ผู้สนใจเข้าศึกษา
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต (ภาคพิเศษ)
ระดับ | ปริญญาโท |
คณะ/สถาบัน | คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี |
เว็บไซต์ |
http://www.ra.mahidol.ac.th/ |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต(การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)
จุดเด่นของหลักสูตร
มุ่งเน้นให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรมีความเป็นนักวิชาการ มีความสามารถในการทำวิจัยทาง
การพยาบาล เป็นผู้นำและมีจิตอาสา
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
๑. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (การพยาบาลและผดุงครรภ์) หรือพยาบาลศาสตรบัณฑิต หรือประกาศนียบัตรทางการพยาบาลเทียบเท่าปริญญาตรี จากสถาบัน การศึกษาที่สภาการพยาบาลรับรอง ๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ ๓. มีใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น ๑ หรือ การพยาบาลชั้น ๑ ๔. มีประสบการณ์การทำงานในด้านการพยาบาล การศึกษาพยาบาล การบริหารการพยาบาลหลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีอย่างน้อย ๑ ปี โดยนับถึงวันยื่นใบสมัคร ๕. ผู้สมัครเข้าศึกษาจะต้องมีผลการสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ๖. กรณีผู้เข้าศึกษาไม่มีสัญชาติไทย ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์หรือเทียงเท่า และได้รับอนุญาตให้ประกอบ วิชาชีพพยาบาลโดยสภาวิชาชีพ หรือองค์กรที่รับผิดชอบในประเทศของผู้ที่รับสมัคร กรณีไม่มีระบบการให้ใบอนุญาตฯ ต้องมีใบรับรองการขึ้นทะเบียน ในประเทศของผู้สมัคร หรือรับรอโดยหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาล (Nursing Regulatory Authority) ในประเทศของผู้สมัคร ๗. ผู้สมัครเข้าศึกษาซึ่งอยู่นอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้ อาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร โดยดำเนินการร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก๒ | |||
หมวดวิชาแกน | 9 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาบังคับ | 13 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 3 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 12 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 37 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักวิชาการ นักวิจัยด้านการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
- พยาบาลผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
- ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ถ่ายทอดความรู้ในสถานศึกษาด้านการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
- อาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
รายวิชาในหลักสูตร
แผน ก แบบ ก2
หมวดวิชาแกน | หน่วยกิต | ||
รมพย๖๐๑ : การวิจัยทางการพยาบาล | 3 | ||
รมพย๖๐๓ : สถิติ | 2 | ||
รมพย๖๖๒ : มูลฐานทางทฤษฎีในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง | 2 | ||
รมพย๖๖๓ : นโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำทางการพยาบาล | 2 | ||
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
รมพจ๖๖๖ : พื้นฐานทางชีววิทยาของพฤติกรรมมนุษย์และจิตเภสัชวิทยา | 3 | ||
รมพจ๖๖๗ : การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตขั้นสูง ๑ | 2 | ||
รมพจ๖๖๘ : การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตขั้นสูง ๒ | 2 | ||
รมพจ๖๖๙ : ปฏิบัติการทางการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตขั้นสูง ๑ | 3 | ||
รมพจ๖๗๐ : ปฏิบัติการทางการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตขั้นสูง ๒ | 3 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
รมพย๕๔๓ : แนวคิดและการปฏิบัติทางการพยาบาลขั้นสูง | 3 | ||
รมพย๕๔๔ : การบำบัดเสริมและการบำบัดทางเลือกสำหรับการพยาบาล | 3 | ||
รมพย๕๔๕ : การจัดการทางการพยาบาล | 3 | ||
รมพย๕๔๙ : เครื่องมือสำหรับการวิจัยและการวัดผลลัพธ์ | 3 | ||
รมพย๕๕๐ : สัมมนาความผิดปกติทางจิตเวช | 3 | ||
รมพย๕๖๔ : การสอนในคลินิก | 3 | ||
รมพย๖๘๘ : เทคโนโลยีและการจัดการสารสนเทศทางการพยาบาล | 3 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
รมพย๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 12 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทัศนา ทวีคูณ (ประธานหลักสูตร)
- อาจารย์ นันทิยา เอกอธิคมกิจ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิไล นาป่า
- รองศาสตราจารย์ พัชรินทร์ นินทจันทร์
- รองศาสตราจารย์ แสงทอง ธีระทองคำ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มาลาตี รุ่งเรืองศิริพันธ์
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ รุจา ภู่ไพบูลย์
- รองศาสตราจารย์ บัวหลวง สำแดงฤทธิ์
- รองศาสตราจารย์ พิศสมัย อรทัย
- รองศาสตราจารย์ สุปรีดา มั่นคง
- ศาสตราจารย์ สุภาพ อารีเอื้อ
- รองศาสตราจารย์ พรทิพย์ มาลาธรรม
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โสภิณ แสงอ่อน