เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันเสาร์ที่   27   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวสถิติ 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะสาธารณสุขศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.ph.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(ชีวสถิติ)

จุดเด่นของหลักสูตร

๑. หลักสูตรมุ่งเน้นเนื้อหาด้านทฤษฎีและการประยุกต์สถิติในงานวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข ๒. หลักสูตรมีเครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศเป็นอย่างดี ทั้งด้านการเรียนการสอน งานวิจัย รวมถึง โครงการแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษาเป็นบางกรณี

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต หรือ
ปริญญาตรีสาขาอื่นๆ จากสถาบันอุดมศึกษาที่ศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ และ/หรือสถิติรวมกันไม่น้อยกว่า
 ๖ หน่วยกิต 
๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ 
๓. ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับ
การคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก ๒
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิชาการด้านชีวสถิติ
- นักวิจัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข วิทยาศาสตร์สุขภาพ
- นักชีวสถิติ ประจำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ หรือบริษัทผู้ผลิตยา
- นักจัดการด้านฐานข้อมูล

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
สศชส๕๕๐ : วิธีการคณิตศาสตร์สำหรับชีวสถิติ 2
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สศชส๖๐๑ : ทฤษฎีสถิติ 3
สศชส๖๐๓ : ชีวสถิติวิเคราะห์ ๑ 3
สศชส๖๒๒ : การวิเคราะห์ข้อมูลแบบกลุ่ม 3
สศชส๖๓๐ : วิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 3
สศชส๖๙๖ : ตัวแบบเชิงเส้น 3
สศรบ๖๐๒ : หลักวิทยาการระบาด 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สศชส๖๐๕ : ชีวสถิติวิเคราะห์ ๒ 3
สศชส๖๐๘ : สถิติสุขภาพ 3
สศชส๖๑๐ : ทฤษฎีการชักตัวอย่างและการประยุกต์ 3
สศชส๖๑๒ : แผนแบบเชิงการทดลองและการวิเคราะห์ 3
สศชส๖๑๔ : การวิเคราะห์การถดถอย 3
สศชส๖๒๐ : ตัวแบบเชิงเส้นแบบวางนัยทั่วไป 3
สศชส๖๒๓ : สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 3
สศชส๖๓๖ : การวิเคราะห์อภิมาน 3
สศชส๖๕๐ : เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ 3
สศชส๖๕๑ : คอมพิวเตอร์ประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 3
สศชส๖๖๖ : การจำลองแบบเชิงสถิติ 3
สศชส๖๘๒ : การศึกษาพิเศษ 2
สศชส๖๙๕ : สัมมนาชีวสถิติ 2
สศชส๖๙๗ : การจัดการข้อมูล 3
สศอช๖๐๓ : การฝึกภาคสนามพัฒนาสุขภาพชุมชน 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สศชส๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

อาจารย์ประจำหลักสูตร