ผู้สนใจเข้าศึกษา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย
ระดับ | ปริญญาเอก |
คณะ/สถาบัน | คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี |
เว็บไซต์ |
|
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(วิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย)
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
แบบ ๑.๑ ๑. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมายหรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง ๒. ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓ ๓. มีผลงานการตีพิมพ์ระดับชาติอย่างน้อย ๒ ฉบับ หรือ มีผลงานการตีพิมพ์ระดับนานาชาติ อย่างน้อย ๑ ฉบับ (ในช่วง ๕ ปี ก่อนถึงวันประกาศผล) หรือ สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรระดับปริญญาโท แผนทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ (Research only) ๔. มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด (ในกรณีต้องการเข้าร่วมโครงการ Cotutelle จะต้องมีผลการสอบ ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยคู่ความร่วมมือกำหนด) ๕. มี statement of purpose ความยาวไม่เกิน ๑ หน้ากระดาษ A4 ๖. มีโครงร่างงานวิจัย (Proposal) ๗. คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด ๘. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๒ ถึง ๔ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย แผนการศึกษา แบบ ๒.๑ ๑. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมายหรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง ๒. ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓ ๓. มีผลงานการตีพิมพ์ระดับชาติหรือนานาชาติ อย่างน้อย ๑ ฉบับ (ในช่วง ๕ ปี ก่อนถึงวันประกาศผล) หรือ สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรระดับปริญญาโท แผนทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ (Research only) ๔. มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด (ในกรณีต้องการเข้าร่วมโครงการ Cotutelle จะต้องมีผลการสอบ ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยคู่ความร่วมมือกำหนด) ๕. มี statement of purpose ความยาวไม่เกิน ๑ หน้ากระดาษ A4 ๖. มีโครงร่างงานวิจัย (Proposal) ๗. คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด ๘. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๒ ถึง ๔ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย หมายเหตุ: สำหรับนักศึกษาที่สนใจเข้าโครงการ Cotutelle จะต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยคู่ความร่วมมือกำหนด
โครงสร้างหลักสูตร
แผน 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท | |||
วิทยานิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 48 | หน่วยกิต | |
แผน 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท | |||
หมวดวิชาบังคับ | 9 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 3 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 36 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 48 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมายทั้งในสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
- อาจารย์/ ผู้เชี่ยวชาญ/ นักวิชาการหรือผู้ถ่ายทอดความรู้สาขาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมายในสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน
- ที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย
รายวิชาในหลักสูตร
แบบ 1
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
รมวส๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 48 |
แบบ 2
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
รมวส๖๐๑ : วิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมายขั้นสูง | 3 | ||
รมวส๖๐๒ : สัมมนาทางด้านวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติ ของการสื่อความหมายขั้นสูง | 1 | ||
รมวส๖๐๓ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยของวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย | 2 | ||
รมวส๖๐๔ : ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูงทางด้านวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย | 4 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
รมขส๖๐๓ : สถิติทางการแพทย์และการเขียนโปรแกรมสำหรับวิทยาศาสตร์ข้อมูลและสารสนเทศคลินิก | 2 | ||
รมขส๖๐๔ : หลักการและแนวคิดของระบบสุขภาพ | 2 | ||
รมขส๖๐๖ : การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรการดูแลสุขภาพ | 2 | ||
รมขส๖๐๙ : ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์ข้อมูลและสารสนเทศคลินิก | 2 | ||
รมขส๖๒๕ : แบบจำลองและการจัดแสดงข้อมูล | 2 | ||
รมรค๖๐๓ : การออกแบบโครงร่างงานวิจัย | 2 | ||
รมรค๖๒๔ : สารสนเทศทางการวิจัยและการจัดการข้อมูล | 2 | ||
รมรค๖๒๕ : สถิติทางการแพทย์ในการวิจัยคลินิก | 3 | ||
รมวส๖๐๕ : เครื่องมือและอุปกรณ์ทางโสตสัมผัสวิทยา | 1 | ||
รมวส๖๐๖ : สัมมนาพื้นฐานการใช้โปรแกรมแมทแลปสำหรับการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย | 1 | ||
รมวส๖๐๗ : สัมมนาด้านรากฐานประสาทวิทยาศาสตร์คณนา | 1 | ||
รมวส๖๐๘ : ปัญญาประดิษฐ์กับวิทยาศาสตร์และความผิดปกติด้านการพูดและภาษา | 1 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
รมวส๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ | 36 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- อาจารย์ สิทธิประภา อิศรางกูร ณ อยุธยา (ประธานหลักสูตร)
- รองศาสตราจารย์ เฉลิมพงษ์ ฉัตรดอกไม้ไพร
- รองศาสตราจารย์ พิชัย อิฏฐสกุล
- ศาสตราจารย์ ฉัตรชัย เหมือนประสาท
- อาจารย์ นิธิ อัศวภาณุมาศ
- อาจารย์ นิตยา เกษมโกสินทร์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปวิน นำธวัช
- ศาสตราจารย์ ดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุล
- ศาสตราจารย์ ประชา นันท์นฤมิต
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัตตินันท์ ฏิระวณิชย์กุล
- รองศาสตราจารย์ ภาณุวัฒน์ เลิศสิทธิชัย