ผู้สนใจเข้าศึกษา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ระดับ | ปริญญาโท |
คณะ/สถาบัน | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
เว็บไซต์ |
http://www.ph.mahidol.ac.th |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
แผน ก แบบ ก ๒ (๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ สาธารณสุขศาสตร์ กายภาพบําบัด เทคนิคการแพทย์ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร ๔ ปี) พยาบาลศาสตรบัณฑิต วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต จากสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ (๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (๔) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดใน (๒) และ (๓) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้าศึกษาได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก๒ | |||
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน | ไม่นับหน่วยกิต | ||
หมวดวิชาบังคับ | 20 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 4 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 12 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 36 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักวิชาการ นักวิจัย ที่ปรึกษาด้านอาชีวอนามัย ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านความปลอดภัย ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และนักวิชาการด้านสาธารณสุขในหน่วยงานของรัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ สถานประกอบกิจการ
- ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านความปลอดภัย ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และด้านสุขภาพในหน่วยงานของรัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ สถานประกอบกิจการ
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
- ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
รายวิชาในหลักสูตร
แผน ก แบบ ก2
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน | หน่วยกิต | ||
สศออ๕๐๓ : สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและอาชีวเวชศาสตร์ | 3 | ||
สศออ๕๐๕ : หลักการพื้นฐานและกฎหมายทางด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม | 3 | ||
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
สศออ๖๐๘ : การระบายอากาศในงานด้านอุตสาหกรรมขั้นประยุกต์ | 2 | ||
สศออ๖๑๔ : เทคโนโลยีความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม | 2 | ||
สศออ๖๔๓ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัย | 3 | ||
สศออ๖๔๔ : การยศาสตร์ประยุกต์ | 2 | ||
สศออ๖๔๖ : การจัดการงานอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม | 3 | ||
สศออ๖๕๔ : การประเมินและการจัดการความเสี่ยง | 2 | ||
สศออ๖๗๔ : การจัดการสุขศาสตร์อุตสาหกรรม | 3 | ||
สศออ๖๘๖ : การเฝ้าระวังและการจัดการโรคในสถานประกอบการ | 2 | ||
สสออ๖๘๒ : สัมมนาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย | 1 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
สศออ๖๒๗ : วิธีการใช้เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์สารมลพิษ | 2 | ||
สศออ๖๒๙ : พิษวิทยาอุตสาหกรรม | 2 | ||
สศออ๖๓๘ : การจัดการและการควบคุมมลพิษจากอุตสาหกรรม | 2 | ||
สศออ๖๕๘ : การป้องกันอัคคีภัยและการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน | 2 | ||
สศออ๖๗๗ : วิทยาการระบาดด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม | 2 | ||
สศออ๖๗๘ : มนุษยปัจจัยสำหรับความปลออดภัยและสุขภาพในสถานประกอบการ | 2 | ||
สศออ๖๗๙ : การจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต | 2 | ||
สศออ๖๘๐ : ความปลอดภัยในการจัดเก็บสารเคมีอันตราย | 2 | ||
สศออ๖๘๑ : การประยุกต์ปัญญาประดิษฐ์และการจัดการข้อมูลทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัย | 2 | ||
สศออ๖๘๙ : หัวข้อเรื่องพิเศษทางอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม | 2 | ||
สศออ๖๙๐ : ฝึกปฏิบัติงานทางด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม | 2 | ||
สสออ๖๓๔ : คุณภาพอากาศภายในอาคาร | 2 | ||
สสออ๖๕๐ : การควบคุมเสียงและความสั่นสะเทือนในอุตสาหกรรม | 2 | ||
สสออ๖๖๙ : การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่ออาชีวอนามัยและความปลอดภัย | 2 | ||
สสออ๖๗๐ : เศรษฐศาสตร์ทางอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม | 2 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
สศออ๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 12 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไชยนันต์ แท่งทอง (ประธานหลักสูตร)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัชชัย ธนโชคสว่าง
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพนันท์ นานคงแนบ
- รองศาสตราจารย์ วันทนี พันธุ์ประสิทธิ์
- รองศาสตราจารย์ สรา อาภรณ์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรกมล บุณยโยธิน
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อัมรินทร์ คงทวีเลิศ
- อาจารย์ วิสันติ เลาหอุดมโชค
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ
- อาจารย์ ปาจรีย์ กุณฑลบุตร
- อาจารย์ สุเมธ เพ้งภูมิเกียรติ
- อาจารย์ อริยะ บุญงามชัยรัตน์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เด่นศักดิ์ ยกยอน