เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอาทิตย์ที่   19   พฤษภาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
เว็บไซต์ http://www.lc.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(วัฒนธรรมศึกษา)

จุดเด่นของหลักสูตร

เป็นหลักสูตรที่ผู้เรียนสามารถออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Taiormaou) นักศึกษาได้เรียนรู้ด้าน วัฒนธรรมศึกษาอย่างเป็นองค์รวม เป็นผู้รู้รอบอย่างลึกซึ้งในเชิงทฤษฎี ลัทธิวิทยา หรือเนื้อหาเฉพาะด้าน ของกลุ่มวิชาต่างๆ

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

แผน ก แบบ ก๑
(๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขา จากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ หรือได้เกียรตินิยม 
(๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(๔) กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
(๕) มีประสบการณ์การทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องหลังจบปริญญาตรีมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี ก่อนวันสมัคร และมีประสบการณ์ในการทำวิจัย หรือผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับระดับชาติหรือนานาชาติอย่างน้อย ๑ เรื่อง ในระยะเวลาไม่เกิน ๕ ปี และไม่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อปริญญา
(๖) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดใน (๒) ถึง (๓) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้าศึกษาได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

แผน ก แบบ ก๒ และแผน ข
(๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาจากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
(๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(๔) กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
(๕) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดใน (๒) ถึง (๓) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้าศึกษาได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๑
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
แผน ข
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 15            หน่วยกิต
สารนิพนธ์ 6            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิจัย นักวิชาการ ในสายงานด้านวัฒนธรรมศึกษา
- ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับงานวัฒนธรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ ผู้ดูแลจัดการพิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ หรือแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ผู้จัดกิจกรรมหรือการอบรมทางวัฒนธรรม

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก1

วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
วภวศ๗๙๘ : วิทยานิพนธ์ 36

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
วภวศ๕๑๐ : แนวคิดหลักด้านวัฒนธรรมศึกษา 3
วภวศ๕๑๑ : การออกแบบการวิจัยทางวัฒนธรรมศึกษา 3
วภวศ๕๑๒ : สัมมนาประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย 3
วภวศ๕๒๑ : ทฤษฎีเชิงวิพากษ์ทางวัฒนธรรมศึกษา 3
วภวศ๕๒๒ : ฝึกปฏิบัติทางวัฒนธรรมร่วมสมัย 3
วภวศ๕๒๓ : ทฤษฎีการพัฒนาวัฒนธรรม 3
วภวศ๕๒๔ : ฝึกปฏิบัติการพัฒนาวัฒนธรรม 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   กลุ่มวิชา ร่างกายและการเมืองเรื่องอัตลักษณ์
วภวศ๕๕๑ : พลเมืองทางวัฒนธรรม การเมืองเรื่องอัตลักษณ์ และความเป็นส่วนหนึ่งในสังคม 3
วภวศ๕๕๒ : ความหลากหลายทางเพศสภาพกับการเคลื่อนไหวทางสังคม 3
วภวศ๕๕๓ : การเกิด - แก่ - เจ็บ - ตายในบริบทสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย 3
วภวศ๕๕๔ : เทคโนโลยี และการเมืองเกี่ยวกับร่างกาย 3
   กลุ่มวิชา ปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของพื้นที่เมืองและชนบท
วภวศ๕๖๑ : นโยบายวัฒนธรรมเชิงวิพากษ์ 3
วภวศ๕๖๒ : ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของชนบทและเมือง 3
วภวศ๕๖๓ : การออกแบบเพื่อชุมชน 3
วภวศ๕๖๔ : การประกอบกิจการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม 3
วภวศ๕๖๕ : สาธารณศิลป์ 3
   กลุ่มวิชา วัฒนธรรมร่วมสมัยและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
วภวศ๕๔๑ : วัฒนธรรมและอุตสาหกรรมภาพยนตร์ 3
วภวศ๕๔๒ : การศึกษาดนตรีสมัยนิยมและสื่อ 3
วภวศ๕๔๓ : ดนตรีโลกและแนวโน้มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 3
วภวศ๕๔๔ : การท่องเที่ยวมรดกวัฒนธรรมในโลกร่วมสมัย 3
วภวศ๕๔๕ : จดหมายเหตุภาพยนตร์ ข้อมูลดิจิทัล และความทรงจำวัฒนธรรม 3
วภวศ๕๔๖ : ทัศนียวัฒนธรรม 3
   กลุ่มวิชา ผู้คน พื้นที่ และการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดน
วภวศ๕๓๑ : ข้อถกเถียงด้านวัฒนธรรมในบริบทหลังอาณานิคมและการข้ามชาติ 3
วภวศ๕๓๒ : ระบบนิเวศวัฒนธรรมและภูมิศาสตร์วัฒนธรรม 3
วภวศ๕๓๓ : ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการย้ายถิ่น 3
วภวศ๕๓๔ : ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมสังคม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   
วภวศ๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

แผน ข

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
วภวศ๕๑๐ : แนวคิดหลักด้านวัฒนธรรมศึกษา 3
วภวศ๕๑๑ : การออกแบบการวิจัยทางวัฒนธรรมศึกษา 3
วภวศ๕๑๒ : สัมมนาประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย 3
วภวศ๕๒๑ : ทฤษฎีเชิงวิพากษ์ทางวัฒนธรรมศึกษา 3
วภวศ๕๒๒ : ฝึกปฏิบัติทางวัฒนธรรมร่วมสมัย 3
วภวศ๕๒๓ : ทฤษฎีการพัฒนาวัฒนธรรม 3
วภวศ๕๒๔ : ฝึกปฏิบัติการพัฒนาวัฒนธรรม 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   กลุ่มวิชา ร่างกายและการเมืองเรื่องอัตลักษณ์
วภวศ๕๕๑ : พลเมืองทางวัฒนธรรม การเมืองเรื่องอัตลักษณ์ และความเป็นส่วนหนึ่งในสังคม 3
วภวศ๕๕๒ : ความหลากหลายทางเพศสภาพกับการเคลื่อนไหวทางสังคม 3
วภวศ๕๕๓ : การเกิด - แก่ - เจ็บ - ตายในบริบทสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย 3
วภวศ๕๕๔ : เทคโนโลยี และการเมืองเกี่ยวกับร่างกาย 3
   กลุ่มวิชา ปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของพื้นที่เมืองและชนบท
วภวศ๕๖๑ : นโยบายวัฒนธรรมเชิงวิพากษ์ 3
วภวศ๕๖๒ : ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของชนบทและเมือง 3
วภวศ๕๖๓ : การออกแบบเพื่อชุมชน 3
วภวศ๕๖๔ : การประกอบกิจการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม 3
วภวศ๕๖๕ : สาธารณศิลป์ 3
   กลุ่มวิชา วัฒนธรรมร่วมสมัยและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
วภวศ๕๔๑ : วัฒนธรรมและอุตสาหกรรมภาพยนตร์ 3
วภวศ๕๔๒ : การศึกษาดนตรีสมัยนิยมและสื่อ 3
วภวศ๕๔๓ : ดนตรีโลกและแนวโน้มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 3
วภวศ๕๔๔ : การท่องเที่ยวมรดกวัฒนธรรมในโลกร่วมสมัย 3
วภวศ๕๔๕ : จดหมายเหตุภาพยนตร์ ข้อมูลดิจิทัล และความทรงจำวัฒนธรรม 3
วภวศ๕๔๖ : ทัศนียวัฒนธรรม 3
   กลุ่มวิชา ผู้คน พื้นที่ และการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดน
วภวศ๕๓๑ : ข้อถกเถียงด้านวัฒนธรรมในบริบทหลังอาณานิคมและการข้ามชาติ 3
วภวศ๕๓๒ : ระบบนิเวศวัฒนธรรมและภูมิศาสตร์วัฒนธรรม 3
วภวศ๕๓๓ : ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการย้ายถิ่น 3
วภวศ๕๓๔ : ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมสังคม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย 3
สารนิพนธ์ หน่วยกิต
วภวศ๖๙๗ : สารนิพนธ์ 6