ผู้สนใจเข้าศึกษา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
ระดับ | ปริญญาโท |
คณะ/สถาบัน | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
เว็บไซต์ |
http://www.ph.mahidol.ac.th |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม)
จุดเด่นของหลักสูตร
๑. ภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล มีเป้าหมาย ที่จะผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญ
ด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม โดยมีความพร้อมอย่างยิ่งในด้านอุปกรณ์วิทยาศาสตร์และแบบจำลองที่
สามารถใช้ในงานวิจัยและการทำวิทยานิพนธ์ในเชิงลึกอย่างครบถ้วน
๒. บุคลากรหลักของภาควิชาฯ เป็นผู้มีชื่อเสียงมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหาปรับ
ปรุง ควบคุมและออกแบบในงานวิศวกรรมด้านระบบบำบัดน้ำเสีย ผลิตน้ำดี มลพิษทางอากาศและ
ขยะมูลฝอย ทั้งยังเป็นที่ปรึกษาให้ในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในหลักสูตรภาคปกติ แผน ก แบบ ก๒ (๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต หรือหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ (๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย กรณีผู้สมัครชาว ต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล (๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก๒ | |||
หมวดวิชาบังคับ | 20 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 4 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 12 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 36 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมในสถาบันอุดมศึกษา ในสถาบันวิชาการ ทั้งของ ภาครัฐและเอกชน
- นักวิชาการสิ่งแวดล้อมในภาครัฐและภาคเอกชน ในองค์กรระหว่างประเทศและในองค์กรอิสระ
- ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษทางน้ำ อากาศ ของเสียจากชุมชนและอุตสาหกรรม
รายวิชาในหลักสูตร
แผน ก แบบ ก2
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน | หน่วยกิต | ||
สศวส๖๒๑ : แนวคิดทางทฤษฎีของเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม | 3 | ||
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
สศวส๖๑๓ : การพัฒนางานวิจัยด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและสถิติ | 3 | ||
สศวส๖๑๕ : บัญชีการระบายมลพิษทางอากาศ | 3 | ||
สศวส๖๓๑ : หลักการของเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม | 3 | ||
สศวส๖๕๔ : การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม | 3 | ||
สศวส๖๖๔ : วิศวกรรมการประปาและน้ำเสีย | 3 | ||
สศวส๖๖๘ : การจัดการมูลฝอยและของเสียอันตราย | 3 | ||
สศวส๖๙๒ : สัมมนาทางเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม | 2 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาด้านน้ำดีและน้ำเสีย | |||
สศวส๖๓๔ : การออกแบบวิศวกรรมประปา | 3 | ||
สศวส๖๓๕ : การออกแบบวิศวกรรมน้ำเสีย | 3 | ||
สศวส๖๓๘ : แบบจำลองคุณภาพน้ำและการจัดการ | 3 | ||
สศวส๖๕๗ : การปฏิบัติการและการควบคุมหน่วย | 2 | ||
กลุ่มวิชาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและการประเมินความเสี่ยง | |||
สศวส๕๖๑ : การประเมินและการควบคุมการพัฒนาโครงการ | 3 | ||
สศวส๕๖๒ : เทคโนโลยีรีไซเคิลและการนำกลับมาใช้ใหม่ | 3 | ||
สศวส๕๖๓ : วิทยาการระบาดทางสิ่งแวดล้อม | 2 | ||
สศวส๖๒๓ : เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม | 3 | ||
สศวส๖๒๔ : เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ | 3 | ||
สศวส๖๔๒ : การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม | 3 | ||
สศวส๖๔๔ : พิษวิทยาสิ่งแวดล้อมพื้นฐาน | 2 | ||
สศวส๖๔๖ : การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม | 3 | ||
กลุ่มวิชาด้านอากาศและเสียง | |||
สศวส๖๖๑ : ความก้าวหน้าทางเทคนิคการตรวจวัดคุณภาพอากาศ | 3 | ||
สศวส๖๖๖ : วิศวกรรมการระบายอากาศทางงานอุตสาหกรรม | 3 | ||
สศวส๖๗๔ : การออกแบบระบบควบคุมฝุ่นละออง | 3 | ||
สศวส๖๗๖ : การออกแบบระบบควบคุมมลพิษก๊าซ | 3 | ||
สศวส๖๘๐ : การควบคุมมลพิษทางเสียง | 3 | ||
สศวส๖๘๖ : การจำลองคุณภาพอากาศและการจัดการ | 3 | ||
กลุ่มวิชาด้านของเสียและของเสียอันตราย | |||
สศวส๖๐๐ : การใช้พืชเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม | 3 | ||
สศวส๖๔๐ : การเคลื่อนตัวของมลพิษในน้ำใต้ดินและการควบคุม | 3 | ||
สศวส๖๖๐ : เทคโนโลยีชีวมวล | 3 | ||
สศวส๖๙๕ : การซ่อมเสริมและฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อน | 3 | ||
กลุ่มวิชาเลือกด้านอื่น ๆ | |||
สศวส๕๖๔ : แนะนำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และภาพถ่ายระยะไกล | 3 | ||
สศวส๕๖๕ : ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และภาพถ่ายระยะไกลขั้นสูง | 3 | ||
สศวส๕๗๙ : การเรียนรู้เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน | 3 | ||
สศวส๖๒๒ : การปฏิบัติทางเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม | 1 | ||
สศวส๖๗๐ : การชักตัวอย่างสิ่งแวดล้อมและการวิเคราะห์ | 3 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
สศวส๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 12 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุวิสา มหาสันทนะ (ประธานหลักสูตร)
- ศาสตราจารย์ จงจินต์ ผลประเสริฐ
- รองศาสตราจารย์ โสภา ชินเวชกิจวานิชย์
- รองศาสตราจารย์ เนาวรัตน์ เจริญค้า
- รองศาสตราจารย์ นิภาพรรณ กังสกุลนิติ
- รองศาสตราจารย์ บุณยฤทธิ์ ปัญญาภิญโญผล
- รองศาสตราจารย์ สราวุธ เทพานนท์
- รองศาสตราจารย์ สุพพัต ควรพงษากุล
- อาจารย์ ดวงตา กิจแก้ว
- รองศาสตราจารย์ กมลวัฒน์ นาคะสรรค์