เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะวิทยาศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.sc.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(พฤกษศาสตร์)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑.  สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ ชีววิทยา
เทคโนโลยีชีวภาพ พันธุศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ชีวภาพอื่น ๆ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยได้แต้ม
ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ หรือ
๒. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโท  สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ หรือสาขาวิชาวิทยาการพืช   ที่เป็น
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องที่ผ่านการพิจารณาโดยกรรมการหลักสูตร หรือปริญญาโท
ต่างสาขาวิชา เช่น ชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ พันธุศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ชีวภาพอื่น ๆ หรือเทียบเท่า
โดยได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
๓.  มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนด
๔.  ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับ การคัดเลือก
เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๒
(๑) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาการพืช ที่เป็นวิทยาศาสตร์ชีวภาพ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องที่ผ่านการพิจารณาโดยกรรมการหลักสูตร           
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
(๒) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทต่างสาขา เช่น ชีววิทยา เทคโนโลยี ชีวภาพ พันธุศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ชีวภาพอื่น ๆ หรือเทียบเท่า           
หมวดวิชาปรับพี้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
(๓) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ ชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ พันธุศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ชีวภาพอื่น ๆ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง           
หมวดวิชาบังคับ 16            หน่วยกิต
หมดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 8            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวม ไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ในสถาบันการศึกษาหรือในหน่วยงานทางด้านวิทยาศาสตร์ ต่าง ๆ ทั้งวิทยาศาสตร์การแพทย์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ในสถาบันอุดมศึกษา
- นักวิจัยหรือที่ปรึกษาทางวิชาการทางพฤกษศาสตร์ พฤกษพันธุศาสตร์โมเลกุล เทคโนโลยีชีวภาพ ด้านพืชและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน
- เชี่ยวชาญพิเศษหรือที่ปรึกษาทางวิชาการขั้นสูงด้านพืช ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
- ประกอบอาชีพอิสระ ธุรกิจส่วนตัว

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทต่างสาขา เช่น ชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ พันธุศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ชีวภาพอื่น ๆ หรือเทียบเท่า
วทพฤ๕๖๒ : วิทยาการพืชบูรณาการ 3

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทต่างสาขา เช่น ชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ พันธุศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ชีวภาพอื่น ๆ หรือเทียบเท่า
วทพฤ๖๐๑ : การวิจัยทางพฤกษศาสตร์ขั้นสูง 1
วทพฤ๖๐๓ : ซิสเตมาติกส์และวิวัฒนาการของพืชแนวหน้า 2
วทพฤ๖๐๔ : สหวิทยาการพฤกษศาสตร์แนวหน้า 2
วทพฤ๖๑๒ : สรีรวิทยาพืชแนวหน้า 2
วทพฤ๖๒๒ : เซลล์และชีววิทยาระดับโมเลกุลของพืชแนวหน้า 2
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ หรือสาขาวิชาวิทยาการพืช ที่เป็นวิทยาศาสตร์ชีวภาพ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ที่ผ่านการพิจารณาโดยกรรมการหลักสูตร
วทพฤ๖๐๑ : การวิจัยทางพฤกษศาสตร์ขั้นสูง 1
วทพฤ๖๐๓ : ซิสเตมาติกส์และวิวัฒนาการของพืชแนวหน้า 2
วทพฤ๖๐๔ : สหวิทยาการพฤกษศาสตร์แนวหน้า 2
วทพฤ๖๑๒ : สรีรวิทยาพืชแนวหน้า 2
วทพฤ๖๒๒ : เซลล์และชีววิทยาระดับโมเลกุลของพืชแนวหน้า 2
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ ชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ พันธุศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ชีวภาพอื่น ๆ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
วทคร๕๑๖ : ชีวสถิติ 3
วทคร๕๑๘ : ทักษะทั่วไปในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 1
วทพฤ๕๖๒ : วิทยาการพืชบูรณาการ 3
วทพฤ๖๐๑ : การวิจัยทางพฤกษศาสตร์ขั้นสูง 1
วทพฤ๖๐๓ : ซิสเตมาติกส์และวิวัฒนาการของพืชแนวหน้า 2
วทพฤ๖๐๔ : สหวิทยาการพฤกษศาสตร์แนวหน้า 2
วทพฤ๖๑๒ : สรีรวิทยาพืชแนวหน้า 2
วทพฤ๖๒๒ : เซลล์และชีววิทยาระดับโมเลกุลของพืชแนวหน้า 2
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ไม่น้อยกว่า ๓ หน่วยกิต
วทพฤ๖๐๒ : ทักษะทางการถ่ายทอดความรู้ทางพฤกษศาสตร์ 1
วทพฤ๖๑๑ : การปรับตัวของพืชในสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง 2
วทพฤ๖๒๑ : พันธุศาสตร์ของพืชขั้นประยุกต์ 2
วทพฤ๖๗๓ : สัมมนาทางพฤกษศาสตร์ขั้นสูง ๑ 1
วทพฤ๖๗๔ : สัมมนาทางพฤกษศาสตร์ขั้นสูง ๒ 1
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า ๘ หน่วยกิต
วทพฤ๖๐๒ : ทักษะทางการถ่ายทอดความรู้ทางพฤกษศาสตร์ 1
วทพฤ๖๑๑ : การปรับตัวของพืชในสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง 2
วทพฤ๖๒๑ : พันธุศาสตร์ของพืชขั้นประยุกต์ 2
วทพฤ๖๗๑ : ปัญหาพิเศษทางวิทยาการพืช 2
วทพฤ๖๗๓ : สัมมนาทางพฤกษศาสตร์ขั้นสูง ๑ 1
วทพฤ๖๗๔ : สัมมนาทางพฤกษศาสตร์ขั้นสูง ๒ 1
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท
วทพฤ๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
วทพฤ๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48

อาจารย์ประจำหลักสูตร