ผู้สนใจเข้าศึกษา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวสถิติ (ภาคพิเศษ)
ระดับ | ปริญญาโท |
คณะ/สถาบัน | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
เว็บไซต์ |
http://www.ph.mahidol.ac.th |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(ชีวสถิติ)
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
๑. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทุกสาขา และได้เคยศึกษาวิชาคณิตศาสตร์หรือสถิติรวมกันไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้การรับรอง ๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ ๓. มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ๔. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากข้อ ๒ - ข้อ ๓ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาได้ ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก๒ | |||
หมวดวิชาบังคับ | 18 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 12 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 36 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักวิชาการด้านชีวสถิติ สถิติ สถิติประยุกต์
- นักวิจัยทางชีวสถิติ ทางการแพทย์ สาธารณสุข และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- นักชีวสถิติ ประจำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ หรือบริษัทผู้ผลิตยา
- นักจัดการด้านข้อมูล เน้นด้านการแพทย์ สาธารณสุข และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
รายวิชาในหลักสูตร
แผน ก แบบ ก2
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน | หน่วยกิต | ||
สศชส๕๑๙ : คณิตศาสตร์สถิติขั้นแนะนำและการเขียนโปรแกรม | 3 | ||
สศอช๖๐๔ : การสาธารณสุขทั่วไป | 3 | ||
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
สศชส๖๐๑ : ทฤษฎีสถิติ | 3 | ||
สศชส๖๐๔ : สถาปัตยกรรมวิทยาศาสตร์ข้อมูลในการดูแลสุขภาพ | 3 | ||
สศชส๖๑๕ : ชีวสถิติวิเคราะห์ | 3 | ||
สศชส๖๒๒ : การวิเคราะห์ข้อมูลแบบกลุ่ม | 3 | ||
สศชส๖๓๐ : วิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ | 3 | ||
สศชส๖๙๕ : สัมมนาชีวสถิติ | 1 | ||
สศรบ๖๑๙ : พื้นฐานทางวิทยาการระบาด | 2 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
สศชส๕๐๐ : ชีวสถิติวิเคราะห์ขั้นแนะนำ | 3 | ||
สศชส๖๐๐ : ชีวสถิติ ก | 2 | ||
สศชส๖๐๕ : ตัวแบบหลายระดับ ผลกระทบผสม และสมการโครงสร้าง | 3 | ||
สศชส๖๐๖ : ตัวแบบและวิธีการเบย์ | 3 | ||
สศชส๖๐๙ : ตัวแบบคณิตศาสตร์สำหรับโรคติดเชื้อ | 3 | ||
สศชส๖๑๔ : การสร้างตัวแบบและการทำแผนที่เชิงพื้นที่และเวลา | 3 | ||
สศชส๖๒๐ : ตัวแบบเชิงเส้นแบบวางนัยทั่วไป | 3 | ||
สศชส๖๓๓ : การวิเคราะห์อนุกรมเวลา | 3 | ||
สศชส๖๓๖ : การวิเคราะห์อภิมาน | 2 | ||
สศชส๖๓๘ : ฐานรากของชีวสถิติ | 3 | ||
สศชส๖๔๗ : การทำเหมืองข้อมูลและการค้นพบความรู้ | 3 | ||
สศชส๖๔๙ : ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจทางสุขภาพ | 3 | ||
สศชส๖๕๔ : ชีวสถิติขั้นสูงทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ | 3 | ||
สศชส๖๕๖ : ภาวะผู้นำด้านชีวสถิติ | 2 | ||
สศชส๖๖๘ : การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ทางสุขภาพ | 3 | ||
สศชส๖๗๒ : การจัดการโครงการสารสนเทศ | 3 | ||
สศชส๖๘๒ : การศึกษาพิเศษ | 2 | ||
สศชส๖๙๖ : ตัวแบบเชิงเส้น | 3 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
สศชส๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 12 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- รองศาสตราจารย์ จุฑาธิป ศีลบุตร (ประธานหลักสูตร)
- ศาสตราจารย์ ชูเกียรติ วิวัฒน์วงศ์เกษม
- รองศาสตราจารย์ ณัฐกมล ชาญสาธิตพร
- รองศาสตราจารย์ ปรารถนา สถิตย์วิภาวี
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วันวิสาข์ ศรีสุเมธชัย
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิจิตรพงศ์ สุนทรพิพิธ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อุทุมพร ปณิธานะรักษ์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หทัยกาญจน์ ชูตระกูล
- อาจารย์ ประสงค์ กิติดำรงสุข