เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   2   พฤษภาคม   พ.ศ. 2568

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะวิทยาศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.sc.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ชีวเคมี)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษา  หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนสุดท้ายในหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต
(ทุกสาขาวิชา) หรือ เภสัชศาสตรบัณฑิต    ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต   สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต และ
แพทยศาสตรบัณฑิต รวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากต่างประเทศ  โดยได้แต้มระดับคะแนน
เฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ หรือเทียบเท่า หรือ
๒. สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนสุดท้ายในหลักสูตรปริญญาโท  สาขาวิชาชีววิทยา 
ชีวเคมี ชีววิทยาระดับโมเลกุล  เคมี  วิทยาศาสตร์ชีวภาพ  วิทยาศาสตร์สุขภาพ  และ สาขาที่เกี่ยวข้อง 
โดยได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ 
๓. สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในหลักสูตรปริญญาโท  สาขาวิชาชีวเคมี และมีความประสงค์จะเปลี่ยน
สถานภาพเป็นนักศึกษาปริญญาเอก  สามารถดำเนินการได้แต่จะต้องศึกษารายวิชาของหลักสูตร
ปริญญาโทมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของจำนวนหน่วยกิตรายวิชาในหมวดวิชาบังคับ ในโครงสร้าง
หลักสูตร และต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ และได้เกรดในรายวิชา วทคร ๕๐๖   
หลักการทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพระดับโมเลกุล  ไม่ต่ำกว่า B+ โดยต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ
บริหารหลักสูตรปริญญาโทที่กำลังศึกษา คณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาเอกที่ประสงค์ เข้าศึกษา
และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
๔. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้า
ศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 19            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 5            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 6            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยด้านชีวเคมี ชีววิทยา ชีววิทยาระดับโมเลกุล หรือสาขาที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย หรือโครงการวิจัยต่างๆ
- อาจารย์ในสถาบันการศึกษา
- ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย นักวิเคราะห์ ในหน่วยงานเอกชน เช่น ในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิต การ ควบคุมคุณภาพ การวิเคราะห์ การขาย การให้คำแนะนำผลิตภัณฑ์ ในอุตสาหกรรมยา เครื่องสำอางค์ เคมี ภัณฑ์ เครื่องมือ และ อื่นๆ

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วทชค๖๑๗ : ชีวสารสนเทศและชีววิทยาระบบโมเลกุล 2
วทชค๖๑๘ : ชีววิทยาศาสตร์ของเซลล์ต้นกำเนิดและมะเร็ง 3

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
วทคร๕๐๒ : วิทยาศาสตร์เรื่องเซลล์ 2
วทคร๕๐๖ : หลักการทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพระดับโมเลกุล 2
วทคร๕๐๘ : เทคนิคด้านชีวโมเลกุลและด้านสเปกโทรสโกปี 1
วทคร๕๐๙ : เทคนิคการแยกสาร 1
วทคร๕๑๑ : เทคโนโลยีด้านยีน 1
วทคร๕๑๘ : ทักษะทั่วไปในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 1
วทชค๖๐๙ : โครงสร้างและกลไกของเอนไซม์ 2
วทชค๖๑๐ : เมแทบอลิซึมสมัยใหม่ 2
วทชค๖๑๑ : วิธีวิจัยปัจจุบันทางชีวโมเลกุล 1
วทชค๖๑๓ : ทักษะขั้นสูงในการวิจัยทางชีวเคมี 3
วทชค๖๑๔ : สัมมนาทางชีวเคมีขั้นสูง ๑ 1
วทชค๖๑๕ : สัมมนาชีวเคมีขั้นสูง ๒ 1
วทชค๖๑๖ : สัมมนาทางชีวเคมีขั้นสูง ๓ 1
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท
วทชค๖๑๓ : ทักษะขั้นสูงในการวิจัยทางชีวเคมี 3
วทชค๖๑๔ : สัมมนาทางชีวเคมีขั้นสูง ๑ 1
วทชค๖๑๕ : สัมมนาชีวเคมีขั้นสูง ๒ 1
วทชค๖๑๖ : สัมมนาทางชีวเคมีขั้นสูง ๓ 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วทคร๕๐๐ : ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล 3
วทคร๕๐๗ : เทคนิคการใช้กล้องจุลทรรศน์ 1
วทคร๕๑๐ : ระเบียบวิธีวิทยาภูมิคุ้มกัน 1
วทคร๕๑๒ : การสอบปริมาณการจับตัวรับและเอนไซม์เชิงจลน 1
วทชค๖๐๓ : ปฏิบัติการชีวเคมีขั้นสูง 2
วทชค๖๐๗ : หัวข้อปัจจุบันทางชีวเคมี 3
วทชค๖๑๒ : พันธุศาสตร์และจีโนมเชิงหน้าที่ 2
วทชค๖๑๗ : ชีวสารสนเทศและชีววิทยาระบบโมเลกุล 2
วทชค๖๑๘ : ชีววิทยาศาสตร์ของเซลล์ต้นกำเนิดและมะเร็ง 3
วททช๖๐๒ : การควบคุมการแสดงออกของยีน 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
วทชค๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
วทชค๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48

อาจารย์ประจำหลักสูตร