เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันเสาร์ที่   10   พฤษภาคม   พ.ศ. 2568

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ภาคพิเศษ)

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
เว็บไซต์

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทหรือเทียบเท่า ทุกสาขาวิชา จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
๓. มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
๔. มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับคนพิการไม่น้อยกว่า ๑ ปี หรือมีผลงานวิจัย งานวิชาการอื่นๆ ด้านคนพิการ อย่างน้อย ๑ เรื่อง	
๕. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 12            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 57            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
- นักวิจัยด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
- ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
รมคพ๗๐๕ : การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 2
รมคพ๗๐๖ : การวิจัยและนวัตกรรมด้านความพิการ 2
รมคพ๗๐๗ : สัมมนาเชิงบูรณาการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 2
รมคพ๗๐๘ : การเสริมพลังคนพิการและสังคมบูรณาการ 2
รมคพ๗๐๙ : คนพิการกับการเข้าถึง 2
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
รมคพ๗๑๐ : จริยธรรม สิทธิ และนโยบายด้านคนพิการเชิงวิพากษ์ 2
รมคพ๗๑๒ : ความพิการ โลกาภิวัตน์ และบริบทพลวัต 2
รมคพ๗๑๖ : การจัดการบริการสุขภาพและวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2
รมคพ๗๒๑ : การวิจัยเชิงคุณภาพด้านความพิการ 2
รมคพ๗๒๓ : การฟื้นฟูสมรรถภาพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเชิงวิพากษ์ 2
รมคพ๗๒๕ : การวิจัยเชิงปริมาณด้านความพิการและสถิติขั้นสูง 2
รมคพ๗๒๖ : ความพิการและผู้สูงอายุ 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
รมคพ๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36