ผู้สนใจเข้าศึกษา
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์
ระดับ | ปริญญาโท |
คณะ/สถาบัน | คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี |
เว็บไซต์ |
http://www.ra.mahidol.ac.th/ |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต(การผดุงครรภ์)
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา แผน ก แบบ ก๑ ๑. สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาที่สภาการพยาบาล และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้การรับรอง ๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ ๓. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น ๑ หรือ การพยาบาลชั้น ๑ ๔. มีประสบการณ์การทำงานในด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ การศึกษาพยาบาล การบริหารการพยาบาล หรือได้รับใบประกาศนียบัตรผดุงครรภ์จากสภาการพยาบาล (หลักสูตรระยะสั้น ๔ เดือนขึ้นไป) ที่สภาการพยาบาลหรือราชวิทยาลัยแพทย์รับรอง หลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีอย่างน้อย ๓ ปี โดยนับถึงวันยื่นใบสมัคร ๕. มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติที่มี peer-review และเป็นที่ยอมรับในสาขาพยาบาลศาสตร์ อย่างน้อย ๑ เรื่อง ๖. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนด ๗. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๖ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา แผน ก แบบ ก๒ ๑. สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาที่สภาการพยาบาล และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้การรับรอง ๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ ๓. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น ๑ หรือ การพยาบาลชั้น ๑ ๔. มีประสบการณ์การทำงานในด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ การศึกษาพยาบาล การบริหารการพยาบาลอย่างน้อย ๑ ปี โดยนับถึงวันยื่นใบสมัคร ๕. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนด ๖. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๒ ข้อ ๔ และข้อ ๕ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก๑ | |||
วิทยานิพนธ์ | 36 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 36 | หน่วยกิต | |
แผน ก แบบ ก๒ | |||
หมวดวิชาแกน | 9 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาบังคับ | 12 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 3 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 12 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 36 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักวิชาการ นักวิจัยสาขาการผดุงครรภ์
- พยาบาลผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการผดุงครรภ์
- อาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องด้านการผดุงครรภ์
รายวิชาในหลักสูตร
แผน ก แบบ ก1
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
รมพย๗๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 36 |
แผน ก แบบ ก2
หมวดวิชาแกน | หน่วยกิต | ||
รมพย๖๐๑ : การวิจัยทางการพยาบาล | 3 | ||
รมพย๖๐๓ : สถิติ | 2 | ||
รมพย๖๖๒ : มูลฐานทางทฤษฎีในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง | 2 | ||
รมพย๖๖๓ : นโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำทางการพยาบาล | 2 | ||
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
รมพผ๕๐๓ : การผดุงครรภ์ ๑ | 2 | ||
รมพผ๕๐๔ : การผดุงครรภ์ ๒ | 2 | ||
รมพผ๕๐๖ : ปฏิบัติการผดุงครรภ์ ๑ | 3 | ||
รมพผ๕๐๗ : ปฏิบัติการผดุงครรภ์ ๒ | 3 | ||
รมพย๕๐๙ : สัมมนาวิจัยทางการผดุงครรภ์ | 2 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
รมพผ๕๐๘ : นวัตกรรมทางการผดุงครรภ์ | 3 | ||
รมพย๕๔๓ : แนวคิดและการปฏิบัติทางการพยาบาลขั้นสูง | 3 | ||
รมพย๕๔๕ : การจัดการทางการพยาบาล | 3 | ||
รมพย๕๔๙ : เครื่องมือสำหรับการวิจัยและการวัดผลลัพธ์ | 3 | ||
รมพย๕๖๔ : การสอนในคลินิก | 3 | ||
รมพย๖๘๘ : เทคโนโลยีและการจัดการสารสนเทศทางการพยาบาล | 3 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
รมพย๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 12 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สายลม เกิดประเสริฐ
- รองศาสตราจารย์ พัชรินทร์ นินทจันทร์
- รองศาสตราจารย์ มณี อาภานันทิกุล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทิพวัลย์ ดารามาศ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สตรีรัตน์ ธาดากานต์
- อาจารย์ ปรานี ป้องเรือ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพิชญา หวังปิติพาณิชย์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จิราภรณ์ ปั้นอยู่
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำปี เกรนเจอร์
- รองศาสตราจารย์ บัวหลวง สำแดงฤทธิ์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพวรรณ พินิจขจรเดช
- ศาสตราจารย์ นพวรรณ เปียซื่อ
- รองศาสตราจารย์ ศรีสมร ภูมนสกุล
- อาจารย์ นันทนิจ แวน กูลิค