยาบาลครอบครัว | 2 | ||
สศพส๖๘๒ : การพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชน | 2 | ||
สศพส๖๘๓ : การพัฒนาเครื่องมือการวิจัยทางการพยาบาล | 1 | ||
สศพส๗๔๐ : นวัตกรรมและการจัดการดูแลโรคเรื้อรังในชุมชน | 1 | ||
สศรบ๖๐๒ : หลักวิทยาการระบาด | 3 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
สศพส๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 12 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- รองศาสตราจารย์ ปาหนัน พิชยภิญโญ (ประธานหลักสูตร)
- ศาสตราจารย์ อรวรรณ แก้วบุญชู
- รองศาสตราจารย์ สุรินธร กลัมพากร
- รองศาสตราจารย์ สุนีย์ ละกำปั่น
- รองศาสตราจารย์ วันเพ็ญ แก้วปาน
- รองศาสตราจารย์ พัชราพร เกิดมงคล
- รองศาสตราจารย์ นฤมล เอื้อมณีกูล
- รองศาสตราจารย์ ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ
- อาจารย์ ลลิตา แก้ววิไล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เพลินพิศ บุณยมาลิก
- รองศาสตราจารย์ แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ
- รองศาสตราจารย์ อาภาพร เผ่าวัฒนา