เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการคลินิก 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เว็บไซต์ http://www.si.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(วิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการคลินิก)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

แผน ก แบบ ก ๒  
(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ วิทยาศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาวิชาอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
กับห้องปฏิบัติการคลินิก จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
(๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(๔)ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของ
ประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

แผน ข
(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ วิทยาศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาวิชาอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
กับห้องปฏิบัติการคลินิก จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
(๓) มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการคลินิกไม่น้อยกว่า ๑ ปี
(๔) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(๕) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของ
ประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาบังคับ 17            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 7            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
แผน ข
หมวดวิชาบังคับ 17            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 13            หน่วยกิต
สารนิพนธ์ 6            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- หัวหน้าห้องปฏิบัติการคลินิก
- นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักวิชาการที่ต้องใช้ความรู้ทางด้านห้องปฏิบัติการคลินิกในการปฏิบัติงาน

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
ศรวค๕๐๑ : หลักการและการจัดการวิธีทดสอบและเครื่องมือทางห้องปฏิบัติการคลินิก 3
ศรวค๕๐๒ : พยาธิวิทยาคลินิกพื้นฐาน 2
ศรวค๕๐๓ : มาตรฐานห้องปฏิบัติการคลินิก 3
ศรวค๕๐๔ : สัมมนาทางวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการคลินิก 2
ศรวค๕๐๕ : คุณธรรมจริยธรรมทางห้องปฏิบัติการคลินิก 1
ศรวค๕๐๖ : ทักษะการจัดการสำหรับผู้บริหารห้องปฏิบัติการคลินิก 2
ศรวค๕๐๗ : งานประจำทางห้องปฏิบัติการคลินิกสู่งานวิจัย 2
ศรสว๕๐๒ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัย 2
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
ศรปร๕๑๑ : ปรสิตวิทยาทางการแพทย์ 2
ศรปร๕๑๒ : วิธีวินิจฉัยปรสิตวิทยาทางการแพทย์ 2
ศรปร๖๑๑ : กีฏวิทยานิติเวช 2
ศรพค๕๐๘ : พยาธิวิทยาคลินิก โลหิตวิทยา และจุลทรรศน์ศาสตร์ 3
ศรพค๕๐๙ : พยาธิวิทยาคลินิก เคมีคลินิก และระบบภูมิคุ้มกัน 3
ศรพค๕๑๐ : พยาธิวิทยาคลินิกระดับโมเลกุล 2
ศรพย๕๑๘ : พยาธิวิทยากายวิภาคทั่วไป 3
ศรพย๕๑๙ : เทคนิคทางศัลยพยาธิวิทยา 3
ศรพย๕๒๐ : วิทยาศาสตร์พยาธิวิทยากายวิภาค 3
ศรพย๕๒๑ : พยาธิวิทยาตามระบบ 2
ศรพย๕๒๒ : เทคนิคทางศัลยพยาธิวิทยาชั้นสูง 3
ศรพย๕๒๓ : การประยุกต์วิทยาศาสตร์พยาธิวิทยากายวิภาค 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
ศรวค๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

แผน ข

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
ศรวค๕๐๑ : หลักการและการจัดการวิธีทดสอบและเครื่องมือทางห้องปฏิบัติการคลินิก 3
ศรวค๕๐๒ : พยาธิวิทยาคลินิกพื้นฐาน 2
ศรวค๕๐๓ : มาตรฐานห้องปฏิบัติการคลินิก 3
ศรวค๕๐๔ : สัมมนาทางวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการคลินิก 2
ศรวค๕๐๕ : คุณธรรมจริยธรรมทางห้องปฏิบัติการคลินิก 1
ศรวค๕๐๖ : ทักษะการจัดการสำหรับผู้บริหารห้องปฏิบัติการคลินิก 2
ศรวค๕๐๗ : งานประจำทางห้องปฏิบัติการคลินิกสู่งานวิจัย 2
ศรสว๕๐๒ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัย 2
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
ศรปร๕๑๑ : ปรสิตวิทยาทางการแพทย์ 2
ศรปร๕๑๒ : วิธีวินิจฉัยปรสิตวิทยาทางการแพทย์ 2
ศรปร๖๑๑ : กีฏวิทยานิติเวช 2
ศรพค๕๐๘ : พยาธิวิทยาคลินิก โลหิตวิทยา และจุลทรรศน์ศาสตร์ 3
ศรพค๕๐๙ : พยาธิวิทยาคลินิก เคมีคลินิก และระบบภูมิคุ้มกัน 3
ศรพค๕๑๐ : พยาธิวิทยาคลินิกระดับโมเลกุล 2
ศรพย๕๑๘ : พยาธิวิทยากายวิภาคทั่วไป 3
ศรพย๕๑๙ : เทคนิคทางศัลยพยาธิวิทยา 3
ศรพย๕๒๐ : วิทยาศาสตร์พยาธิวิทยากายวิภาค 3
ศรพย๕๒๑ : พยาธิวิทยาตามระบบ 2
ศรพย๕๒๒ : เทคนิคทางศัลยพยาธิวิทยาชั้นสูง 3
ศรพย๕๒๓ : การประยุกต์วิทยาศาสตร์พยาธิวิทยากายวิภาค 3
สารนิพนธ์ หน่วยกิต
ศรวค๖๙๗ : สารนิพนธ์ 6

อาจารย์ประจำหลักสูตร

  1. รองศาสตราจารย์ พนัสยา เธียรธาดากุล   (รักษาการแทนประธานหลักสูตร)
  2. รองศาสตราจารย์ เกษม กุลแก้ว
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิเชษฐ์ รื่นจิตต์
  4. อาจารย์ จิตสุภา ตรีทิพย์สถิตย์
  5. รองศาสตราจารย์ นรวรรธน์ พวงวรินทร์
  6. ศาสตราจารย์ สัญญา สุขพณิชนันท์
  7. รองศาสตราจารย์ ชัยเจริญ ตันธเนศ
  8. รองศาสตราจารย์ ดาราวรรณ วนะชิวนาวิน
  9. รองศาสตราจารย์ ตุ้มทิพย์ แสงรุจิ
  10. รองศาสตราจารย์ เตือนใจ ช่วงสุวนิช
  11. รองศาสตราจารย์ นิศารัตน์ โอภาสเกียรติกุล
  12. รองศาสตราจารย์ บุณยฤทธิ์ ชื่นสุชน
  13. รองศาสตราจารย์ บุษฎี ประทุมวินิจ
  14. รองศาสตราจารย์ มงคล อุยประเสริฐกุล
  15. ศาสตราจารย์ สิริจิต วงศ์กำชัย
  16. รองศาสตราจารย์ สุภัทรา เตียวเจริญ
  17. ศาสตราจารย์ อัญชลี ตั้งตรงจิตร
  18. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กาญจนา อมรพิเชษฐ์กูล
  19. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณิต ริสุขุมาล
  20. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จันทิมา แทนบุญ
  21. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จารุดา กอบกิจเจริญ
  22. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณัฐ มาลัยนวล
  23. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ถิรพล บุญญาอรุณเนตร
  24. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธวัชชัย พงศ์พฤฒิพันธ์
  25. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นรเศรษฐ์ สมานไทย
  26. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปรีชญา วงษ์กระจ่าง
  27. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรสุข ชื่นสุชน
  28. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รุจิรา เรืองจิระอุไร
  29. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิมล ชินสว่างวัฒนกุล
  30. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุชานัน หาญอมรรุ่งเรือง
  31. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุดารัตน์ ปิโยพีระพงศ์
  32. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปิยะวดี เล็กศรีสกุล
  33. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พนิตตา สิทธินามสุวรรณ
  34. รองศาสตราจารย์ อนัญญา พงษ์ไพบูลย์
  35. อาจารย์ คณาพร ปราชญ์นิวัฒน์
  36. อาจารย์ คมกริช จ่างแก้ว
  37. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พัชรพร เตชะสินธุ์ธนา สาระสมบัติ
  38. อาจารย์ มนต์รัตน์ จุลเนตร
  39. อาจารย์ มาลี วรรณิสสร
  40. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ลดาวัลย์ โควาวิเศษสุต
  41. อาจารย์ สรนาท เมืองสมบูรณ์
  42. ศาสตราจารย์ ธนวรรณ กุมมาลือ
  43. รองศาสตราจารย์ นิลรัตน์ วรรณศิลป์