เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์

โดย ดร.มยุรี ถาวรพัฒน์
ประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์
Doctor of Philosophy Program in Linguistics
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย

"หลักสูตรสามารถสร้างบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะการวิจัยด้านภาษาและวัฒนธรรมอย่างมีคุณธรรม โดยนำองค์ความรู้เหล่านี้ไปบูรณาการและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและนานาชาติ ซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญของหลักสูตรฯ ที่จะสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการวิจัยและพัฒนาให้กับผู้เรียน ตามปรัชญาที่ว่า "ภาษาและวัฒนธรรมเป็นหัวใจของการพัฒนา"



ภูมิภาคเอเชียเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทั้งในด้านภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และเป็นภูมิภาคแห่งหนึ่งที่มีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และการเมืองมาช้านานแล้ว ในปัจจุบัน ภูมิภาคนี้ได้ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา และเทคโนโลยี อีกทั้งประเทศไทยมีนโยบายที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชีย และก้าวสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อให้เกิดการพัฒนา และการแลกเปลี่ยนความรู้ ความชำนาญในด้านต่างๆ ข้างต้น การที่จะช่วยให้บรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องภาษาและวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง จึงเป็นสิ่งจำเป็นอันดับแรก ในขณะเดียวกันรัฐบาลมีนโยบายที่จะปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชากรไทยทุกพื้นที่ด้านเศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุข ซึ่งต้องใช้ภาษาเป็นเครื่องมือที่จะนำความรู้ความเข้าใจอันถ่องแท้เข้าสู่กลุ่มชนต่างๆ อีกทั้ง สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มีปรัชญาว่า "ภาษา และวัฒนธรรม เป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม" ซึ่งปรัชญาดังกล่าวเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนพันธกิจด้านต่างๆของสถาบัน นอกจากนี้สถาบันฯมีความพร้อมทั้งด้านข้อมูลพื้นฐานงานวิจัย ประสบการณ์ และบุคลากร ในการดำเนินการทั้งด้านการเรียนการสอนของหลักสูตร

ภารกิจที่สำคัญของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ จึงให้ความสำคัญต่อการผลิตบุคลากรวิจัยที่มีความเข้าใจและความชำนาญเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชนต่างๆในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชีย ปรัชญาของหลักสูตรจึงมุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะการวิจัยทั้งด้านภาษา วัฒนธรรม และการพัฒนา บนพื้นฐานความมีคุณธรรม จริยธรรม สามารถบูรณาการองค์ความรู้ต่างๆ ดังกล่าวและประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพ การแก้ไขปัญหาขององค์กรและสังคมในยุคโลกาภิวัตน์


จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์เป็นหลักสูตรที่มีเนื้อหารายวิชาสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกด้านภาษา และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีการส่งเสริมการทำงานเชิงประยุกต์ทั้งในด้านการศึกษาและสังคมโดยรวม มีการสร้างความรู้และความเข้าใจด้านทฤษฎีภาษาศาสตร์ทั้งด้านปฏิบัติ และประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับบริบทของสังคม

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์

ความร่วมมือกับสถาบันภายนอก

หลักสูตรฯ มุ่งสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ สามารถบูรณาการและประยุกต์ใช้ในการทำงานในบริบทของความแตกต่างหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการพัฒนางานด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ จึงสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการวิจัย โดยได้ทำความร่วมมือกับองค์กรหลากหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), ราชบัณฑิตยสภา, The School of Oriental and African Studies (SOAS), University of London University of Sydney, Australia, องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO), สำนักงานเลขาธิการรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO), กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF), Save the Children International และ Summer Institute of Linguistics (SIL) เป็นต้น

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์

รูปแบบการเรียนการสอนของหลักสูตรฯ

  • เน้นการบูรณาการศาสตร์ด้านภาษากับวิทยาการของศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันด้านภาษาและวัฒนธรรมของสังคมไทย
  • เน้นการเรียนการสอนในรูปแบบการอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นระหว่างผู้เรียนกับผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ในหลักสูตรฯ
  • เน้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริงเพื่อพัฒนาและเพิ่มพูนทักษะด้านการวิจัย บนพื้นฐานแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

สิ่งที่นักศึกษาจะได้รับเมื่อได้เข้ามาศึกษา และสำเร็จการศึกษาออกไป / อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

คณาจารย์ของหลักสูตรฯ จะเตรียมความพร้อมในด้านวิชาการในแง่ของการบูรณาการศาสตร์ทางภาษาศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชน สังคม และประเทศชาติ ตามมาตรฐานจริยธรรม รวมทั้งได้จัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และการสนับสนุนช่วยเหลือให้เกิดทักษะการวิจัยบนฐานภาษาศาสตร์ เพื่อสำเร็จไปประกอบอาชีพหรือพัฒนาวิชาชีพที่ตั้งใจ ไม่ว่าจะเป็นการต่อยอดและพัฒนาบนฐานงานเดิม หรืองานใหม่

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • ผู้ถ่ายทอดความรู้ หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาศาสตร์
  • นักวิจัยด้านภาษาศาสตร์
  • นักวิชาการหรือนักพัฒนาในองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน
  • ประกอบอาชีพอิสระที่สัมพันธ์กับสาขาวิชาที่ศึกษา

ความภาคภูมิใจ

หลักสูตรสามารถสร้างบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะการวิจัยด้านภาษาและวัฒนธรรมอย่างมีคุณธรรม โดยนำองค์ความรู้เหล่านี้ไปบูรณาการและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและนานาชาติ ซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญของหลักสูตรฯ ที่จะสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการวิจัยและพัฒนาให้กับผู้เรียน ตามปรัชญาที่ว่า "ภาษาและวัฒนธรรมเป็นหัวใจของการพัฒนา"

"ภาษาและวัฒนธรรมเป็นหัวใจของการพัฒนาที่ยั่งยืน รู้สึกว่ามีความโดดเด่นชัดเจนในแง่มุมนี้มากกว่าหลักสูตรภาษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ตรงกับความต้องการของตนเองในการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากที่นี่ไปต่อยอดสร้างประโยชน์ให้ท้องถิ่น/ สังคมในอนาคตนอกจากนั้น การที่หลักสูตรนี้เปิดสอนในสถาบันฯ ก็ทำให้มองเห็นภาพการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมที่ต้องเดินควบคู่กันไปอย่างชัดเจน มองเห็นภาพของบุคลากรทั้งหมดของสถาบันที่มุ่งหน้าเดินไปในทิศทางเดียวกันตามปรัชญา หลักสูตรอื่น ๆ ที่เปิดในสถาบันฯ ก็มีลักษณะที่สอดคล้องกันทั้งหมด จึงเลือกเรียนหลักสูตรนี้ด้วยความชัดเจนของสถาบันฯ ที่ตรงกับความต้องการของตนเองดังกล่าวค่ะ จากความคิดเห็นของนักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาภาษาศาสตร์ ปีการศึกษา 2560"

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์

ทุนการศึกษา

  • ทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.)
  • ทุนเฉลิมพระเกียรติครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
  • ทุนการให้เงินยืมเพื่อชำระค่าธรรมเนียมการศึกษา
  • ทุนสนับสนุนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในการเสนอผลงานทางวิชาการภายในประเทศและต่างประเทศ

เชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าศึกษา

ปีการศึกษา 2561 หลักสูตรฯ ยินดีต้อนรับนักศึกษาจากหลากหลายสาขา โดยเปิดรับสมัครนักศึกษาภาคปกติ ใช้เวลาเรียนอย่างน้อย 2 ปี ซึ่งอาจารย์และหลักสูตรมีความเชื่อมั่นว่า นักศึกษาที่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งกับเราจะสามารถนำวิชาความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพของตนเอง และสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมที่มีความหลากหลายทั้งภาษา และวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน และหากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 02-800-2308-14 ต่อ 3111, 3213, 3447 หรือ www.lc.mahidol.ac.th และ https://www.facebook.com/Linguistics.RILCA/

ผู้สนใจเข้าศึกษา สามารถดูรายละเอียดหลักสูตรได้ที่

http://www.lc.mahidol.ac.th/th/Program/PHdLinguistics.htm
http://www.grad.mahidol.ac.th/th/prospective-students/view.php?id=7301D02G

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์การ , งานรับนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร. 0-2441-9129 ,0-2441-4125 ต่อ 130 - 135, 110-115