เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   26   เมษายน   พ.ศ. 2567

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี (หลักสูตรนานาชาติ) และ
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์

โดยรองศาสตราจารย์ ดร. กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา
ประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี (หลักสูตรนานาชาติ)
Doctor of Philosophy Programme in Biochemistry (International Programme)

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์
Master of Science Programme in Biochemistry (International Programme)
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหนึ่งในคณะวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับประเทศ เน้นการวิจัยขั้นสูง และผลิตบัณฑิตทุกระดับการศึกษา ที่มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรมและจริยธรรม ออกสู่สังคมตามปรัชญาและปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล

รู้จักหลักสูตรชีวเคมี.....

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ผู้นำทางชีวเคมีและชีวโมเลกุล ภาควิชาแรกของประเทศ ไทย ที่เปิดหลักสูตรชีวเคมี ระดับบัณฑิตศึกษา และได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทยปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้ภาควิชาชีวเคมีของ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล เป็นอันดับ ๑ ของประเทศไทย โดยสำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ชีวเคมีเป็นวิชาที่มีความสำคัญวิชาหนึ่งต่อการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพทาง การเกษตร อุตสาหกรรมอาหาร และทางการ แพทย์ ซึ่งปัจจุบันมีการนำเอาความรู้ทางชีวเคมีมาบูรณาการ วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาต่างๆ และงานวิจัย ซึ่งถือเป็นฐานความรู้ที่สำคัญยิ่งในการศึกษา เพื่อนำไปสู่ความรู้ใหม่ให้กับประเทศชาติ ภาควิชาชีวเคมีมีทุนสนับสนุนการทำวิจัยระดับประเทศและนานาชาติ มีหัวข้องานวิจัยที่หลากหลาย นักศึกษาสามารถเลือกทำงานวิจัยที่ตนเองถนัดและชอบ ๗ กลุ่ม คือ ๑) Structural and Mechanistic Enzymology ๒) Molecular Genetics and Cell Biology of Cancer ๓) Molecular and Systemic Biology of Malaria ๔) Molecular Biology and Biochemistry of Pathogenic Bacteria ๕) Molecular Metabolism ๖) Proteins and Proteomics and ๗) Plant Biochemistry and Molecular Biology และ ๙๐ % นักศึกษาในภาควิชาได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัย และจากความร่วมมือทางการศึกษากับสถาบันในต่างประเทศ ทำให้ภาควิชามีห้องปฏิบัติการร่วมอยู่ยังต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักศึกษา ที่จะได้พบปะ พูดคุยแลกเปลี่ยนและทำงานวิจัยร่วมกับนักศึกษา ผู้เชี่ยวชาญ นักวิทยาศาสตร์ ในระดับประเทศ หลักสูตรฯ มีการเรียนการสอนที่มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับนานาชาติ การเรียนการสอนจึงเป็นภาษาอังกฤษ อีกทั้งที่ภาควิชามีอาจารย์ และรุ่นพี่ที่คอยเอาใจใส่ดูแลให้ความเป็นกันเองคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ปัจจุบันภาควิชาชีวเคมีผลิตมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ สำเร็จการศึกษาแต่ละท่าน ล้วนเป็นกำลังสำคัญทางด้านวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และอาจารย์ ที่ได้รับการยอมรับและยกย่องทั้งระดับประเทศและนานาชาติ

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา(หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา(หลักสูตรนานาชาติ)


ความสำคัญของการจัดทำหลักสูตร

เป็นที่ทราบว่า ในประเทศไทยยังขาด แคลนนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ อยู่จำนวนมาก ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ประกอบกับ GDP (Gross Domestic Product) ที่ลงมาในงบนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ในประเทศไทยยังมีน้อย การวิจัยจึงเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญ และการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ สามารถนำผล งานวิจัยไปใช้เป็นประโยชน์แก้ปัญหา เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้ ตรงนี้หลักสูตรฯ คิดว่าเราเป็นสาขาวิชาหนึ่งที่จำเป็น ต้องเร่งสร้างและผลิตนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพ ซึ่งจะช่วยเติมเต็มในสิ่งที่ประเทศชาติยังต้องการอยู่

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา(หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา(หลักสูตรนานาชาติ)


ความโดดเด่นของหลักสูตร

รายวิชาในหลักสูตรชีวเคมี จะมีการพัฒนา ปรับปรุงให้มีความเข้มแข็งมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น หลักสูตรระดับปริญญาเอก นักศึกษาสามารถเรียนรู้การเขียนขอทุนวิจัย คิดหัวข้องานวิจัย การเขียน Proposal เมื่อนักศึกษาสำเร็จออกไป จะสามารถทำงานวิจัยและหาทุนเองได้ ระดับปริญญาโท เราจะเน้นทักษะด้านการทดลอง รู้ลึก รู้จริง ทำได้ จุดที่ต่างกันคือระดับปริญญาโท เน้นทักษะกระบวนการวิจัย ระดับปริญญาเอก เน้นการคิดงานวิจัย คิดกระบวนการวิจัย ลงมือทำและสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ขึ้นเองได้

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา(หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา(หลักสูตรนานาชาติ)

ความร่วมมือกับสถาบันภายนอก

ภาควิชาชีวเคมี มีโจทย์งานวิจัยที่หลากหลาย ตั้งแต่เซลล์ สิ่งมีชีวิต โปรตีน โครงสร้างของโปรตีนการตอบ สนองของเซลล์ รวมไปถึงการแสดงออกของยีน ปฏิกิริยาเคมี ในร่างกายคนเรา หรือแม้แต่การแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์กับโจทย์งานวิจัยได้ กลุ่มสาขางาน วิจัยที่ภาควิชามี เช่น กลุ่มวิจัยเกี่ยวกับโรคมะเร็ง กลุ่มวิจัยการติดเชื้อที่ทำให้เกิดโรค เช่น ท้องร่วงท้องเสีย กลุ่มวิเคราะห์โครงสร้างและการทำงานของโปรตีน ตัวอย่างเช่น การศึกษาโครงสร้างของโปรตีนและเอมไซน์ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน จะทำให้เราถึงทราบกลไกการทำงานระดับ โครงสร้าง การเกิดโรคเบาหวาน สารปนเปื้อน นอกจากนี้อาจารย์ในภาควิชา มีความร่วมมือกับสถาบันทั้งภายในและนอกประเทศ และในระดับมหาวิทยาลัยด้วยกัน เช่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และในต่างประเทศ เช่น ประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรป เป็นต้น

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา(หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา(หลักสูตรนานาชาติ)



รูปแบบการเรียนการสอนของหลักสูตร

นักศึกษาที่สนใจเข้ามาศึกษาในหลักสูตรฯ ระดับปริญญาโท ต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนระดับปริญญาเอก จะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้องก็ได้ ทั้งนี้ นักศึกษาจะลงเรียนรายวิชาเหมือนกัน หลักสูตรได้ออกแบบเพื่อเพิ่มโอกาสสำหรับผู้สนใจ แต่ไม่มั่นใจในตนเอง จะเรียนในระดับปริญญาเอกได้หรือไม่ จึงให้สมัครเข้ามาเรียนในระดับปริญญาโทก่อน เมื่อเรียนรายวิชา ทำผลงานได้ดีหรือมีผลการเรียนดีเด่น ก็จะสามารถเปลี่ยนมาเป็นระดับ ปริญญาเอกได้ระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ ภาควิชาชีวเคมีมีความพร้อม เช่น อาจารย์ทุกท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความ เชี่ยวชาญ และมีทุนสนับสนุนการวิจัยทุกท่าน มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ หนังสือตำรา สื่อการเรียนการสอนเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ภาควิชานำเข้ามาเพื่อสนับสนุน การเรียนการสอน หลักสูตรฯ เน้น นักศึกษาจะ ต้องมีองค์ความรู้ที่แน่น รู้ลึก รู้จริง ทำได้จริง

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา(หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา(หลักสูตรนานาชาติ)

คุณสมบัติของผู้สนใจเข้ามาศึกษา

ระดับปริญญาเอก

  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนสุดท้าย ในหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (ทุกสาขาวิชา) หรือ เภสัชศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต และแพทยศาสตรบัณฑิต รวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากต่างประเทศ โดยได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ หรือเทียบเท่า
  2. สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนสุดท้ายในหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาชีววิทยา ชีวเคมี ชีววิทยาระดับโมเลกุล เคมี วิทยา- ศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐

ระดับปริญญาโท

  1. สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนสุดท้ายในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ทุกสาขาวิชา) หรือ เภสัชศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต และแพทยศาสตรบัณฑิต รวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากต่าง ประเทศในสาขาดังกล่าวหรือใกล้เคียง
  2. ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ หรือเทียบเท่า

ความภาคภูมิใจของหลักสูตรฯ

ศิษย์เก่าของหลักสูตรฯ ประสบความสำเร็จ ได้รับรางวัลสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยมหิดล และคณะวิทยาศาสตร์เป็นจำนวนมาก ทั้งทางด้านวิทยา- ศาสตร์ สังคม วิชาการ และการดำรงชีวิตเป็นแบบ อย่างที่ดี เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ หลายท่านเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานวิจัย และวิชาการที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์สังคมและช่วยเหลือประเทศชาติ บางท่านได้รับการเชิดชูเกียรติ และรางวัลจากองค์กรต่างๆ เช่น ภาควิชาได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น จำนวน ๕ ท่าน และภาควิชาหวังว่า เราจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์ทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพให้ กับประเทศชาติต่อไป

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา(หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา(หลักสูตรนานาชาติ)

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

ศิษย์เก่าระดับปริญญาเอก ๗๐ - ๘๐ % เป็นอาจารย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ในมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือในภาคอุตสาหกรรม ศิษย์เก่าระดับปริญญาโท ๗๐% เป็นนักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย ให้กับหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศ บางท่านเป็นอาจารย์ นักวิจัย นักวิเคราะห์ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ควบคุมคุณภาพ ในหน่วยงานภาคเอกชน เป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดความรู้ การให้คำแนะนำผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมยา เครื่อง สำอางค์ เคมีภัณฑ์ เครื่องมือ ปัจจุบันตลาดแรงงานในมหาวิทยาลัย มีจำนวนการรองรับการทำงานน้อยลง ภาควิชาได้ปรับแผนหลักสูตร เน้นสร้างบันฑิตไปรองรับ Private Center มากขึ้น

ทุนการศึกษา ทุนวิจัย รางวัล

ภาควิชาชีวเคมี มีทุนการศึกษา และทุนวิจัย ทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สภาวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทุนปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ทุนพัฒนาอาจารย์จากสํานักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา (สกอ.) และทุนจากบัณฑิตวิทยาลัย และคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล เช่น ทุนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (นักศึกษานานาชาติ) ทุนผู้ช่วยวิจัยบัณฑิตศึกษา (RA: Research Assistantships) ทุนเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ ปีครองราชสมบัติ ทุนเสริมสร้างนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ทุนอุดหนุนในการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาโท – ปริญญาเอก ไปเสนอผลงานทางวิชาการต่างประเทศ รางวัลวิทยา- นิพนธ์ดีเด่น เป็นต้น

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา(หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา(หลักสูตรนานาชาติ)

เชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าศึกษา

ขอเชิญชวนนิสิตนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาหรือกำลังจะสำเร็จการศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรี หรือระดับปริญญาโท ที่มีความสนใจเป็นนักวิจัย นัก วิทยาศาสตร์ และมีความมุ่งมั่นต้องการพัฒนาตนเอง เมื่อมาศึกษากับเรา อาจารย์ในภาควิชาทุกท่าน จะพัฒนานักศึกษาทุกคนให้มีศักยภาพมากขึ้น ได้ลงมือทำจริง รู้จริง รู้ลึก เพื่อทำให้ท่านเป็นนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพ อันจะเป็นกำลังสำคัญเพื่อพัฒนาประเทศชาติต่อไป

ผู้สนใจเข้าศึกษา สามารถดูรายละเอียดหลักสูตรได้ที่

http://www.grad.mahidol.ac.th/th/prospective-students/view.php?id=2105D01G
http://www.grad.mahidol.ac.th/th/prospective-students/view.php?id=2105M01G
http://science.mahidol.ac.th/
ช่วงเวลาเปิดรับสมัคร : ตุลาคม – เมษายน ของทุกปี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์การ , งานรับนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0 2441 4125 ต่อ 130 - 135, 110-115