เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   19   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะวิทยาศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.sc.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(คณิตศาสตร์)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

แบบ ๑	
(๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ซึ่งผ่านการศึกษาวิชาในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ในระดับปริญญาตรีมาแล้วไม่น้อยกว่า ๔๕ หน่วยกิต 
จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง มีประสบการณ์ในการทำวิจัย โดยจะต้องเป็นชื่อแรก
ในผลงานวิจัยอย่างน้อย ๑ เรื่อง และได้รับแต้มเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ 
(๒)  มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(๓) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของ
ประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

แบบ ๒
(๑) สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต หรือเทียบเท่า หรือปริญญาสาขาอื่นที่ผ่านการศึกษาวิชา ในสาขาวิชาคณิตศาสตร์มาแล้ว
ไม่น้อยกว่า ๔๕ หน่วยกิต จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง และได้รับแต้มเฉลี่ยสะสม
ตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ หรือ
(๒) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ซึ่งผ่านการศึกษาวิชาในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ในระดับปริญญาตรีมาแล้วไม่น้อยกว่า ๔๕ หน่วยกิต 
จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง และได้รับแต้มเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร
ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
(๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา
ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 12            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

๑ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคณิตศาสตร์
๒ นักวิจัยทางคณิตศาสตร์
๓ นักสถิติ
๔ นักวิจัยและพัฒนาในสถานประกอบการที่มีหน่วยงานวิจัยและพัฒนา
๕ ผู้ถ่ายทอดความรู้และวิจัยทางด้านคณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐหรือเอกชน
๖ นักวิเคราะห์ในสถานประกอบการทางด้านการเงิน การธนาคาร และตลาดหลักทรัพย์

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
วทคณ๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
วทคณ๖๑๕ : พีชคณิต 3
วทคณ๖๕๐ : การวิเคราะห์ขั้นสูง 3
วทคณ๖๗๐ : สมการเชิงอนุพันธ์ขั้นสูง 3
วทคณ๖๙๑ : ทักษะทั่วไปเพื่อการวิจัยทางคณิตศาสตร์ 1
วทคณ๖๙๒ : สัมมนาคณิตศาสตร์ ๑ 1
วทคณ๖๙๓ : สัมมนาคณิตศาสตร์ ๒ 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วทคณ๖๐๓ : ทฤษฎีของสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ 3
วทคณ๖๐๖ : ทอพอโลยี 3
วทคณ๖๐๗ : การวิเคราะห์เชิงฟังก์ชัน 3
วทคณ๖๐๙ : หัวข้อปัจจุบันในคณิตศาสตร์๑ 3
วทคณ๖๑๐ : การวิเคราะห์เชิงจริง 3
วทคณ๖๒๐ : การวิเคราะห์เชิงซ้อน 3
วทคณ๖๒๑ : ตัวแบบเชิงกำหนดทางการวิจัยการดำเนินการ 3
วทคณ๖๒๒ : ตัวแบบเชิงความน่าจะเป็นทางการวิจัยการดำเนินการ 3
วทคณ๖๒๓ : เทคนิคการหาค่าเหมาะที่สุด 3
วทคณ๖๒๕ : สมการเชิงอนุพันธ์ย่อย 3
วทคณ๖๒๘ : วิธีสมาชิกจํากัด 3
วทคณ๖๒๙ : หัวข้อปัจจุบันในคณิตศาสตร์การคณนา 3
วทคณ๖๓๑ : การวิเคราะห์การตัดสินใจ 3
วทคณ๖๓๓ : กระบวนการสโทแคสติก 3
วทคณ๖๓๙ : หัวข้อปัจจุบันทางคณิตศาสตร์เชิงสถิติ 3
วทคณ๖๔๐ : ทฤษฎีความน่าจะเป็น 3
วทคณ๖๔๓ : การวิเคราะห์อนุกรมเวลา 3
วทคณ๖๔๕ : ตัวแบบเชิงเส้นนัยทั่วไป 3
วทคณ๖๔๙ : หัวข้อปัจจุบันทางคณิตศาสตร์ ๒ 3
วทคณ๖๕๔ : การวิเคราะห์เชิงตัวเลข 3
วทคณ๖๕๕ : หัวข้อปัจจุบันทางฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ 3
วทคณ๖๗๓ : ระบบเชิงพลวัต 3
วทคณ๖๗๔ : แบบจําลองเชิงคณิตศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิต 3
วทคณ๖๗๗ : การทําเหมืองข้อมูล 3
วทคณ๖๘๘ : การอนุมานเชิงสถิติ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
วทคณ๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
วทคณ๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36

อาจารย์ประจำหลักสูตร