ผู้สนใจเข้าศึกษา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก
ระดับ | ปริญญาโท |
คณะ/สถาบัน | คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล |
เว็บไซต์ |
http://www.si.mahidol.ac.th |
ข้อมูลทั่วไป
เกี่ยวกับหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
รายวิชาในหลักสูตร
ข้อมูลเกี่ยวกับ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อปริญญา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(จิตวิทยาคลินิก)
จุดเด่นของหลักสูตร
บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรมีศักยภาพสูง เป็นที่ต้องการของหน่วยงานสุขภาพจิตทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน
คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา
๑.เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษา ในระดับปริญญาตรีเป็นอย่างต่ำ จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง โดยต้องสำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาจิตวิทยา หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องโดยศึกษารายวิชาจิตวิทยามาแล้วอย่างน้อย ๙ หน่วยกิต ๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ หรือเทียบเท่า ๓. ในกรณีที่ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า ๒.๕๐ จะต้องมีประสบการณ์การทำงานด้านจิตวิทยามาแล้วเป็นเวลาอย่างน้อย ๑ ปี โดยมีหนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชา หรือหลักฐานมาแสดง ๔. มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ๕. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากข้อ ๒ ถึงข้อ ๔ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก๒ | |||
หมวดวิชาบังคับ | 25 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 3 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 12 | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | 40 | หน่วยกิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักจิตวิทยาคลินิกให้บริการด้านสุขภาพจิตในหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชน
- นักวิชาการด้านจิตวิทยาในสังกัดหน่วยงานด้านสุขภาพจิตทั้งภาครัฐ และเอกชน
- นักวิจัยด้านสุขภาพจิตและพฤติกรรมศาสตร์
- บุคลากรด้านสุขภาพจิต ได้แก่ วิทยากร เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมด้านสุขภาพจิต เป็นต้น
รายวิชาในหลักสูตร
แผน ก แบบ ก2
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต | ||
ศรจค๖๐๑ : พื้นฐานทางชีววิทยาของพฤติกรรมมนุษย์ | 2 | ||
ศรจค๖๐๔ : จิตบำบัด | 3 | ||
ศรจค๖๐๗ : จิตพยาธิสภาพขั้นสูง | 2 | ||
ศรจค๖๑๐ : การตรวจประเมินทางจิตวิทยาคลินิกเด็กขั้นสูง | 3 | ||
ศรจค๖๑๑ : การตรวจประเมินทางจิตวิทยาคลินิกผู้ใหญ่ขั้นสูง | 3 | ||
ศรจค๖๓๖ : จริยธรรมวิชาชีพ | 2 | ||
ศรจค๖๔๑ : สัมมนาทางจิตวิทยาคลินิก | 2 | ||
ศรจค๖๔๔ : การฝึกงานขั้นพื้นฐาน | 3 | ||
ศรจค๖๔๕ : การฝึกงานขั้นสูง | 3 | ||
ศรจค๖๔๘ : สถิติและการวิจัยทางจิตวิทยา | 2 | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต | ||
ศรจค๖๑๖ : สุขภาพจิตชุมชนขั้นสูง | 3 | ||
ศรจค๖๓๑ : จิตวิทยาการศึกษาขั้นสูง | 3 | ||
ศรจค๖๔๖ : การตรวจประเมินและวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก | 3 | ||
ศรจค๖๔๗ : จิตวิทยาเกี่ยวกับการเสพติด | 3 | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต | ||
ศรจค๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ | 12 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณัชพล อ่วมประดิษฐ์ (ประธานหลักสูตร)
- รองศาสตราจารย์ สุดสบาย จุลกทัพพะ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุภโชค สิงหกันต์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรภัทร รัตอาภา
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนยศ สุมาลย์โรจน์
- รองศาสตราจารย์ กมลเนตร วรรณเสวก
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สร้อยสุดา อิ่มอรุณรักษ์
- อาจารย์ รุ่งอรุณ อนุพันธ์สืบสาย
- รองศาสตราจารย์ กอบหทัย สิทธิรณฤทธิ์
- รองศาสตราจารย์ สิรินัดดา ปัญญาภาส
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปเนต ผู้กฤตยาคามี
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กมลพร วรรณฤทธิ์
- รองศาสตราจารย์ ฑิฆัมพร หอสิริ