เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เว็บไซต์ http://www.si.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

แบบ ๑.๑ สำหรับผู้จบปริญญาโท
(๑) สำเร็จการศึกษาหรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในระดับ ปริญญาโท
ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ทุกสาขาวิชา) ทันตแพทยศาสตร
มหาบัณฑิต  สัตวแพทยศาสตรมหาบัณฑิต เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันการศึกษาในประเทศ
หรือต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง 
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ (หรือเทียบเท่า)
(๓)  มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติก่อนเข้าศึกษารวม ๒ ฉบับในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา โดย ๑ ฉบับ 
เป็นผู้นิพนธ์ชื่อแรก หรือผู้นิพนธ์หลัก 
(๔) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
(๕) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น  อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้า
ศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแบบ ๒
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้จบปริญญาโท
(๑) เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษา หรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในระดับ
ปริญญาโทหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ทุกสาขาวิชา)  ทันตแพทยศาสตรมหาบัณฑิต 
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต  สัตวแพทยศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่าง
ประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง 
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ (หรือเทียบเท่า)
(๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
(๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น  อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้า
ศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

แบบ ๒.๒ สำหรับผู้จบปริญญาตรี 
(๑) สำเร็จการศึกษา หรือคาดว่าจะสำเร็จก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในระดับปริญญาตรี หลักสูตร
วิทยาศาสตรบัณฑิต (ทุกสาขาวิชา) ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต แพทยศาสตรบัณฑิต  เภสัชศาสตรบัณฑิต
สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต จากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการ
การอุดมศึกษาให้การรับรอง
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ (หรือเทียบเท่า) 
(๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
(๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้า
ศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๑
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 7            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 5            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิชาการ นักวิจัย รวมถึงนักวิทยาศาสตร์ ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ ชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์
- หัวหน้าห้องปฏิบัติการทางด้านชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ และ/หรือ ห้องปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่รองรับเทคโนโลยีขั้นสูง

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
ศรชช๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
ศรคร๕๐๑ : ชีวเวชศาสตร์พื้นฐานระดับโมเลกุลและเซลล์ 3
ศรชช๕๐๑ : ชีวพลังงานและเมแทบอลิซึม 2
ศรชช๕๐๒ : วิถีการส่งสัญญาณของเซลล์และการแสดงออกของยีน 2
ศรชช๕๘๕ : สัมมนาระดับปริญญาเอกและการวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ทางการวิจัยชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ ๑ 1
ศรชช๖๐๑ : ชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ร่วมสมัย 3
ศรชช๖๐๒ : ชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ของระบบเลือด 1
ศรชช๖๐๔ : ทักษะขั้นสูงในการออกแบบการวิจัยด้านชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ 2
ศรชช๖๐๕ : การวิจัยทางด้านชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ขั้นสูง 3
ศรชช๖๘๕ : สัมมนาระดับปริญญาเอกและการวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ทางการวิจัยชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ ๒ 1
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
ศรชช๕๘๕ : สัมมนาระดับปริญญาเอกและการวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ทางการวิจัยชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ ๑ 1
ศรชช๖๐๔ : ทักษะขั้นสูงในการออกแบบการวิจัยด้านชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ 2
ศรชช๖๐๕ : การวิจัยทางด้านชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ขั้นสูง 3
ศรชช๖๘๕ : สัมมนาระดับปริญญาเอกและการวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ทางการวิจัยชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ ๒ 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
บฑคร๖๐๓ : ชีวสถิติ 3
วทคร๕๑๑ : เทคโนโลยีด้านยีน 1
วทคร๕๑๓ : เทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ 1
ศรชช๕๐๕ : เทคนิคห้องปฏิบัติการ 2
ศรชช๕๑๒ : ปฏิบัติการชีวเคมี 3
ศรชช๖๐๓ : ชีวเคมีของโรค 2
ศรชช๖๐๗ : หัวข้อทางชีวเคมีทางการแพทย์ขั้นสูง 3
ศรชช๖๐๘ : หัวข้อทางชีววิทยาโมเลกุลขั้นสูง 2
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
บฑคร๖๐๓ : ชีวสถิติ 3
วทคร๕๑๑ : เทคโนโลยีด้านยีน 1
วทคร๕๑๓ : เทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ 1
ศรชช๕๐๕ : เทคนิคห้องปฏิบัติการ 2
ศรชช๕๑๒ : ปฏิบัติการชีวเคมี 3
ศรชช๖๐๓ : ชีวเคมีของโรค 2
ศรชช๖๐๗ : หัวข้อทางชีวเคมีทางการแพทย์ขั้นสูง 3
ศรชช๖๐๘ : หัวข้อทางชีววิทยาโมเลกุลขั้นสูง 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
ศรชช๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
ศรชช๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36

อาจารย์ประจำหลักสูตร