เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   26   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยาการแพทย์และโมเลกุล (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เว็บไซต์ http://www.si.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(จุลชีววิทยาการแพทย์และโมเลกุล)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแบบ ๑
(๑) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
(๑.๑) เป็นนักศึกษาไทยหรือต่างประเทศที่ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ จาก ๔ หรือเทียบเท่า
(๑.๒) เป็นแพทย์ผู้จบวุฒิบัตรหรืออนุมัติบัตร สาขาวิชาพยาธิวิทยาคลินิก หรือ  วุฒิบัตรสาขาโรคติดเชื้อ หรือ
(๑.๓) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาที่เกี่ยวข้องกับจุลชีววิทยาจากสถาบันที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง 
หรือสาขาที่ประธานหลักสูตรเห็นสมควร และ/หรือมีประสบการณ์การทำงานด้านจุลชีววิทยาอย่างน้อย ๕ ปี และเป็นชื่อแรกหรือผู้รับผิดชอบ
ผลงานที่ตีพิมพ์ (correspondence author) ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติที่มีผู้ประเมินอย่างน้อย ๑ เรื่องซึ่งมิใช่วิทยานิพนธ์
(๑.๔) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
(๑.๕) ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีประสบการณ์ด้านจุลชีววิทยาซึ่งอยู่ในเกณฑ์นอกเหนือ จากที่กล่าวนี้อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

(๒) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
(๒.๑) เป็นนักศึกษาไทยหรือต่างประเทศที่ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๓.๒๕ จาก ๔ หรือเทียบเท่า
(๒.๒) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีโดยได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต  สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต  ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต 
เภสัชศาสตรบัณฑิต และ ได้รับวุฒิบัตรแพทย์ประจำบ้าน สัตวแพทย์ประจำบ้าน ทันตแพทย์ประจำบ้าน หรือ เภสัชประจำบ้าน จากสถาบันอุดมศึกษา
ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรองหรือในสาขาวิชาที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตร เห็นสมควร 
(๒.๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย                               
(๒.๔) ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีประสบการณ์ด้านจุลชีววิทยาซึ่งอยู่ในเกณฑ์นอกเหนือ จากที่กล่าวนี้อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแบบ ๒
(๑) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
(๑.๑) เป็นนักศึกษาไทยหรือต่างประเทศที่แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ จาก ๔ หรือเทียบเท่า ผู้ที่ได้แต้มระดับคะแนน
เฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรต่ำกว่า ๓.๕๐ ต้องอยู่ในดุลยพินิจของประธานหลักสูตร
(๑.๒) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท โดยได้รับปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาจุลชีววิทยา จากสถาบันอุดมศึกษา
ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง หรือได้รับปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต หรือเทียบเท่าในสาขาวิชาอื่นที่
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นสมควร หรือ
(๑.๓) เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายในระดับปริญญาโท ที่จะจบการศึกษาในข้อ (๒.๒) และมีหนังสือรับรองจากสถาบันศึกษา
(๑.๔)  ผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
(๑.๕)  ผู้สมัครเข้าศึกษาซึ่งอยู่ในเกณฑ์นอกเหนือจากที่กล่าวนี้ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจ
ของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

(๒) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
(๒.๑) เป็นนักศึกษาไทยหรือต่างประเทศที่ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ จาก ๔ หรือเทียบเท่า 
ผู้ที่ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า ๓.๕๐  ต้องอยู่ในดุลยพินิจของประธานหลักสูตร
(๒.๒) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาต่างๆ ได้แก่ สาขาจุลชีววิทยา ชีววิทยา ชีวเคมี พฤกษศาสตร์ พันธุศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคนิคการแพทย์ เภสัชศาสตรบัณฑิต 
ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต แพทยศาสตรบัณฑิต จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง  
หรือในสาขาวิชาที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นสมควร หรือ
(๒.๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนด
(๒.๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของ
ประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๑.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
แบบ ๑.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
วิทยานิพนธ์ 72            หน่วยกิต
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 6            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 16            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 8            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ หัวหน้าโครงการวิจัยที่ต้องใช้ความรู้ทางด้านจุลชีววิทยาการแพทย์และโมเลกุลในการปฏิบัติงาน
- ผู้จัดการ หรือหัวหน้าห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับเชื้อก่อโรค
- ผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยาการแพทย์และโมเลกุล
- อาชีพอื่นๆที่ต้องใช้ความรู้ทางจุลชีววิทยา เช่น นักวิเคราะห์โครงงานวิจัย เป็นต้น

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
ศรจว๘๙๙ : วิทยานิพนธ์ 72
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
ศรจว๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48

แบบ 2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
ศรคร๕๐๑ : ชีวเวชศาสตร์พื้นฐานระดับโมเลกุลและเซลล์ 3
ศรจว๕๐๑ : หลักวิทยาแบคทีเรียและราทางการแพทย์ 2
ศรจว๕๐๒ : หลักวิทยาไวรัสทางการแพทย์ 1
ศรจว๕๐๓ : จุลชีพก่อโรค 1
ศรวภ๕๐๑ : วิทยาภูมิคุ้มกัน 2
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
ศรจว๕๐๑ : หลักวิทยาแบคทีเรียและราทางการแพทย์ 2
ศรจว๕๐๒ : หลักวิทยาไวรัสทางการแพทย์ 1
ศรจว๕๐๓ : จุลชีพก่อโรค 1
ศรจว๖๐๗ : จุลชีววิทยาทางการแพทย์ขั้นสูง 3
ศรจว๖๐๘ : การประเมินเชิงวิพากษ์และการประยุกต์งานวิจัยทางจุลชีววิทยาการแพทย์ 3
ศรจว๖๑๑ : เทคนิคระดับโมเลกุลด้านจุลชีววิทยาการแพทย์ 3
ศรจว๖๙๐ : สัมมนาดุษฎีบัณฑิตทางจุลชีววิทยาและโมเลกุลทางการแพทย์ 3
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
ศรจว๖๐๘ : การประเมินเชิงวิพากษ์และการประยุกต์งานวิจัยทางจุลชีววิทยาการแพทย์ 3
ศรจว๖๙๐ : สัมมนาดุษฎีบัณฑิตทางจุลชีววิทยาและโมเลกุลทางการแพทย์ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
ศรคร๕๐๑ : ชีวเวชศาสตร์พื้นฐานระดับโมเลกุลและเซลล์ 3
ศรคร๕๐๓ : ระเบียบวิธีวิจัยทางชีวการแพทย์ 2
ศรคร๕๐๕ : สถิติสำหรับชีวการแพทย์ 2
ศรจว๕๐๔ : ระเบียบวิธีวิจัยในจุลชีววิทยาวินิจฉัย 1
ศรจว๕๑๐ : พยาธิกำเนิดของโรคติดเชื้อ 2
ศรจว๕๑๔ : เอช ไอ วี/เอดส์ : วิทยาไวรัสระดับโมเลกุล วิทยาภูมิคุ้มกัน และชีววิทยาระดับเซลล์ 3
ศรจว๖๐๙ : จุลชีววิทยาวินิจฉัยขั้นสูง 3
ศรจว๖๑๖ : จุลชีววิทยาวินิจฉัย 3
ศรจว๖๑๘ : เทคนิคระดับโมเลกุลขั้นสูงทางจุลชีววิทยาการแพทย์ 3
ศรจว๖๑๙ : วิทยาศาสตร์วัคซีน 2
ศรจว๖๒๐ : จุลชีววิทยาวินิจฉัยทางโมเลกุล 2
ศรจว๖๒๑ : ความสัมพันธ์ทางคลินิกทางจุลชีววิทยาวินิจฉัย 3
ศรวภ๕๐๑ : วิทยาภูมิคุ้มกัน 2
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
ศรจว๕๑๔ : เอช ไอ วี/เอดส์ : วิทยาไวรัสระดับโมเลกุล วิทยาภูมิคุ้มกัน และชีววิทยาระดับเซลล์ 3
ศรจว๖๑๖ : จุลชีววิทยาวินิจฉัย 3
ศรจว๖๑๘ : เทคนิคระดับโมเลกุลขั้นสูงทางจุลชีววิทยาการแพทย์ 3
ศรจว๖๑๙ : วิทยาศาสตร์วัคซีน 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
ศรจว๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
ศรจว๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36

อาจารย์ประจำหลักสูตร