เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันพฤหัสบดีที่   25   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุ 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
เว็บไซต์ http://www.ra.mahidol.ac.th/

ชื่อปริญญา

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต(การพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุ)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาแผน ก แบบ ก๑ (ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว)
๑. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (พยาบาลและผดุงครรภ์) หรือพยาบาลศาสตรบัณฑิต หรือประกาศนียบัตรทางการพยาบาลเทียบเท่าปริญญาตรี จากสถาบันการศึกษาที่สภาการพยาบาล และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง
๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
๓.  มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น ๑ หรือ การพยาบาลชั้น ๑
๔.  มีประสบการณ์การทำงานในด้านการพยาบาล การศึกษาพยาบาล และ/หรือการบริหารการพยาบาลหลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีอย่างน้อย ๓ ปี โดยนับถึงวันยื่นใบสมัคร
๕. จะต้องเป็น ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง ใน สาขาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่จะเข้าศึกษา (หลักสูตร ๔ เดือนขึ้นไป) โดยเป็นหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางที่สภาการพยาบาลหรือราชวิทยาลัยแพทย์รับรอง เช่น สาขาเวชปฎิบัติผู้สูงอายุ หรือ เวชปฎิบัติชุมชน หรือ เวชปฎิบัติฉุกเฉิน หรือ เวชปฎิบัติครอบครัว มาแล้วไม่เกิน ๕ ปี
๖.  มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในรอบ ๓ ปีที่ผ่านมาอย่างน้อย ๑ เรื่อง ที่มีชื่อเป็นผู้นิพนธ์ชื่อแรก หรือ ผู้รับผิดชอบหลัก ในวารสารที่เป็นที่ยอมรับของ สกอ.
๗.  ต้องมีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๘.  ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๒, ๔ และ ข้อ ๗ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาแผน ก แบบ ก๒ (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)
๑. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (พยาบาลและผดุงครรภ์) หรือพยาบาลศาสตรบัณฑิต หรือประกาศนียบัตรทางการพยาบาลเทียบเท่าปริญญาตรี จากสถาบันการศึกษาที่สภาการพยาบาล และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง
๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
๓.  มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น ๑ หรือ การพยาบาลชั้น ๑
๔.  มีประสบการณ์การทำงานในด้านการพยาบาล การศึกษาพยาบาล และ/หรือการบริหารการพยาบาลหลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีอย่างน้อย ๑ ปี โดยนับถึงวันยื่นใบสมัคร
๕.  ต้องมีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๖. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๒, ๔ และ ข้อ ๕ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๑
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาแกน 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 12            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิชาการ นักวิจัย สาขาการพยาบาลเวชปฎิบัติผู้สูงอายุ
- พยาบาลวิชาชีพที่มีความสามารถในการพยาบาลเวชปฎิบัติผู้สูงอายุในโรงพยาบาล ในชุมชน และสถานบริการ/สถานการดูแลผู้สูงอายุอื่น ๆ
- อาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพหรือการจัดการระบบการดูแลผู้สูงอายุ

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
รมพย๖๐๑ : การวิจัยทางการพยาบาล 3
รมพย๖๐๓ : สถิติ 2
รมพย๖๖๒ : มูลฐานทางทฤษฎีในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง 2
รมพย๖๖๓ : นโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำทางการพยาบาล 2
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
รมพส๕๐๖ : พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุ 2
รมพส๕๐๗ : การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยและการรักษาโรคเบื้องต้น 3
รมพส๕๑๐ : ปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย 3
รมพส๕๑๑ : ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยและการรักษาโรคเบื้องต้น 3
รมพส๕๑๒ : สัมมนาการพยาบาลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
รมพย๕๔๓ : แนวคิดและการปฏิบัติทางการพยาบาลขั้นสูง 3
รมพย๕๔๔ : การบำบัดเสริมและการบำบัดทางเลือกสำหรับการพยาบาล 3
รมพย๕๔๕ : การจัดการทางการพยาบาล 3
รมพย๕๔๙ : เครื่องมือสำหรับการวิจัยและการวัดผลลัพธ์ 3
รมพย๕๕๔ : ประเด็นร่วมสมัยของสุขภาพผู้สูงอายุ 3
รมพย๕๖๔ : การสอนในคลินิก 3
รมพย๖๘๘ : เทคโนโลยีและการจัดการสารสนเทศทางการพยาบาล 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
รมพย๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

อาจารย์ประจำหลักสูตร

  1. รองศาสตราจารย์ สุปรีดา มั่นคง   (ประธานหลักสูตร)
  2. ศาสตราจารย์ นพวรรณ เปียซื่อ
  3. รองศาสตราจารย์ พิชญ์ประอร ยังเจริญ
  4. รองศาสตราจารย์ พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์
  5. รองศาสตราจารย์ มณี อาภานันทิกุล
  6. รองศาสตราจารย์ วันทนา มณีศรีวงศ์กูล
  7. รองศาสตราจารย์ สุชิรา ชัยวิบูลย์ธรรม
  8. รองศาสตราจารย์ สุภาพ อารีเอื้อ
  9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กมลรัตน์ กิตติพิมพานนท์
  10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธิราภรณ์ จันทร์ดา
  11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปิยาณี ณ นคร
  12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศิราณี เก็จกรแก้ว
  13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพิชญา หวังปิติพาณิชย์
  14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สิริรัตน์ ลีลาจรัส
  15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุมลชาติ ดวงบุบผา
  16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โสภิณ แสงอ่อน
  17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ
  18. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อินทิรา รูปสว่าง
  19. อาจารย์ นุชนาฏ สุทธิ