เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันเสาร์ที่   20   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน (ภาคพิเศษ)

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
เว็บไซต์ http://www.ra.mahidol.ac.th/

ชื่อปริญญา

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต(การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน)

จุดเด่นของหลักสูตร

มุ่งเน้นให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรมีความเป็นนักวิชาการ มีความสามารถในการทำวิจัยทาง การพยาบาล เป็นผู้นำและมีจิตอาสา

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา แผน ก๑ 
๑. สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์จากสถาบันการศึกษาที่สภาการพยาบาลและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง
๒. ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
๓. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น ๑ หรือ การพยาบาลชั้น ๑
๔. มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน อย่างน้อย ๒ ปี และมีประสบการณ์การทำวิจัย โดยมีผลงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารซึ่งอยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับอย่างน้อย ๑ เรื่อง นับถึงวันยื่นใบสมัคร 
๕. ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางระยะสั้นในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน เช่น การพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) การพยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉิน การพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุ การดูแลผู้ป่วยและครอบครัวที่บ้าน เป็นต้น 
๖. มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด
๗. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๒, ๔ และข้อ ๖ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย 

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา แผน ก ๒ 
๑. สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์จากสถาบันการศึกษาที่สภาการพยาบาลและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง
๒. ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
๓. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น ๑ หรือ การพยาบาลชั้น ๑
๔. มีประสบการณ์การทำงานในด้านการพยาบาล การศึกษาพยาบาล  และ/หรือการบริหารการพยาบาลหลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีอย่างน้อย ๑ ปี โดยนับถึงวันยื่นใบสมัคร 
๕. มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด
๖. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๒, ๔ และข้อ ๕ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๑
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
กำหนดให้ศึกษารายวิชาเพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วยกิต ตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา และกำหนดให้ร่วมกิจกรรมเพิ่มพูนประสบการณ์การวิจัยไม่น้อยกว่า ๙๐ ชั่วโมง ตลอดระยะเวลาศึกษา
แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาแกน 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 12            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิชาการ นักวิจัยของสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวกับสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชน
- พยาบาลในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ งานเวชกรรมสังคมของสถานบริการสุขภาพ โรงเรียน สถานประกอบการต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
- อาชีพอิสระ ผู้ประกอบการด้านการพยาบาลและสุขภาพ

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก1

วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
รมพย๗๙๘ : วิทยานิพนธ์ 36

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
รมพย๖๐๑ : การวิจัยทางการพยาบาล 3
รมพย๖๐๓ : สถิติ 2
รมพย๖๖๒ : มูลฐานทางทฤษฎีในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง 2
รมพย๖๖๓ : นโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำทางการพยาบาล 2
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
รมพช๕๐๙ : พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน 2
รมพช๕๑๐ : ปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน 3
รมพช๕๑๑ : สัมมนาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2
รมพช๕๑๔ : การรักษาโรคเบื้องต้น 2
รมพช๕๑๕ : ปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้น 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
รมพย๕๒๕ : แนวคิดและการปฏิบัติทางการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนขั้นสูง 3
รมพย๕๒๖ : การพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชน 3
รมพย๕๔๓ : แนวคิดและการปฏิบัติทางการพยาบาลขั้นสูง 3
รมพย๕๔๕ : การจัดการทางการพยาบาล 3
รมพย๕๔๖ : สุขภาพประชาคมโลกและการพยาบาล 3
รมพย๕๔๗ : การวิจัยชุมชน 3
รมพย๕๕๒ : การดูแลแบบประคับประคอง 3
รมพย๕๖๔ : การสอนในคลินิก 3
รมพย๖๘๘ : เทคโนโลยีและการจัดการสารสนเทศทางการพยาบาล 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
รมพย๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

อาจารย์ประจำหลักสูตร

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรรณา สนองเดช   (ประธานหลักสูตร)
  2. รองศาสตราจารย์ วันทนา มณีศรีวงศ์กูล
  3. ศาสตราจารย์ นพวรรณ เปียซื่อ
  4. รองศาสตราจารย์ สุภาพ อารีเอื้อ
  5. รองศาสตราจารย์ ศรีสมร ภูมนสกุล
  6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทัศนา ทวีคูณ
  7. รองศาสตราจารย์ แสงทอง ธีระทองคำ
  8. รองศาสตราจารย์ มณี อาภานันทิกุล
  9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทิพวัลย์ ดารามาศ
  10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ
  11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผจงจิต ไกรถาวร
  12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภามาศ ผาติประจักษ์
  13. รองศาสตราจารย์ พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์
  14. รองศาสตราจารย์ สุชิรา ชัยวิบูลย์ธรรม
  15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กมลรัตน์ กิตติพิมพานนท์
  16. อาจารย์ ฉัตรศิริ เมฆวิวัฒนาวงศ์
  17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นรีมาลย์ นีละไพจิตร
  18. อาจารย์ จิราพร ไลนิงเกอร์
  19. อาจารย์ สุกัญญา ตันติประสพลาภ
  20. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพิชญา หวังปิติพาณิชย์
  21. อาจารย์ ซู้หงษ์ ดีเสมอ