เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   19   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะวิทยาศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.sc.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(ชีวเคมี)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
(ทุกสาขาวิชา) หรือ เภสัชศาสตรบัณฑิต    ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต   สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต   และ
แพทยศาสตรบัณฑิต รวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากต่างประเทศในสาขาดังกล่าวหรือ
ใกล้เคียง 
๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า  ๒.๕๐ หรือเทียบเท่า
๓. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้า
ศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
วทคร๕๐๒ : วิทยาศาสตร์เรื่องเซลล์ 2
วทคร๕๐๖ : หลักการทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพระดับโมเลกุล 2
วทคร๕๐๘ : เทคนิคด้านชีวโมเลกุลและด้านสเปกโทรสโกปี 1
วทคร๕๐๙ : เทคนิคการแยกสาร 1
วทคร๕๑๑ : เทคโนโลยีด้านยีน 1
วทคร๕๑๘ : ทักษะทั่วไปในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 1
วทชค๖๐๔ : สัมมนาชีวเคมี 1
วทชค๖๐๖ : สัมมนาชีวเคมี ๒ 1
วทชค๖๐๙ : โครงสร้างและกลไกของเอนไซม์ 2
วทชค๖๑๐ : เมแทบอลิซึมสมัยใหม่ 2
วทชค๖๑๑ : วิธีวิจัยปัจจุบันทางชีวโมเลกุล 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วทคร๕๐๐ : ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล 3
วทคร๕๐๗ : เทคนิคการใช้กล้องจุลทรรศน์ 1
วทคร๕๑๐ : ระเบียบวิธีวิทยาภูมิคุ้มกัน 1
วทคร๕๑๒ : การสอบปริมาณการจับตัวรับและเอนไซม์เชิงจลน 1
วทชค๖๐๓ : ปฏิบัติการชีวเคมีขั้นสูง 2
วทชค๖๐๗ : หัวข้อปัจจุบันทางชีวเคมี 3
วทชค๖๑๒ : พันธุศาสตร์และจีโนมเชิงหน้าที่ 2
วทชค๖๑๗ : ชีวสารสนเทศและชีววิทยาระบบโมเลกุล 2
วทชค๖๑๘ : ชีววิทยาศาสตร์ของเซลล์ต้นกำเนิดและมะเร็ง 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
วทชค๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

อาจารย์ประจำหลักสูตร