เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันเสาร์ที่   27   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
เว็บไซต์ http://www.ra.mahidol.ac.th/

ชื่อปริญญา

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต(การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)

จุดเด่นของหลักสูตร

มุ่งเน้นให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรมีความเป็นนักวิชาการ มีความสามารถในการทำวิจัยทาง การพยาบาล เป็นผู้นำและมีจิตอาสา

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

แผน ก แบบ ก๑  
๑. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์หรือเทียบเท่าจาสถาบันการศึกษาที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาสาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสภาการพยาบาลรับรอง 
๒. มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น ๑
๓. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
๔. มีประสบการณ์การทำงานในด้านการพยาบาล หรือการศึกษาทางการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตหลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีอย่างน้อย ๓ ปี โดยนับถึงวันยื่นใบสมัคร 
๕. ผ่านการอบรมหลักสูตรเฉพาะทางในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต(หลักสูตร ๔ เดือนขึ้นไป) โดยเป็นหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางที่สภาการพยาบาลหรือราชวิทยาลัยแพทย์รับรอง  
๖. มีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยโดยได้รับการรับรองจากหัวหน้าโครงการวิจัย หรือมีผลงานวิจัยทางด้านสุขภาพที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างน้อย ๑ เรื่อง
๗. ผู้สมัครเข้าศึกษาจะต้องมีผลการสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๘. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๓, ๔ และ ๗ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

แผน ก แบบ ก๒  
๑. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาสาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสภาการพยาบาลรับรอง 
๒. มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น ๑
๓. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
๔. มีประสบการณ์การทำงานในด้านการพยาบาล การศึกษาพยาบาล หรือการบริหารการพยาบาลหลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีอย่างน้อย ๑ ปี โดยนับถึงวันยื่นใบสมัคร
๕. ผู้สมัครเข้าศึกษาจะต้องมีผลการสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๖. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๓, ๔ และ ๕ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๑
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาแกน 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 12            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิชาการ นักวิจัยด้านการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
- พยาบาลผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
- ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ถ่ายทอดความรู้ในสถานศึกษาด้านการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
- อาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก1

วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
รมพย๗๙๘ : วิทยานิพนธ์ 36

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
รมพย๖๐๑ : การวิจัยทางการพยาบาล 3
รมพย๖๐๓ : สถิติ 2
รมพย๖๖๒ : มูลฐานทางทฤษฎีในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง 2
รมพย๖๖๓ : นโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำทางการพยาบาล 2
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
รมพจ๖๖๙ : ปฏิบัติการทางการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตขั้นสูง ๑ 3
รมพจ๖๗๐ : ปฏิบัติการทางการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตขั้นสูง ๒ 3
รมพจ๖๗๑ : พื้นฐานทางประสาทชีววิทยาของพฤติกรรมมนุษย์และจิตเภสัชวิทยา 2
รมพจ๖๗๒ : การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตขั้นสูง 3
รมพจ๖๗๓ : สัมมนาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
รมพย๕๔๓ : แนวคิดและการปฏิบัติทางการพยาบาลขั้นสูง 3
รมพย๕๔๔ : การบำบัดเสริมและการบำบัดทางเลือกสำหรับการพยาบาล 3
รมพย๕๔๕ : การจัดการทางการพยาบาล 3
รมพย๕๔๙ : เครื่องมือสำหรับการวิจัยและการวัดผลลัพธ์ 3
รมพย๕๕๑ : สัมมนาการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และนวัตกรรมในการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 3
รมพย๕๖๔ : การสอนในคลินิก 3
รมพย๖๘๘ : เทคโนโลยีและการจัดการสารสนเทศทางการพยาบาล 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
รมพย๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12