เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ปริวรรต (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
เว็บไซต์ http://www.ra.mahidol.ac.th/

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(เวชศาสตร์ปริวรรต)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑.  แบบ ๑ 
      ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท 
      (๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือ
สาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศ ที่สำนักงานคณะกรรมการ
การอุดมศึกษารับรอง โดยได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
      (๒) มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนด
      (๓) มีประสบการณ์ทำงานเป็นอาจารย์ แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ เภสัชกร นักวิจัย หรือผู้ปฏิบัติ
งานวิจัยเป็นหลัก หรือมีประสบการณ์ทำงานวิจัย ไม่น้อยกว่า ๒ ปี
      (๔) มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ในฐานข้อมูล ISI 
ฐานข้อมูล Scopus และฐานข้อมูล Medline อย่างน้อย ๓ เรื่อง โดยเป็นชื่อแรกและ/หรือ Corresponding Author
       (๕) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ที่กำหนดข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับ
การคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
				
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี 
      (๑) สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต
เภสัชศาสตรบัณฑิต โดยได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับเกียรตินิยม และสำเร็จการศึกษา
เฉพาะทาง (วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม) จากสถาบันการศึกษา
ในประเทศหรือต่างประเทศที่แพทยสภา ทันตแพทยสภา สัตวแพทยสภา หรือสภาเภสัชกรรมรับรอง
      (๒) มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนด
      (๓) มีประสบการณ์ทำงานเป็นอาจารย์ แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ เภสัชกร นักวิจัย หรือผู้ปฏิบัติ
งานวิจัยเป็นหลัก หรือมีประสบการณ์ทำงานวิจัย ไม่น้อยกว่า ๒ ปี
      (๔) มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ในฐานข้อมูล ISI 
ฐานข้อมูล Scopus และฐานข้อมูล Medline อย่างน้อย ๓ เรื่อง โดยเป็นชื่อแรกและ/หรือ Corresponding
 Author
      (๕) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ที่กำหนดข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับ
การคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

๒.  แบบ ๒
      ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาเวชศาสตร์ปริวรรต มหาวิทยาลัยมหิดล
      (๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ปริวรรต
มหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
      (๒) มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนด
      (๓) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

     ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาอื่น
     (๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา วิทยาศาสตร์สุขภาพ
จากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง 
โดยได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
     (๒) มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนด
     (๓) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
  
     ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
     (๑) สำเร็จการศึกษาหรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษา ในหลักสูตรปริญญา
 วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา วิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญา
เภสัชศาสตรบัณฑิต สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันการศึกษาใน
ประเทศหรือต่างประเทศ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง  โดยได้แต้มระดับคะแนน
เฉลี่ยสะสมในระดับเกียรตินิยม
     (๒) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จากสถาบัน
การศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง หรือกำลังศึกษาอยู่ในโครงการผลิตอาจารย์
แพทย์หรือโครงการผลิตอาจารย์ทันตแพทย์  โดยได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐
     (๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนด 
     (๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย		

     ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
    (๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาชีววิทยา วิทยาศาสตร์สุขภาพ
 ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
    (๒) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น และสำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง   อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๑
แบบ ๑.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ ไม่นับหน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๑.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ ไม่นับหน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 72            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต
แบบ ๒
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาาเวชศาสตร์ปริวรรต
หมวดวิชาบังคับ 8            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 4            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาอื่น ๆ
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 8            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 4            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 20            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 4            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์
- บุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ในสถานศึกษา ผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาสาขา เวชศาสตร์ปริวรรต
- เจ้าของหรือบุคลากรบริษัทหรือองค์กรที่จำเป็นต้องใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ปริวรรต
- ผู้จัดการโครงการวิจัย ในบริษัทยาหรือเทคโนโลยีชีวภาพ

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (ศึกษารายวิชาโดยไม่นับหน่วยกิต)
รมปว๖๐๖ : การวิเคราะห์วิจารณ์ผลงานวิจัยทางสาขาชีวการแพทย์และเวชศาสตร์ปริวรรต 1
รมวป๖๐๗ : สัมมนาทางสาขาชีวการแพทย์และเวชศาสตร์ปริวรรต 1
รมวป๖๐๘ : การสื่อสารทางงานวิจัยปริวรรต ๑ 1
รมวป๖๐๙ : การสื่อสารทางงานวิจัยปริวรรต ๑ 1
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท
รมวป๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
รมวป๘๙๙ : วิทยานิพนธ์ 72

แบบ 2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
   ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาอื่น
รมวป๕๑๑ : หลักการพื้นฐานระดับโมเลกุลของโรคที่เกิดในมนุษย์ 3
รมวป๕๑๒ : เทคโนโลยีทางเวชศาสตร์ปริวรรต 3
รมวป๕๑๓ : ระบาดวิทยาคลินิกและชีวสถิติทางเวชศาสตร์ปริวรรต 3
วทคร๕๐๐ : ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาเวชศาสตร์ปริวรรต
รมปว๖๐๔ : การวิเคราะห์ปัญหาทางคลินิก 2
รมปว๖๐๕ : ทักษะการวิจัยและความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการขั้นสูง 2
รมปว๖๐๖ : การวิเคราะห์วิจารณ์ผลงานวิจัยทางสาขาชีวการแพทย์และเวชศาสตร์ปริวรรต 1
รมวป๖๐๗ : สัมมนาทางสาขาชีวการแพทย์และเวชศาสตร์ปริวรรต 1
รมวป๖๐๘ : การสื่อสารทางงานวิจัยปริวรรต ๑ 1
รมวป๖๐๙ : การสื่อสารทางงานวิจัยปริวรรต ๑ 1
   ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาอื่น
รมปว๖๐๔ : การวิเคราะห์ปัญหาทางคลินิก 2
รมปว๖๐๕ : ทักษะการวิจัยและความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการขั้นสูง 2
รมปว๖๐๖ : การวิเคราะห์วิจารณ์ผลงานวิจัยทางสาขาชีวการแพทย์และเวชศาสตร์ปริวรรต 1
รมวป๖๐๗ : สัมมนาทางสาขาชีวการแพทย์และเวชศาสตร์ปริวรรต 1
รมวป๖๐๘ : การสื่อสารทางงานวิจัยปริวรรต ๑ 1
รมวป๖๐๙ : การสื่อสารทางงานวิจัยปริวรรต ๑ 1
   ๒.๓ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
รมปว๖๐๔ : การวิเคราะห์ปัญหาทางคลินิก 2
รมปว๖๐๕ : ทักษะการวิจัยและความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการขั้นสูง 2
รมปว๖๐๖ : การวิเคราะห์วิจารณ์ผลงานวิจัยทางสาขาชีวการแพทย์และเวชศาสตร์ปริวรรต 1
รมวป๕๑๑ : หลักการพื้นฐานระดับโมเลกุลของโรคที่เกิดในมนุษย์ 3
รมวป๕๑๒ : เทคโนโลยีทางเวชศาสตร์ปริวรรต 3
รมวป๕๑๓ : ระบาดวิทยาคลินิกและชีวสถิติทางเวชศาสตร์ปริวรรต 3
รมวป๖๐๗ : สัมมนาทางสาขาชีวการแพทย์และเวชศาสตร์ปริวรรต 1
รมวป๖๐๘ : การสื่อสารทางงานวิจัยปริวรรต ๑ 1
รมวป๖๐๙ : การสื่อสารทางงานวิจัยปริวรรต ๑ 1
วทคร๕๐๐ : ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาเวชศาสตร์ปริวรรต
วทคร๕๐๓ : วิทยาศาสตร์ชีวภาพเชิงระบบ 3
วทคร๕๐๖ : หลักการทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพระดับโมเลกุล 2
วทคร๕๑๑ : เทคโนโลยีด้านยีน 1
วทคร๕๑๓ : เทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ 1
วทภส๕๐๘ : หัวข้อเรื่องพิเศษทางเภสัชวิทยา 2
วทสร๖๑๒ : หัวข้อปัจจุบันทางสรีรวิทยา 3
   ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาอื่น
วทคร๕๐๓ : วิทยาศาสตร์ชีวภาพเชิงระบบ 3
วทคร๕๐๖ : หลักการทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพระดับโมเลกุล 2
วทคร๕๑๑ : เทคโนโลยีด้านยีน 1
วทคร๕๑๓ : เทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ 1
วทภส๕๐๘ : หัวข้อเรื่องพิเศษทางเภสัชวิทยา 2
วทสร๖๑๒ : หัวข้อปัจจุบันทางสรีรวิทยา 3
   ๒.๓ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
: 0
วทคร๕๐๓ : วิทยาศาสตร์ชีวภาพเชิงระบบ 3
วทคร๕๑๑ : เทคโนโลยีด้านยีน 1
วทคร๕๑๓ : เทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ 1
วทภส๕๐๘ : หัวข้อเรื่องพิเศษทางเภสัชวิทยา 2
วทสร๖๑๒ : หัวข้อปัจจุบันทางสรีรวิทยา 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาเวชศาสตร์ปริวรรต
รมวป๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
   ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาอื่น
รมวป๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
   ๒.๓ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
รมวป๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48

อาจารย์ประจำหลักสูตร