เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันจันทร์ที่   27   มีนาคม   พ.ศ. 2566

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยาคลินิก (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
เว็บไซต์ http://www.ra.mahidol.ac.th/

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(พยาธิวิทยาคลินิก)

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรคลอบคลุมทุกสาขาวิชาทางด้านพยาธิวิทยาคลินิก เวชศาสตร์ชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ ตลอดจนการบริหารห้องปฏิบัติการ และงานวิจัยในระดับสากล

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

แบบ ๑ ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว 
(๑) สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยาคลินิก 
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
(๓) ผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติ ๑ เรื่อง
(๔) เป็นชื่อแรกหรือ Corresponding author ของผลงานที่ตีพิมพ์
(๕) ผลงานตีพิมพ์ต้องไม่เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์
(๖) มีผลการภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(๗) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้สมัครเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร 
และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

แบบ ๒ ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
แบบ ๒.๑ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาโท หรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในระดับปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต 
(พยาธิวิทยาคลินิก) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาอื่นๆ) ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพยาธิวิทยาคลินิก จากสถาบันอุดมศึกษาที่
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ 
(๓) ต้องมีผลสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนด  
(๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว  อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร 
และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

แบบ ๒.๒ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี  หรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในระดับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต  
(เทคนิคการแพทย์)  แพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต เภสัชศาสตรบัณฑิต สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต หรือสาขาวิชาอื่นๆ 
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพยาธิวิทยาคลินิก จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง   
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ 
(๓)  ต้องมีผลสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนด  
(๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว  อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร 
และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาพยาธิวิทยาคลินิก
หมวดวิชาบังคับ 6            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาอื่น ๆ
หมวดวิชาบังคับ 8            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 50            หน่วยกิต
แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 24            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 78            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิจัยด้านพยาธิวิทยาคลินิก
- นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านพยาธิวิทยาคลินิก

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
รมพธ๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48

แบบ 2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท สาขาอื่นๆ
วทคร๕๐๐ : ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
รพพธ๖๓๒ : สัมมนาพยาธิวิทยาคลินิกขั้นสูง 2
รมพธ๕๐๖ : การบริหารห้องปฏิบัติการและความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ 2
รมพธ๖๐๑ : สัมมนาพยาธิวิทยาคลินิก 2
รมพธ๖๐๒ : การแพทย์แม่นยำและจีโนม 2
รมพธ๖๐๓ : เครื่องมือห้องปฏิบัติการ 1
รมพธ๖๐๔ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางพยาธิวิทยาคลินิก 2
รมพธ๖๐๘ : เคมีคลินิก พิษวิทยา ภูมิคุ้มกันวิทยา และจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก 2
รมพธ๖๐๙ : จุลชีววิทยาคลินิกและโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ 2
รมพธ๖๑๐ : โลหิตวิทยาพร้อมมูล และเวชศาสตร์บริการโลหิต 2
รมพธ๖๑๑ : ทักษะปฏิบัติทางห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาคลินิก 1
รมพธ๖๑๓ : ความสัมพันธ์ของผลทางห้องปฏิบัติการกับข้อมูลทางคลินิก 2
รมพธ๖๒๖ : การจัดการข้อมูลทางการแพทย์และการวิเคราะห์ทางสถิติขั้นสูง 2
รมพธ๖๒๗ : งานวิจัยเชิงนวัตกรรมทางพยาธิวิทยาคลินิกและความคิดผู้ประกอบการ 1
รมพธ๗๙๒ : ความรู้ทางพยาธิวิทยาคลินิกขั้นสูง 1
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท สาขาอื่นๆ
รพพธ๖๓๒ : สัมมนาพยาธิวิทยาคลินิกขั้นสูง 2
รมพธ๕๐๖ : การบริหารห้องปฏิบัติการและความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ 2
รมพธ๖๒๖ : การจัดการข้อมูลทางการแพทย์และการวิเคราะห์ทางสถิติขั้นสูง 2
รมพธ๖๒๗ : งานวิจัยเชิงนวัตกรรมทางพยาธิวิทยาคลินิกและความคิดผู้ประกอบการ 1
รมพธ๗๙๒ : ความรู้ทางพยาธิวิทยาคลินิกขั้นสูง 1
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาพยาธิวิทยาคลินิก
รพพธ๖๓๒ : สัมมนาพยาธิวิทยาคลินิกขั้นสูง 2
รมพธ๖๒๖ : การจัดการข้อมูลทางการแพทย์และการวิเคราะห์ทางสถิติขั้นสูง 2
รมพธ๖๒๗ : งานวิจัยเชิงนวัตกรรมทางพยาธิวิทยาคลินิกและความคิดผู้ประกอบการ 1
รมพธ๗๙๒ : ความรู้ทางพยาธิวิทยาคลินิกขั้นสูง 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   รายวิชาเลือกทั่วไป
รมพธ๖๑๙ : ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ 2
   กลุ่มวิชาเคมีคลินิก
รมพธ๖๒๘ : ทักษะปฏิบัติทางห้องปฏิบัติการเคมีคลินิกขั้นสูง 2
รมพธ๖๖๘ : ความรู้ทางเคมีคลินิกขั้นสูง 2
รมพธ๖๘๗ : การวิเคราะห์และประยุกต์สารชีวภาพบ่งชี้ทางเคมีคลินิก 2
   กลุ่มวิชาจุลชีววิทยาคลินิก
รมพธ๖๒๐ : หลุมพรางทางจุลชีววิทยาคลินิก 2
รมพธ๖๒๑ : ทักษะปฏิบัติทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิกขั้นสูง 2
รมพธ๖๙๖ : ความรู้ทางจุลชีววิทยาขั้นสูง 2
   กลุ่มวิชาไวรัสวิทยา
รมพธ๖๒๙ : การออกแบบชุดตรวจระดับโมเลกุล และเทคนิคการตรวจวินิจฉัยขั้นสูงทางไวรัสวิทยา 2
รมพธ๖๖๙ : ทักษะปฏิบัติทางห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยาขั้นสูง 2
รมพธ๖๖๙ : ความรู้ทางไวรัสวิทยาขั้นสูง 2
   กลุ่มวิชาโลหิตวิทยา
รมพธ๖๓๓ : ทักษะปฏิบัติทางห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยาขั้นสูง 3
รมพธ๖๗๒ : ความรู้ทางโลหิตวิทยาขั้นสูง 3
   กลุ่มวิชาเวชศาสตร์การบริการโลหิต
รมพธ๖๓๔ : ทักษะปฏิบัติทางห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์การบริหารโลหิตและพันธุศาสตร์ภูมิคุ้มกันขั้นสูง 3
รมพธ๗๔๑ : เวชศาสตร์การบริการโลหิตและพันธุศาสตร์ภูมิคุ้มกันขั้นสูง 3
   กลุ่มวิชาภูมิคุ้มกันวิทยา
รมพธ๖๐๐ : ความรู้ทางภูมิคุ้มกันวิทยาขั้นสูง 2
รมพธ๖๓๕ : เทคนิคทางภูมิคุ้มกันวินิจฉัยขั้นสูง 2
รมพธ๖๓๖ : ทักษะปฏิบัติขั้นสูงทางห้องปฏิบัติการภูมิคุ้มกันวิทยา 2
   กลุ่มวิชามนุษย์พันธุศาสตร์
รมพธ๖๓๗ : ทักษะปฏิบัติทางห้องปฏิบัติการมนุษย์พันธุศาสตร์ขั้นสูง 2
รมพธ๖๕๑ : ความรู้ทางมะเร็งวิทยาระดับโมเลกุลขั้นสูง 2
รมพธ๖๗๐ : ความรู้ทางมนุษย์พันธุศาสตร์ขั้นสูง 2
   กลุ่มวิชาเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์เฉพาะบุคคล
รมพธ๖๓๘ : ทักษะปฏิบัติทางห้องปฏิบัติการเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์เฉพาะบุคคลขั้นสูง 2
รมพธ๖๔๐ : การนำเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์เฉพาะบุคคลเข้าสู่เวชปฏิบัติ 2
รมพธ๖๗๑ : ความรู้ทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์เฉพาะบุคคลขั้นสูง 2
   กลุ่มวิชาพิษวิทยา
รมพธ๖๔๖ : สัมมนาทางพิษวิทยา 2
รมพธ๖๕๒ : ทักษะปฏิบัติทางห้องปฏิบัติการพิษวิทยาขั้นสูง 2
รมพธ๖๙๑ : ความรู้ทางพิษวิทยาขั้นสูง 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
รมพธ๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท สาขาอื่นๆ
รมพธ๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาพยาธิวิทยาคลินิก
รมพธ๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36

อาจารย์ประจำหลักสูตร

  1. รองศาสตราจารย์ พิทักษ์ สันตนิรันดร์   (รักษาการแทนประธานหลักสูตร)
  2. รองศาสตราจารย์ ดวงตะวัน ธรรมาณิชานนท์
  3. ศาสตราจารย์ ธีรพงษ์ กระแจะจันทร์
  4. รองศาสตราจารย์ บุษบา ฤกษ์อำนวยโชค
  5. รองศาสตราจารย์ พูนพิลาส หงษ์มณี
  6. รองศาสตราจารย์ พรเพ็ญ ศรีสวัสดิ์
  7. รองศาสตราจารย์ มงคล คุณากร
  8. รองศาสตราจารย์ สมลักษณ์ วนะวนานต์
  9. รองศาสตราจารย์ สรัญญา อุปรักขิตานนท์
  10. รองศาสตราจารย์ ถกล เจริญศิริสุทธิกุล
  11. รองศาสตราจารย์ พุทธภูมิ ลำเจียกเทศ
  12. รองศาสตราจารย์ พิมพรรณ กิจพ่อค้า
  13. รองศาสตราจารย์ อัญชลี จิตธรรมมา
  14. อาจารย์ จตุพร ครองวรกุล
  15. รองศาสตราจารย์ ธีระพงศ์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา
  16. อาจารย์ เอกวัฒน์ ผสมทรัพย์
  17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อภิชญา พวงเพ็ชร์
  18. อาจารย์ อภิรมย์ วงศ์สกุลยานนท์
  19. อาจารย์ การันต์ ไพสุขศานติวัฒนา
  20. ศาสตราจารย์ ชลภัทร สุขเกษม