เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   10   พฤษภาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสรีรวิทยาการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เว็บไซต์ http://www.si.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(สรีรวิทยาการแพทย์)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑.  แบบ ๑ ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว
          แบบ ๑.๑ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
           (๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโท สาขาสรีรวิทยา สรีรวิทยาการแพทย์ วิทยาศาสตร์
สุขภาพหรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการ
การอุดมศึกษารับรอง  
           (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ 
           (๓) มีผลการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ อย่างน้อย ๑ เรื่อง  
มีระบบประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก (international peer-reviewed journal) หรือ
สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการอื่นๆ ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรือได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์เผยแพร่ระดับ
นานาชาติ ทั้งนี้ต้องปรากฏชื่อเป็นชื่อแรกและ/หรือ corresponding author ในผลงาน 
            (๔) ต้องมีผลสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด  
            (๕) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น  อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับ
การคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย	

๒.  แบบ ๒ ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
     แบบ ๒.๑ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
	(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโท  สาขาวิชาสรีรวิทยา สรีรวิทยาการแพทย์ 
วิทยาศาสตร์สุขภาพหรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องหรือเทียบเท่า จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
	(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ 
	(๓) ต้องมีผลสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด  
 	(๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว  อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการ
คัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
      แบบ ๒.๒ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
	(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี  สาขาวิชาแพทยศาสตร์  ทันตแพทยศาสตร์  
สัตวแพทยศาสตร์  เภสัชศาสตร์  วิทยาศาสตร์  กายภาพบำบัด พยาบาลศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ หรือ
สาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเทียบเท่า จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
รับรอง   
	(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ 
	(๓)  ต้องมีผลสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด  
 	(๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว  อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการ
คัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๑
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ ไม่นับหน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒
สำหรับผู้จบปริญญาโท สาขาสรีรวิทยา สาขาสรีรวิทยาการแพทย์
หมวดวิชาบังคับ 6            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาอื่น ๆ
หมวดวิชาบังคับ 14            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 4            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 54            หน่วยกิต
แบบ ๒
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 17            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 7            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยาการแพทย์ในระดับอุดมศึกษา
- นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- นักวิทยาศาสตร์ในงานวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับสุขภาพ

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
ศรสร๖๐๑ : สัมมนาทางสรีรวิทยาการแพทย์ ๑ 1
ศรสร๖๐๒ : สัมมนาทางสรีรวิทยาการแพทย์ ๒ 1
ศรสร๖๐๙ : ทักษะขั้นสูงในการวิจัยสรีรวิทยาการแพทย์ 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
ศรสร๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
วทคร๕๐๐ : ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล 3
ศรคร๕๐๑ : ชีวเวชศาสตร์พื้นฐานระดับโมเลกุลและเซลล์ 3
ศรสร๕๐๙ : สรีรวิทยาทางการแพทย์ ๑ 3
ศรสร๕๑๐ : สรีรวิทยาทางการแพทย์ ๒ 3
ศรสร๕๒๒ : หลักของการทดลองทางสรีรวิทยา 2
ศรสร๖๐๑ : สัมมนาทางสรีรวิทยาการแพทย์ ๑ 1
ศรสร๖๐๒ : สัมมนาทางสรีรวิทยาการแพทย์ ๒ 1
ศรสร๖๐๘ : สรีรวิทยาการแพทย์ร่วมสมัย 2
ศรสร๖๐๙ : ทักษะขั้นสูงในการวิจัยสรีรวิทยาการแพทย์ 2
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท สาขาอื่นๆ
ศรสร๕๐๙ : สรีรวิทยาทางการแพทย์ ๑ 3
ศรสร๕๑๐ : สรีรวิทยาทางการแพทย์ ๒ 3
ศรสร๕๒๒ : หลักของการทดลองทางสรีรวิทยา 2
ศรสร๖๐๑ : สัมมนาทางสรีรวิทยาการแพทย์ ๑ 1
ศรสร๖๐๒ : สัมมนาทางสรีรวิทยาการแพทย์ ๒ 1
ศรสร๖๐๘ : สรีรวิทยาการแพทย์ร่วมสมัย 2
ศรสร๖๐๙ : ทักษะขั้นสูงในการวิจัยสรีรวิทยาการแพทย์ 2
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาสรีรวิทยา หรือสรีรวิทยาการแพทย์
ศรสร๖๐๑ : สัมมนาทางสรีรวิทยาการแพทย์ ๑ 1
ศรสร๖๐๒ : สัมมนาทางสรีรวิทยาการแพทย์ ๒ 1
ศรสร๖๐๘ : สรีรวิทยาการแพทย์ร่วมสมัย 2
ศรสร๖๐๙ : ทักษะขั้นสูงในการวิจัยสรีรวิทยาการแพทย์ 2
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
ศรกอ๕๐๗ : สรีรวิทยาของการออกกำลังกาย 3
ศรกอ๕๐๘ : สรีรวิทยาประยุกต์ของการออกกำลังกาย 3
ศรชค๖๐๓ : ชีวเคมีของโรค 2
ศรปส๕๐๑ : ประสาทวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์พื้นฐาน 4
ศรวภ๕๐๑ : วิทยาภูมิคุ้มกัน 2
ศรวภ๖๑๘ : เทคนิคทางชีววิทยาระดับโมเลกุล 3
ศรสร๕๑๘ : หัวข้อเรื่องปัจจุบันทางสรีรวิทยาการแพทย์และชีวฟิสิกส์ 2
ศรสร๕๑๙ : แบบอย่างการเรียนรู้และการเรียนรู้อาศัยสมอง 2
ศรสร๕๒๑ : ชีวเคมีเชิงสรีรวิทยา 2
ศรสร๕๒๗ : วิธีปฏิบัติการชีววิทยาระดับโมเลกุล 2
ศรสร๕๕๒ : สรีรวิทยามนุษย์ประยุกต์ 2
ศรสร๖๐๓ : ประสาทวิทยาศาสตร์เชิงพฤติกรรม 2
ศรสร๖๐๔ : สรีรวิทยาของช่องไอออน 2
ศรสร๖๐๖ : สรีรวิทยาระบบหายใจขั้นสูง 2
ศรสร๖๐๗ : พยาธิสรีรวิทยาระดับเซลล์ 2
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท สาขาอื่นๆ
วทคร๕๐๐ : ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล 3
ศรกอ๕๐๗ : สรีรวิทยาของการออกกำลังกาย 3
ศรกอ๕๐๘ : สรีรวิทยาประยุกต์ของการออกกำลังกาย 3
ศรคร๕๐๑ : ชีวเวชศาสตร์พื้นฐานระดับโมเลกุลและเซลล์ 3
ศรชค๖๐๓ : ชีวเคมีของโรค 2
ศรปส๕๐๑ : ประสาทวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์พื้นฐาน 4
ศรวภ๕๐๑ : วิทยาภูมิคุ้มกัน 2
ศรวภ๖๑๘ : เทคนิคทางชีววิทยาระดับโมเลกุล 3
ศรสร๕๑๘ : หัวข้อเรื่องปัจจุบันทางสรีรวิทยาการแพทย์และชีวฟิสิกส์ 2
ศรสร๕๑๙ : แบบอย่างการเรียนรู้และการเรียนรู้อาศัยสมอง 2
ศรสร๕๒๑ : ชีวเคมีเชิงสรีรวิทยา 2
ศรสร๕๒๗ : วิธีปฏิบัติการชีววิทยาระดับโมเลกุล 2
ศรสร๕๕๒ : สรีรวิทยามนุษย์ประยุกต์ 2
ศรสร๖๐๓ : ประสาทวิทยาศาสตร์เชิงพฤติกรรม 2
ศรสร๖๐๔ : สรีรวิทยาของช่องไอออน 2
ศรสร๖๐๖ : สรีรวิทยาระบบหายใจขั้นสูง 2
ศรสร๖๐๗ : พยาธิสรีรวิทยาระดับเซลล์ 2
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาสรีรวิทยา หรือสรีรวิทยาการแพทย์
ศรกอ๕๐๗ : สรีรวิทยาของการออกกำลังกาย 3
ศรกอ๕๐๘ : สรีรวิทยาประยุกต์ของการออกกำลังกาย 3
ศรชค๖๐๓ : ชีวเคมีของโรค 2
ศรปส๕๐๑ : ประสาทวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์พื้นฐาน 4
ศรวภ๕๐๑ : วิทยาภูมิคุ้มกัน 2
ศรวภ๖๑๘ : เทคนิคทางชีววิทยาระดับโมเลกุล 3
ศรสร๕๑๘ : หัวข้อเรื่องปัจจุบันทางสรีรวิทยาการแพทย์และชีวฟิสิกส์ 2
ศรสร๕๑๙ : แบบอย่างการเรียนรู้และการเรียนรู้อาศัยสมอง 2
ศรสร๕๒๑ : ชีวเคมีเชิงสรีรวิทยา 2
ศรสร๕๒๗ : วิธีปฏิบัติการชีววิทยาระดับโมเลกุล 2
ศรสร๕๕๒ : สรีรวิทยามนุษย์ประยุกต์ 2
ศรสร๖๐๓ : ประสาทวิทยาศาสตร์เชิงพฤติกรรม 2
ศรสร๖๐๔ : สรีรวิทยาของช่องไอออน 2
ศรสร๖๐๖ : สรีรวิทยาระบบหายใจขั้นสูง 2
ศรสร๖๐๗ : พยาธิสรีรวิทยาระดับเซลล์ 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
ศรสร๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท สาขาอื่นๆ
ศรสร๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาสรีรวิทยา หรือสรีรวิทยาการแพทย์
ศรสร๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36

อาจารย์ประจำหลักสูตร