เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   19   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
เว็บไซต์ http://www.ra.mahidol.ac.th/

ชื่อปริญญา

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต(การพยาบาลเด็ก)

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 เป็น หลักสูตรที่มีมาตรฐานสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและเกณฑ์มาตราฐาน ของสภาการพยาบาลที่มุ่งสร้างมหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติการ พยาบาลเด็กที่เป็นพื้นฐานสำคัญไปสู่การเรียนในหลักสูตรวุฒิบัตรเทียบเท่าปริญญาเอกทางคลินิกที่เน้น การปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง หรือปริญญาเอกที่เน้นวิชาการและวิจัย

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา แผน ก แบบ ก๑
๑. สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาที่สภาการพยาบาล และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้การรับรอง
๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ 
๓. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น ๑ หรือการพยาบาลชั้น ๑
๔. มีประสบการณ์การทำงานทางด้านการพยาบาล การศึกษาพยาบาล  หรือการบริหารการพยาบาลหลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีอย่างน้อย ๒ ปี 
๕. ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางอย่างน้อย ๔ เดือน ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลเด็ก และเป็นหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาล
๖. มีประสบการณ์ในการทำวิจัยโดยได้รับการรับรองจากหัวหน้าโครงการหรือมีผลงานวิจัย ทางด้านสุขภาพที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างน้อย ๑ เรื่อง
๗. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด
๘. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๒, ๕ และข้อ ๗ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา แผน ก แบบ ก๒
๑. สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาที่สภาการพยาบาล และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้การรับรอง
๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ 
๓. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น ๑ หรือการพยาบาลชั้น ๑
๔. มีประสบการณ์การทำงานในด้านการพยาบาล การศึกษาพยาบาล  หรือการบริหารการพยาบาลหลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีอย่างน้อย ๑ ปี โดยนับถึงวันยื่นใบสมัคร
๕. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด
๖. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ ๒ ถึงข้อ ๕ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๑
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
กำหนดให้ศึกษารายวิชาเพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วยกิต ตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา
กำหนดให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มพูนประสบการณ์การวิจัย ไม่ต่ำกว่า ๙๐ ชั่วโมง           
แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาแกน 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 12            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิชาการ นักวิจัย สาขาการพยาบาลเด็ก
- พยาบาลผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการพยาบาลเด็ก
- อาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลเด็ก

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก1

วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
รมพย๗๙๘ : วิทยานิพนธ์ 36

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
รมพย๖๐๑ : การวิจัยทางการพยาบาล 3
รมพย๖๐๓ : สถิติ 2
รมพย๖๖๒ : มูลฐานทางทฤษฎีในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง 2
รมพย๖๖๓ : นโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำทางการพยาบาล 2
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
รมพด๕๐๑ : สัมมนาการพยาบาลเด็ก 1
รมพด๕๒๐ : วิทยาศาสตร์สุขภาพในเด็ก 2
รมพด๕๒๑ : การส่งเสริมสุขภาพและการจัดการความเจ็บป่วยในเด็ก 3
รมพด๕๒๒ : ปฏิบัติการพยาบาลเด็กสุขภาพดีและกลุ่มเสี่ยง 3
รมพด๕๒๓ : ปฏิบัติการพยาบาลเด็กป่วยภาวะเฉียบพลัน วิกฤตและเรื้อรัง 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
รมพย๕๐๖ : นวัตกรรมทางการพยาบาล 3
รมพย๕๔๓ : แนวคิดและการปฏิบัติทางการพยาบาลขั้นสูง 3
รมพย๕๔๔ : การบำบัดเสริมและการบำบัดทางเลือกสำหรับการพยาบาล 3
รมพย๕๔๕ : การจัดการทางการพยาบาล 3
รมพย๕๔๙ : เครื่องมือสำหรับการวิจัยและการวัดผลลัพธ์ 3
รมพย๕๖๔ : การสอนในคลินิก 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
รมพย๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
รมพย๖๘๘ : เทคโนโลยีและการจัดการสารสนเทศทางการพยาบาล 3

อาจารย์ประจำหลักสูตร

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ลาวัลย์ สิงห์สาย   (ประธานหลักสูตร)
  2. รองศาสตราจารย์ วันทนา มณีศรีวงศ์กูล
  3. รองศาสตราจารย์ พัชรินทร์ นินทจันทร์
  4. รองศาสตราจารย์ พิศสมัย อรทัย
  5. รองศาสตราจารย์ ศรีสมร ภูมนสกุล
  6. รองศาสตราจารย์ สุปรีดา มั่นคง
  7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำปี เกรนเจอร์
  8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทัศนา ทวีคูณ
  9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธิราภรณ์ จันทร์ดา
  10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สิริรัตน์ ลีลาจรัส
  11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โสภิณ แสงอ่อน
  12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ
  13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อัจฉรียา ปทุมวัน
  14. อาจารย์ จงใจ จงอร่ามเรือง
  15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จิราภรณ์ ปั้นอยู่
  16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดวงฤทัย บัวด้วง
  17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นิภาพร บุตรสิงห์
  18. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มนฤดี โชคประจักษ์ชัด
  19. ศาสตราจารย์ นพวรรณ เปียซื่อ