ผู้สนใจเข้าศึกษา
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
ระดับ | ปริญญาโท |
คณะ/สถาบัน | คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี |
เว็บไซต์ |
http://med.mahidol.ac.th/nursing/ |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
๑. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (การพยาบาลและผดุงครรภ์) หรือพยาบาลศาสตรบัณฑิต หรือประกาศนียบัตรทางการพยาบาลเทียบเท่าปริญญาตรี จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสภาวิชาชีพในแต่ละประเทศรับรอง ๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ จากคะแนนเต็ม ๔.๐๐ หรือเทียบเท่า ๓. มีประสบการณ์การทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยทำงานด้านการพยาบาล การศึกษาพยาบาลและ/หรือ การบริหารการพยาบาล เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปีเต็ม นับถึงวันยื่นใบสมัคร ๔. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการพยาบาลหรือเทียบเท่าจากประเทศของตน ๕. มีผลการสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ๖. มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด ๗. ผู้สมัครเข้าศึกษาซึ่งอยู่นอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้ อาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร โดยดำเนินการร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก๒ | |||
หมวดวิชาแกน | 11 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาบังคับ | 12 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 3 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 12 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 38 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักวิชาการ นักวิจัยด้านการพยาบาล
- ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ถ่ายทอดความรู้ในสถาบันการศึกษาด้านการพยาบาล
- ผู้ปฏิบัติงานพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพยาบาล
- อาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วย
รายวิชาในหลักสูตร
แผน ก แบบ ก2
หมวดวิชาแกน | หน่วยกิต | ||
รมพย๗๐๑ : สถิติประยุกต์ในการวิจัยทางการพยาบาล | 2 | ||
รมพย๗๐๒ : มโนมติและทฤษฎีทางการพยาบาล | 2 | ||
รมพย๗๐๓ : ประเด็นและแนวโน้มทางสุขภาวะประชาคมโลก | 2 | ||
รมพย๗๐๕ : นโยบายสุขภาพและภาวะผู้นำ | 2 | ||
รมพย๗๐๖ : วิธีวิจัยทางการพยาบาลและการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ | 3 | ||
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
รมพย๗๑๑ : บูรณาการวิทยาศาสตร์สุขภาพทางการพยาบาล | 3 | ||
รมพย๗๑๖ : บูรณาการแนวคิดทางการพยาบาลเพื่อปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง | 3 | ||
รมพย๗๑๗ : ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในสาขาที่เลือกสรร ๑ | 3 | ||
รมพย๗๑๘ : ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในสาขาที่เลือกสรร ๒ | 3 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
รมพย๗๒๑ : พฤติกรรมสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพและการลดความเสี่ยง | 3 | ||
รมพย๗๒๒ : ประเด็นทางการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม | 3 | ||
รมพย๗๒๕ : การพยาบาลฟื้นฟูสภาพ | 3 | ||
รมพย๗๒๘ : การจัดการทางการพยาบาลในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ | 3 | ||
รมพย๗๒๙ : ประเด็นร่วมสมัยของสุขภาพผู้สูงอายุ | 3 | ||
รมพย๗๓๔ : การพยาบาลเด็กสุขภาพดีและการจัดการความเจ็บป่วยในเด็ก | 3 | ||
รมพย๗๓๕ : การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตขั้นสูง | 3 | ||
รมพย๗๓๖ : การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน | 3 | ||
รมพย๗๓๗ : การผดุงครรภ์ | 3 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
รมพย๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 12 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- อาจารย์ จิราพร ไลนิงเกอร์ (ประธานหลักสูตร)
- อาจารย์ สุนทรี เจียรวิทยกิจ
- รองศาสตราจารย์ พัชรินทร์ นินทจันทร์
- รองศาสตราจารย์ แสงทอง ธีระทองคำ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สิริรัตน์ ลีลาจรัส
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มาลาตี รุ่งเรืองศิริพันธ์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นิภาพร บุตรสิงห์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อัจฉรียา ปทุมวัน
- รองศาสตราจารย์ วันทนา มณีศรีวงศ์กูล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำปี เกรนเจอร์
- รองศาสตราจารย์ บัวหลวง สำแดงฤทธิ์
- รองศาสตราจารย์ พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธิราภรณ์ จันทร์ดา
- รองศาสตราจารย์ สุปรีดา มั่นคง
- ศาสตราจารย์ นพวรรณ เปียซื่อ
- ศาสตราจารย์ สุภาพ อารีเอื้อ
- รองศาสตราจารย์ ศรีสมร ภูมนสกุล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โสภิณ แสงอ่อน
- รองศาสตราจารย์ พิชญ์ประอร ยังเจริญ