เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   26   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


 กำหนดการรับสมัคร:     รอบที่ 6 :     01 สิงหาคม 2561 - 16 ตุลาคม 2561

รหัสหลักสูตร 7703MG00

MASTER OF ARTS PROGRAM IN HUMAN RIGHTS AND PEACE STUDIES

หลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา

วิชาเอก -
ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
เว็บไซต์ http://www.ihrp.mahidol.ac.th/
จำนวนที่คาดว่าจะได้รับตลอดปีการศึกษา จำนวน 20 คน

1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

1. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี โดยมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือเทียบเท่า

2. ผู้สมัครจะต้องส่งหัวข้อ Proposal /Concept paper คือ ข้อเขียนเชิงแนวคิด ในประเด็นที่ผู้สมัครสนใจจะจัดทำเป็นวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ ความยาวประมาณ 4–5 หน้า ส่งมาที่ :  ihrp.mu.program@gmail.com    

3. ผู้มีประสบการณ์การทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ 

4. ผู้สมัครจะต้องยื่นหนังสือรับรองหรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน  2  ปี นับถึงวันที่สมัคร)  คือ

  • IELTS     ที่ระดับ  3  คะแนนขึ้นไป  หรือ
  • TOEFL INTERNET BASED     ที่ระดับ  32  คะแนนขึ้นไป  หรือ
  • TOEFL ITP (เฉพาะที่จัดสอบโดยบัณฑิตวิทยาลัย)     ที่ระดับ  400  คะแนนขึ้นไป  หรือ
  • MU GRAD TEST (Computer-based)  ที่ระดับ  36  คะแนนขึ้นไป

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากประกาศ เรื่องมาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษฯ ที่ : www.grad.mahidol.ac.th

หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษที่งานศูนย์ภาษา  บัณฑิตวิทยาลัย    โทร :  0-2441-4125  ต่อ  221-222

5. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น อาจให้สมัครเข้าศึกษาได้ตามดุลยพินิจของ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

2. กำหนดการสอบคัดเลือก

กำหนดการสอบข้อเขียน
วันเสาร์ 3 พฤศจิกายน 2561
เวลา:9.00 - 12.00 น.
สถานที่:ประกาศสถานที่สอบข้อเขียน วันอังคาร 30 ตุลาคม 2561 ที่ www.grad.mahidol.ac.th
 มี  การสอบข้อเขียน โดยมีรายละเอียดดังนี้
- วิชาสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา

3. หลักฐานการสมัคร

ผู้สมัครต้องสแกนเอกสาร โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์หรืออุปกรณ์ที่รองรับการสแกนเอกสารเป็นไฟล์ PDF เท่านั้น (ยกเว้นเฉพาะรูปถ่ายให้เป็นไฟล์ JPEG)

 

  1. หนังสือรับรองหรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่สมัคร)
  2. หลักฐานแสดงคุณวุฒิการศึกษา (ปริญญาบัตร / หนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษาว่ากำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาสุดท้ายหรืออยู่ระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ (โดยมีกำหนดที่จะสำเร็จการศึกษา ภายในปีการศึกษา 2560)
  3. หลักฐานแสดงผลการศึกษา (Academic Transcript / Grade Report) ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  4. รูปถ่าย ขนาดไฟล์ไม่เกิน 2MB  (รูปหน้าตรง ชุดสุภาพไม่สวมแว่นตาดำหรือหมวก ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน)
  5. บัตรประจำตัวประชาชน
  6. ทะเบียนบ้าน
  7. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล / ทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
  8. หลักฐานอื่น ๆ ที่แต่ละหลักสูตรสาขาวิชาต้องการและระบุ เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สำเนาใบประกอบวิชาชีพ หนังสืออนุมัติจากต้นสังกัด เป็นต้น

 

การส่งไฟล์ (Upload) เอกสารหลักฐานประกอบการสมัคร ผู้สมัครจะต้องส่งไฟล์เอกสารหลักฐานต่างๆ ตามที่แต่ละหลักสูตรสาขาวิชาต้องการหรือระบุไว้ ผู้สมัครอาจสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาได้มากกว่า 1 หลักสูตรสาขาวิชา ดังนั้นผู้สมัครจะต้องยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการสมัครทุกครั้งที่สมัคร และ/หรือตามจำนวนหลักสูตรสาขาวิชาที่สมัคร

 
 
 

4. วิธีการรับสมัคร

สมัครผ่านระบบ Online Admission ที่ www.grad.mahidol.ac.th
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ ขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษา

5. โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
มสสส๕๐๐ : แนวคิดและหลักการสิทธิมนุษยชน 3
มสสส๕๐๒ : มาตรฐานและกลไกสิทธิมนุษยชน 3
มสสส๕๐๔ : วิธีวิจัยด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ 3
มสสส๕๒๑ : ปรัชญาสันติภาพและทฤษฎีความรุนแรง 3
มสสส๕๒๘ : แนวคิดและทักษะพื้นฐานของการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
มสสส๕๑๔ : ยุทธศาสตร์และทักษะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 3
มสสส๕๒๒ : ประชาสังคม ขบวนการทางสังคม กับความเป็นธรรมทางสังคม 3
มสสส๕๒๓ : พลวัตความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนในสังคมร่วมสมัย 3
มสสส๕๒๔ : มุมมองเฟมินิสต์และเพศสภาพในสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ 3
มสสส๕๒๕ : การเมืองเรื่องสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ 3
มสสส๕๒๖ : การสื่อสารเพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ 3
มสสส๕๒๗ : มานุษยวิทยาสันติภาพและความขัดแย้ง 3
มสสส๕๒๙ : การศึกษาอิสระเรื่องสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ 3
มสสส๕๓๐ : การสัมมนาเรื่องสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
มสสส๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

6. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

- นักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
- นักวิจัยด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
- ผู้นำองค์กรภาครัฐและเอกชนที่ทำหน้าที่ในการกำหนดหรือส่งเสริมนโยบายเชิงสังคมต่างๆ
- กระบวนกร และผู้ปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชน สันติภาพ และการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง
- อาชีพอื่น ๆ เช่น พนักงานภาคธุรกิจเอกชน ข้าราชการส่วนท้องถิ่น และในสังกัดกระทรวงต่างๆที่
รับผิดชอบประเด็นสังคม การเมือง การเมืองระหว่างประเทศ และสิ่งแวดล้อม ผู้สื่อข่าวสังคม การเมือง 
การเมืองระหว่างประเทศ และสิ่งแวดล้อม ที่มีความจำเป็นต้องใช้ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ
ทั้งนี้ ความรู้ในสาขาวิชาดังกล่าวสามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งในชีวิตประจำวัน และในการประกอบอาชีพ
ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ

7. รายละเอียดอื่นๆ

-

8. ทุนการศึกษาของหลักสูตร

9. ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ดูรายละเอียด ที่ https://graduate.mahidol.ac.th หัวข้อ อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา

10. ข้อมูลติดต่อ

ประธานหลักสูตร

อาจารย์ ดร.เบญจรัตน์  แซ่ฉั่ว

อีเมล์ : benonn@yahoo.com

ห้อง 209 ชั้น 2 อาคารปัญญาพิพัฒน์ โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา

โทร.02-441-0813 ต่อ 2131

โทรสาร 02-441-0872

ผู้ประสานงานหลักสูตร

นางสาวมานียา  รักษาผล

อีเมล์ : maneeya.rak@mahidol.ac.th

ห้อง 101 ชั้น 1 อาคารปัญญาพิพัฒน์ โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา

โทร.02-441-0813 ต่อ 1113

โทรสาร 02-441-0872

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสมัคร ติดต่อได้ที่ งานรับนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ 0 2441 4125-38 ต่อ 110-115
gradthai@mahidol.ac.th