เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอาทิตย์ที่   19   พฤษภาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.sh.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข)

จุดเด่นของหลักสูตร

๑. เป็นหลักสูตรสหวิทยาการที่นำองค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์ทุกด้านมาประยุกต์ใช้กับสาธารณสุข ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีความร่วมมือ และมีผลงานวิจัย ในระดับนานาชาติที่จะเสริมสร้างประสบการณ์และความรู้ให้กับนักศึกษา เพื่อให้มีคุณสมบัติในระดับเดียวกับที่จบปริญญาเอกจากต่างประเทศ ๒. สาขาการวิจัยที่เน้นหนักทางด้านสังคมศาสตร์สุขภาพทางเพศ เอชไอวี เอดส์ เพศภาวะ ระบบบริการสุขภาพ สุขภาพวัยรุ่นและผู้ด้อยโอกาส การจัดสรรทรัพยากรสุขภาพกับความเป็นธรรม ประกันคุณภาพ

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

แผน ๑ ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว  
 แผน ๑.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท 
(๑) สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข หรือสาขาวิชาสังคมศาสตร์และสุขภาพ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง		       (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
(๓) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาอื่นๆ ต้องมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาสังคมศาสตร์การแพทย์ หรือสาธารณสุข ไม่น้อยกว่า ๓ ปี หรือมีผลงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องกับสาขาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข โดยมีผลงานเผยแพร่ในรูปแบบการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ หรือนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ
(๔)  มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(๕)  ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากข้อ (๒) และข้อ (๔) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย                          
 
แผน ๒ ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
แผน ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท 
(๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ทุกสาขาวิชา  
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
(๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
(๔) คุณสมบัติอื่นๆ เป็นไปตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
(๕) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนด (๒) - (๔) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

แผน ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
(๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐                     
(๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
(๔) คุณสมบัติอื่นๆ เป็นไปตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
(๕) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนด (๒) - (๔) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๑.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 13            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 51            หน่วยกิต
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 21            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิชาการและผู้ถ่ายทอดความรู้ในระดับอุดมศึกษาด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
- นักวิจัยระดับสูงด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
- นักกำหนดและวิเคราะห์นโยบายด้านการแพทย์ สาธารณสุข และสังคม
- ผู้นำองค์กรที่ขับเคลื่อนด้านการพัฒนาสุขภาพและสังคม
- ที่ปรึกษาอิสระด้านการวิจัยและพัฒนาสุขภาพและสังคม

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
สมพส๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
สมพส๕๐๕ : สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๖๐๐ : ปรัชญาและทฤษฎีสังคมศาสตร์ 3
สมพส๖๐๒ : สัมมนาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๖๕๗ : ทฤษฎีสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขเปรียบเทียบ 3
สมพส๖๖๘ : การวิจัยเชิงคุณภาพ 3
สมพส๖๗๐ : ความรู้เบื้องต้นทางสังคมศาสตร์สุขภาพ 3
สมพส๗๐๘ : วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ขั้นสูง 3
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
สมพส๖๐๐ : ปรัชญาและทฤษฎีสังคมศาสตร์ 3
สมพส๖๐๒ : สัมมนาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๗๐๔ : แนวคิดและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๗๐๘ : วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ขั้นสูง 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   หมวดวิชาเลือกทฤษฎี
สมพส๖๐๕ : ระบาดวิทยาสังคม : ทฤษฎีและวิธีการ 3
สมพส๖๑๑ : ทฤษฎีสังคมวิทยาสุขภาพร่วมสมัย 3
สมพส๖๑๒ : ทฤษฎีองค์การ 3
สมพส๖๒๐ : แนวคิดและทฤษฎีทางมานุษยวิทยาและมานุษยวิทยาการแพทย์ 3
สมพส๖๗๘ : มานุษยวิทยาการแพทย์ 3
สมพส๖๗๙ : ทฤษฎีและแนวคิดทางนโยบายสุขภาพ ระบบสุขภาพ และบริการสุขภาพ 3
สมพส๖๘๐ : เศรษฐศาสตร์สุขภาพ 3
สมพส๖๘๓ : จิตวิทยาสุขภาพเชิงบริบท 3
   หมวดวิชาเลือกวิธีวิทยา
สมพส๖๑๗ : การวิจัยนโยบายและระบบสุขภาพ 3
สมพส๖๘๔ : ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพขั้นสูง 3
สมพส๖๘๕ : การวิเคราะห์ข้อมูลสื่อสังคมออนไลน์ 3
สมพส๗๐๑ : การวัดและการวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับการวิจัยทางสังคม พฤติกรรม และสุขภาพ 3
สมพส๗๐๒ : การวิจัยประเมินผลสำหรับนโยบายและมาตรการด้านสุขภาพ 3
   หมวดวิชาเลือก เฉพาะประเด็น
สมพส๖๐๓ : ทฤษฎีและประเด็นเชิงประจักษ์ในการวิจัยและบริหารการบริการสุขภาพ 3
สมพส๖๐๔ : มานุษยวิทยาเควียร์ทางเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ 3
สมพส๖๐๙ : เพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ 3
สมพส๖๑๘ : การเคลื่อนย้ายของประชากรและสุขภาพระหว่างประเทศ 3
สมพส๖๒๕ : มานุษยวิทยาดิจิตอลและสุขภาพ 3
สมพส๖๖๐ : การอ่านตามกำหนดทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๖๘๖ : การออกแบบการคุ้มครองทางสังคมเพื่อสุขภาพและความมั่นคงทางรายได้ 3
สมพส๖๘๗ : ประชากรสูงวัยและรัฐสวัสดิการในมุมมองระดับโลก 3
สมพส๖๘๘ : พลวัตประชากรขั้นสูงกับการสาธารณสุข 3
สมพส๖๘๙ : ประเด็นร่วมสมัยในการพัฒนาระบบสุขภาพอาเซียน 3
สมพส๖๙๐ : การทำความเข้าใจพฤติกรรมสุขภาพร่วมกัน ด้วยแบบจำลอง-ความคิดพฤติกรรม ร่วมสมัย 3
สมพส๖๙๑ : การศึกษาความยากจนและสุขภาพ 3
สมพส๖๙๒ : เศรษฐศาสตร์การเมืองและสุขภาพโลก 3
สมพส๖๙๓ : การวางแผนและการบริหารนโยบายสุขภาพ 3
สมพส๖๙๔ : โลกาภิวัตน์ ภูมิรัฐศาสตร์ และสุขภาพร่วมสมัย 3
สมพส๖๙๕ : สังคมศาสตร์ ความพิการ และความสูงวัย 3
สมพส๖๙๖ : การค้นคว้าอิสระ 3
สมพส๗๐๐ : ความทุกข์ทางสังคมและสุขภาพโลก 3
สมพส๗๐๓ : การคลังสุขภาพเพื่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ยั่งยืน 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
สมพส๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
สมพส๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36