เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   29   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
เว็บไซต์ https://med.mahidol.ac.th/

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ฉุกเฉินการแพทย์)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาหลักสูตร
 	แผนการศึกษาแบบ ๒.๑ ต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน จากแพทยสภา 
โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
	แผนการศึกษาแบบ ๒.๒ ต้องสำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการ
ฉุกเฉินการแพทย์ หรือสาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ หลักสูตร ๔ ปี จากสถาบันที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมรับรอง โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
๒. มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
๓. มีประสบการณ์การนำเสนอผลงานวิจัยหรือตีพิมพ์ผลงานวิจัย จำนวน ๑ เรื่องในระดับนานาชาติ
๔. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับวุฒิบัตร เพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน จากแพทยสภา
หมวดวิชาบังคับ 6            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการ ฉุกเฉินการแพทย์ หรือสาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ หลักสูตร ๔ ปี
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- ผู้เชี่ยวชาญด้านฉุกเฉินการแพทย์
- นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งภาครัฐและเอกชน
- นักวิจัยทางด้านฉุกเฉินการแพทย์

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน จากแพทยสภา
รมวฉ๖๐๑ : ฉุกเฉินการแพทย์ในการดูแลผู้บาดเจ็บขั้นสูง 3
รมวฉ๖๐๒ : การช่วยชีวิตทางการฉุกเฉินการแพทย์ขั้นสูง 3
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ หรือสาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ หลักสูตร ๔ ปี
รมวฉ๖๐๑ : ฉุกเฉินการแพทย์ในการดูแลผู้บาดเจ็บขั้นสูง 3
รมวฉ๖๐๒ : การช่วยชีวิตทางการฉุกเฉินการแพทย์ขั้นสูง 3
รมวฉ๖๐๓ : ปฏิบัติการทางการฝึกอบรมในสถานการณ์จำลองขั้นสูง ๑ 2
รมวฉ๖๐๔ : ระบาดวิทยาคลินิกสำหรับฉุกเฉินการแพทย์ขั้นสูง 2
รมวฉ๖๐๕ : สถิติเชิงคลินิกสำหรับฉุกเฉินการแพทย์ขั้นสูง 2
รมวฉ๖๐๖ : ปฏิบัติการทางการฝึกอบรมในสถานการณ์จำลองขั้นสูง ๒ 2
รมวฉ๖๐๗ : การประเมินทางคลินิกสำหรับฉุกเฉินการแพทย์ 2
รมวฉ๖๐๘ : สัมมนาฉุกเฉินการแพทย์ 2
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
รมวฉ๖๐๙ : บูรณาการการดูแลฉุกเฉินการแพทย์ 2
รมวฉ๖๑๐ : แพทยศาสตรศึกษาสำหรับฉุกเฉินการแพทย์ 2
รมวฉ๖๑๑ : นิติเวชศาสตร์ทางฉุกเฉินการแพทย์ขั้นสูง 2
รมวฉ๖๑๒ : การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินในสาธารณภัยขั้นสูง 2
รมวฉ๖๑๓ : การแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจสำหรับฉุกเฉินการแพทย์ขั้นสูง 2
รมวฉ๖๑๔ : การดูแลฉุกเฉินการแพทย์ขั้นสูง 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน จากแพทยสภา
รมวฉ๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ หรือสาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ หลักสูตร ๔ ปี
รมวฉ๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48