เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิชีววิทยา (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะวิทยาศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.sc.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(พยาธิชีววิทยา)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

แบบ  ๑
๑)  ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขาพยาธิชีววิทยา เภสัชศาสตร์  จุลชีววิทยา 
ชีววิทยา เทคนิคการแพทย์ หรือวิทยาศาสตร์ชีวภาพอื่นๆ จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง โดยได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
๒)  มีประสบการณ์ในการทำงานหรือวิจัย โดยมีผลงานตีพิมพ์ในวารสาร วิชาการระดับนานาชาติ หรือ
วารสารวิชาการระดับชาติที่มีระบบประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก โดยระบุชื่อนักศึกษา
เป็นผู้แต่งชื่อแรกหรือชื่อผู้รับผิดชอบหรือหากเป็นชื่อรองก็จะต้องมีสัดส่วนการมีส่วนร่วมในผลงาน
เท่ากับหรือไม่น้อยกว่าผู้แต่งที่เป็นชื่อแรกอย่างน้อย ๑ เรื่อง ภายใน ๕ ปี 
๓)  ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวอาจได้รับการพิจารณาให้สมัครรับการคัดเลือก
เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

แบบ  ๒
๑)  สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย
ในระดับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตทุกสาขาวิชา หรือวิทยาศาสตรบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือ แพทยศาสตรบัณฑิต สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต เภสัชศาสตรบัณฑิต ทันตแพทย
ศาสตรบัณฑิต และเทคนิคการแพทย์ จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
โดยได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๒๕ หรือ
๒) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิชีววิทยา เภสัชศาสตร์  จุลชีววิทยา 
ชีววิทยา  เทคนิคการแพทย์ หรือวิทยาศาสตร์ชีวภาพอื่นๆ จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง โดยได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
๓) ผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิชีววิทยา และมีความประสงค์ 
จะเปลี่ยนสถานภาพเป็นนักศึกษาปริญญาเอก  สามารถดำเนินการได้ แต่จะต้องศึกษารายวิชาของ
หลักสูตรปริญญาโทมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของจำนวนหน่วยกิตรายวิชาในหมวดวิชาบังคับใน
โครงสร้างหลักสูตร และต้องมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ โดยต้องได้รับอนุมัติจาก
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาโทที่กำลังศึกษา และคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาเอกที่
ประสงค์เข้าศึกษาและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวอาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้า
ศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร  และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๑
แบบ ๑.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
แบบ ๒
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 6            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 17            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 7            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

๑ นักวิชาการพยาธิชีววิทยาในสถานศึกษา 
๒ นักวิจัยทางด้านพยาธิชีววิทยา 
๓ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ 
๔ นักวิทยาศาสตร์
๕ นักวิชาการ

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท
วทพย๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี
วทคร๕๐๒ : วิทยาศาสตร์เรื่องเซลล์ 2
วทคร๕๐๓ : วิทยาศาสตร์ชีวภาพเชิงระบบ 3
วทคร๕๑๘ : ทักษะทั่วไปในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 1
วทพย๕๐๑ : พยาธิวิทยาทั่วไป 2
วทพย๕๐๒ : พยาธิวิทยาระบบ 2
วทพย๖๐๕ : พยาธิชีววิทยาที่จำเป็น 2
วทพย๖๑๐ : พยาธิวิทยาระดับเซลล์ 2
วทพย๖๑๓ : การเวียนศึกษางานวิจัยทางพยาธิชีววิทยา 1
วทพย๖๑๕ : สัมมนาทางพยาธิชีววิทยาขั้นสูง ๒ 1
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท
วทคร๕๐๒ : วิทยาศาสตร์เรื่องเซลล์ 2
วทพย๖๑๔ : สัมมนาทางพยาธิชีววิทยาขั้นสูง ๑ 1
วทพย๖๑๕ : สัมมนาทางพยาธิชีววิทยาขั้นสูง ๒ 1
วทพย๖๑๖ : งานวิจัยในปัจจุบันทางพยาธิชีววิทยา 2
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
บฑคร๖๐๓ : ชีวสถิติ 3
วทคร๕๐๐ : ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล 3
วทพย๖๐๓ : เทคนิคทางจุลพยาธิวิทยาสำหรับงานประจำและงานวิจัย 2
วทพย๖๐๔ : พยาธิวิทยาคลินิค 2
วทพย๖๐๖ : หัวข้อเรื่องที่เลือกสรรทางพยาธิชีววิทยา 2
วทพย๖๐๗ : พยาธิชีววิทยาและกลไกของมะเร็ง 2
วทพย๖๐๘ : พยาธิวิทยาโภชนาการ 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี
วทพย๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท
วทพย๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36