เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันเสาร์ที่   20   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะวิทยาศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.sc.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(เคมี)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเคมี หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยระดับคะแนน
เฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ หรือ
๒. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเคมี หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้ระดับ
คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ตํ่ากว่า ๓.๕๐ 
๓. ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัคร
เข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาได้ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

๑) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิชาเคมี หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
หมวดวิชาบังคับ 24            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
๒) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาเคมี
หมวดวิชาบังคับ 6            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า* 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
๓) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
หมวดวิชาบังคับ** 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก** 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
* สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาเคมี และสาขาอื่น ๆ ของภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถโอนย้ายหน่วยกิตจากระดับปริญญาโทได้ไม่เกิน ๓ หน่วยกิต และสำหรับวิชาที่ลงทะเบียนในหลักสูตรนี้ ต้องเป็นรายวิชาที่ไม่เคยลงทะเบียนเรียนมาก่อน
** ต้องลงทะเบียนเรียนในรายวิชาที่ไม่เคยลงทะเบียนเรียน มาก่อนในระดับ ปริญญาโท และไม่สามารถโอนย้ายหน่วยกิตจากวิชาที่เคยศึกษาในระดับปริญญาโทได้ นักศึกษาอาจจำเป็นต้องลงทะเบียนเรียนบางวิชาเพิ่มเติมจากหน่วยกิตที่กำหนดตามดุลยพินิจของอาจารย์ที่ปรึกษา และ หรือ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

นักวิชาการ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ รับราชการในภาครัฐหรือทำงานวิจัยระดับสูงในภาคอุตสาหกรรม 
ผู้บริหาร นักธุรกิจ หรือประกอบอาชีพอิสระ เช่น ดำเนินกิจการที่ต้องใช้ความรู้และเทคโนโลยีขั้นสูงทาง
เคมี ดำเนินกิจการด้านการออกแบบ ผลิตและจำหน่ายชิ้นงานนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ทางเคมี 
ผลงานต้นแบบหรือสารสำคัญสำหรับผสมในผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพจากธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ใช้สำหรับ
การวัดลักษณะเซนเซอร์และชุดทดสอบ และต้นแบบผลิตภัณฑ์สารตัวเร่งปฏิกิริยาใหม่ ๆ ระดับอุตสาหกรรม
ต้นแบบนวัตกรรมด้านแหล่งพลังงานใหม่ ๆ เป็นต้น

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาเคมี
วทคม๗๐๗ : การพัฒนาทักษะการวิจัย ๒ 3
วทคม๗๐๘ : ปัญหาพิเศษทางเคมี 3
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
วทคม๗๐๑ : เคมีแนวหน้า 3
วทคม๗๐๗ : การพัฒนาทักษะการวิจัย ๒ 3
วทคม๗๐๘ : ปัญหาพิเศษทางเคมี 3
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรีแล้วเข้าศึกษาต่อปริญญาเอก
วทคม๗๐๒ : ความปลอดภัยทางเคมีและการจัดการความเสี่ยง 1
วทคม๗๐๓ : การสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ 1
วทคม๗๐๔ : สัมมนาทางเคมี 1
วทคม๗๐๕ : ความก้าวหน้าทางเคมี 3
วทคม๗๐๖ : การพัฒนาทักษะการวิจัย ๑ 3
วทคม๗๐๗ : การพัฒนาทักษะการวิจัย ๒ 3
วทคม๗๐๘ : ปัญหาพิเศษทางเคมี 3
   ลงทะเบียนเรียนวิชาต่อไปนี้ ๒ รายวิชา (๖หน่วยกิต)
วทคม๗๑๑ : การหาโครงสร้างของสารอินทรีย์ 3
วทคม๗๑๒ : โครงสร้างและหน้าที่ระดับโมเลกุล 3
วทคม๗๓๑ : เทคนิคทางเคมีวิเคราะห์ขั้นสูง 3
วทคม๗๓๒ : ปฏิบัติการห้องทดลองการวิเคราะห์โดยอุปกรณ์ 3
วทคม๗๕๑ : ทฤษฎีโมเลกุลาร์ออร์บิทัลของสารเชิงซ้อนโลหะแทรนซิชัน 3
วทคม๗๕๒ : เทคนิคการพิสูจน์อัตลักษณ์ในการเร่งปฏิกิริยา 3
วทคม๗๗๑ : เคมีควอนตัม 3
วทคม๗๗๒ : อุณหพลศาสตร์และกลศาสตร์เชิงสถิติ 3
วทคม๗๙๑ : เคมีพอลิเมอร์ 3
วทคม๗๙๒ : ฟิสิกส์พอลิเมอร์ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วทคม๗๑๓ : เคมีอินทรีย์สังเคราะห์ขั้นสูง 3
วทคม๗๑๔ : กลไกปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์ขั้นสูง 3
วทคม๗๑๕ : เคมีทางยาแนวหน้า 3
วทคม๗๑๖ : เคมีชีววิทยา 3
วทคม๗๑๗ : เคมีของสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติขั้นสูง 3
วทคม๗๑๘ : การสังเคราะห์แบบอสมมาตร 3
วทคม๗๑๙ : เคมีของสารเฮเทอโรไซคลิกขั้นสูง 3
วทคม๗๒๐ : หัวข้อที่เป็นปัจจุบันทางเคมีอินทรีย์ 3
วทคม๗๓๓ : เทคนิคการแยก 3
วทคม๗๓๔ : เทคโนโลยีของไหลสำหรับศาสตร์วิเคราะห์ 3
วทคม๗๓๕ : เคโมเมตริกส์ 3
วทคม๗๓๖ : เคมีของสารละลาย 3
วทคม๗๓๗ : เคมีสิ่งแวดล้อม 3
วทคม๗๓๘ : หัวข้อเรื่องพิเศษทางเคมีวิเคราะห์ 3
วทคม๗๓๙ : หัวข้อที่เป็นปัจจุบันทางเคมีวิเคราะห์ ๑ 3
วทคม๗๔๐ : หัวข้อที่เป็นปัจจุบันทางเคมีวิเคราะห์ ๒ 3
วทคม๗๕๓ : การเร่งปฏิกิริยาเอกพันธุ์ 3
วทคม๗๕๔ : เคมีของโลหะแทรนซิชันอินทรีย์ 3
วทคม๗๕๕ : การเร่งปฏิกิริยาในพอลิเมอไรเซชันแบบเปิดวง 3
วทคม๗๕๖ : การเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ 3
วทคม๗๕๗ : เคมีของสถานะของแข็ง 3
วทคม๗๕๘ : การกระตุ้นโมเลกุลเล็ก 3
วทคม๗๕๙ : การเร่งปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันของโอเลฟิน 3
วทคม๗๖๐ : การแปรสภาพและการแยกผลิตภัณฑ์จากชีวมวล 3
วทคม๗๖๑ : การเร่งปฏิกิริยานาโน 3
วทคม๗๖๒ : หัวข้อเรื่องพิเศษในการเร่งปฏิกิริยา 3
วทคม๗๗๓ : โครงสร้างและพันธะเคมี 3
วทคม๗๗๔ : จลนพลศาสตร์เคมีและพลศาสตร์โมเลกุล 3
วทคม๗๗๕ : ฟิสิกส์เชิงเคมีแผนใหม่ 3
วทคม๗๗๖ : วิธีทางคณิตศาสตร์ 3
วทคม๗๗๗ : เทคโนโลยีพลังงานสะอาด 3
วทคม๗๗๘ : เทคนิคทางเคมีเชิงฟิสิกส์ 3
วทคม๗๗๙ : เคมีพื้นผิวและเคมีไฟฟ้าขั้นสูง 3
วทคม๗๘๐ : หัวข้อเรื่องพิเศษทางเคมีเชิงฟิสิกส์ 3
วทคม๗๘๑ : หัวข้อเรื่องพิเศษทางฟิสิกส์เชิงเคมี 3
วทคม๗๘๒ : สัมมนาทางเคมีเชิงฟิสิกส์และฟิสิกส์เชิงเคมี ๑ 1
วทคม๗๘๓ : สัมมนาในวิชาเคมีเชิงฟิสิกส์และฟิสิกส์เชิงเคมี ๒ 1
วทคม๗๘๔ : สัมมนาในวิชาเคมีเชิงฟิสิกส์และฟิสิกส์เชิงเคมี ๓ 1
วทคม๗๙๓ : พอลิเมอร์คอลลอยด์ 3
วทคม๗๙๔ : การพิสูจน์อัตลักษณ์พอลิเมอร์ 3
วทคม๗๙๕ : เทคนิคในวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ 2
วทคม๗๙๖ : วัสดุนาโน 3
วทคม๗๙๗ : หัวข้อเรื่องพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ 3
วทคม๗๙๘ : หัวข้อที่เป็นปัจจุบันทางวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท
วทคม๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี
วทคม๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48

อาจารย์ประจำหลักสูตร