เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   26   เมษายน   พ.ศ. 2567

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์และสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

โดย ศาสตราจารย์ ดร. พิมพวัลย์ บุญมงคล
ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์และสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ ลุ่มลึก รอบด้าน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในการทำงานด้านสุขภาพอย่างบูรณาการ มีส่วนร่วมในการแก้ไขสถานการณ์สุขภาพที่สลับซับซ้อน ได้อย่างสร้างสรรค์


ความเป็นมาความสำคัญของหลักสูตร

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อครั้งที่ มหาวิทยาลัยได้ทูลขอพระราชทานพระนาม 'มหิดล' และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชานุญาตนาม มหาวิทยาลัย มหิดล พร้อมทั้งมีพระราชกระแสรับสั่งว่า ถ้าจะเพิ่มคณะขึ้นใหม่ ควรมีคณะสังคมศาสตร์อยู่ด้วย เพราะว่าบุคลากรได้แก่แพทย์และผู้ที่ทำงานด้านสารธารณสุขจำเป็นที่จะต้องรู้หมวดวิชาความรู้ด้านสังคมศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ก่อตั้งขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ เพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ

หลักสูตรหลักศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์และสุขภาพ ได้เริ่มเปิดการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นหลักสูตรมหาบัณฑิตหลักสูตรแรกในคณะ ต่อมา ในปี ๒๕๔๒ ได้เปลี่ยนเป็น ชื่อ สังคมศาสตร์สุขภาพ และทำการปรับปรุงหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานมาตลอด เพื่อให้หลักสูตรมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานและสอดรับความทันสมัย ทันเหตุการณ์ของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นหลักสูตรบูรณาการแบบสหสาขาวิชา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้จากองค์ความรู้ หลากหลายสาขาวิชา มาวิเคราะห์ประเด็นสุขภาพที่มีความซับซ้อนและสังเคราะห์ขึ้นเป็นองค์ความรู้ใหม่ ตอบโจทย์ปัญหาทางสุขภาพด้วยแนวคิดเชิงสังคมศาสตร์ และเพิ่มพูนความรู้ทางการวิจัยทางสังคมศาสตร์สุขภาพ เพื่อนำไปสู่การก้าวออกจากวิกฤติทางด้านเศรฐกิจ การเมืองและเข้าสู่การเป็นผู้นำด้านสังคมศาสตร์สุขภาพของระดับภูมิภาค

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาสังคมศาสตร์และสุขภาพ  คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาสังคมศาสตร์และสุขภาพ  คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์


ความเป็นมาความสำคัญของหลักสูตร

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อครั้งที่ มหาวิทยาลัยได้ทูลขอพระราชทานพระนาม 'มหิดล' และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชานุญาตนาม มหาวิทยาลัย มหิดล พร้อมทั้งมีพระราชกระแสรับสั่งว่า ถ้าจะเพิ่มคณะขึ้นใหม่ ควรมีคณะสังคมศาสตร์อยู่ด้วย เพราะว่าบุคลากรได้แก่แพทย์และผู้ที่ทำงานด้านสารธารณสุขจำเป็นที่จะต้องรู้หมวดวิชาความรู้ด้านสังคมศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ก่อตั้งขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ เพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ

หลักสูตรหลักศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์และสุขภาพ ได้เริ่มเปิดการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นหลักสูตรมหาบัณฑิตหลักสูตรแรกในคณะ ต่อมา ในปี ๒๕๔๒ ได้เปลี่ยนเป็น ชื่อ สังคมศาสตร์สุขภาพ และทำการปรับปรุงหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานมาตลอด เพื่อให้หลักสูตรมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานและสอดรับความทันสมัย ทันเหตุการณ์ของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นหลักสูตรบูรณาการแบบสหสาขาวิชา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้จากองค์ความรู้ หลากหลายสาขาวิชา มาวิเคราะห์ประเด็นสุขภาพที่มีความซับซ้อนและสังเคราะห์ขึ้นเป็นองค์ความรู้ใหม่ ตอบโจทย์ปัญหาทางสุขภาพด้วยแนวคิดเชิงสังคมศาสตร์ และเพิ่มพูนความรู้ทางการวิจัยทางสังคมศาสตร์สุขภาพ เพื่อนำไปสู่การก้าวออกจากวิกฤติทางด้านเศรฐกิจ การเมืองและเข้าสู่การเป็นผู้นำด้านสังคมศาสตร์สุขภาพของระดับภูมิภาค

ความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของหลักสูตร

หลักสูตรของเราได้จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ เป็นการบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคม เพื่อการพัฒนาสุขภาพและระบบบริการสุขภาพที่คำนึงถึงจิตวิญญาณของมนุษย์ และบริบททางสังคมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยเราใช้ทฤษฏีการคิดแบบสังคมศาสตร์ ได้แก่ สังคมวิทยา มนุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ นโยบายศาสตร์ เป็นต้น โดยนำมาประยุกต์ศึกษาปัญหาและระบบของสุขภาพ โดยเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพ การแก้ไขปัญหา การเจ็บไข้ได้ป่วย ตั้งแต่ปัญหาเชื้อโรค สภาพแวดล้อม เงื่อนไขทางจิตตวิทยาระดับบุคคลถึงระดับกลุ่ม โครงสร้างเศรฐกิจ สังคม การเมือง องค์การและการบริหารงาน ระบบความเชื่อ วัฒนธรรม ตลอดจนโครงสร้างประชากรทั้งหมดนี้เอาเข้ามาร่วมกัน และวิเคราะห์เชิงระบบกับประเด็นสุขภาพ

ความโดดเด่นของหลักสูตร คือ คณะของเราเปิดหลักสูตรสาขาวิชาสังคมศาสตร์สุขภาพ เป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทยและในภูมิภาค หลังจากที่คณะเปิดหลักสูตรนี้ขึ้นมา ก็มีสถาบันการศึกษา ทั้งมหาวิทยาลัยส่วนกลางและภูมิภาคระหว่างประเทศ และในแถบอาเซียน เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรนี้ เปิดในรูปแบบของหลักสูตร ในรายวิชาในหลักสูตรต่างๆ ความโดดเด่นอีกอย่างที่สำคัญ คือ คณาจารย์ที่คณะสังคมศาสตร์ฯ ของเราทุกท่านมีความเชี่ยวชาญในศาสตร์สังคมศาสตร์สุขภาพ และผลงานวิจัยและวิชาการได้การยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ * นอกจากนี้หลักสูตรยังได้มีศูนย์วิจัย ๒ ศูนย์ เพื่อรองรับการทำวิจัยของนักศึกษา และในการศึกษาวิจัยของนักศึกษาจะมีอาจารย์เข้าร่วมทำงานวิจัยด้วย

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาสังคมศาสตร์และสุขภาพ  คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาสังคมศาสตร์และสุขภาพ  คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน

หลักสูตรมีความร่วมมือและมีส่วนร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ในประเทศ เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยส่วนกลางและภูมิภาค และองค์กรเอกชนในประเทศ ส่วนต่างประเทศ จะเป็นมหาวิทยาลัยในอาเซียนและสหรัฐอเมริกา องค์กรที่สนับสนุนการให้ทุนเป็นองค์กรสหประชาชาติ เช่น องค์การอนามัยโลก และยูเนสโก ยูเอ็นเอฟพีเอ ความร่วมมือเหล่านี้ คือ ความร่วมมือในการส่งบุคลากรในหน่วยงานของตนเข้ามาเรียน และพยายามสร้างความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา และทำกิจกรรมวิชาการร่วมกันคือ จัดประชุม สัมนา จัดให้มีพื้นที่ดูงาน และจัดให้มีงานวิจัยร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆที่กล่าวมา นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยในต่างประเทศยังให้การสนับสนุนนักศึกษา โดยยกเว้นค่าลงทะเบียนนักศึกษาที่ไป Take course ๑ เดือน ๒ เดือน หรือ ๑ semester และมีทุนให้ทำวิจัย และเอื้อเฟื้อให้สามารถเข้าพักในหอพักของมหาวิทยาลัยได้

รูปแบบการเรียนการสอน

รูปแบบการเรียนการสอน ให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลาง ระบุประเด็นสุขภาพ แล้วใช้ประเด็นที่สนใจมาค้นคว้าผ่านการเรียนการสอนของชุมชน โดยเรามีพื้นที่ชุนชนให้นักศึกษาเรียนรู้จากของจริง ได้ศึกษากลุ่มเป้าหมาย ระบบสุขภาพ ระบบการจัดบริการสุขภาพในกลุ่มที่นักศึกษาสนใจ นอกจากนี้นักศึกษายังได้เข้าไปเรียนรู้ชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนและ Good Practice ของหน่วยงานภูมิภาคและในระดับภาครัฐและเอกชน นักศึกษาจะมีโอกาสได้ไปฝึกงานดูงานในต่างประเทศ ได้สัมผัสการเรียนการสอน ไป Take course ในต่างประเทศ มีการค้นคว้าด้วยตนเอง อภิปรายกลุ่ม อภิปรายเดี่ยว การฟังบรรยายจากอาจารย์ การเรียนการสอนของเราแบ่งเป็นภาคปกติ เรียน วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ในเวลาราชการ และภาคพิเศษ เรียนวันเสาร์-วันอาทิตย์และวันหยุดราชการ การเรียนมีทั้งเรียนแบบแผน ก แบบ ก ๒ และแผน ข


นักศึกษาจะได้เรียนรู้ปัญหาสุขภาพร่วมสมัย ได้ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาเป็น เรียนรู้ทฤษฏีปัญหาสุขภาพแบบบูรณาการ โลกาภิวัตน์ ลักษณะการพัฒนาประเทศ ระบบบริการสุขภาพ นโยบายชุมชน ความคิดความเชื่อวัฒนธรรมการรับรู้ของผู้คนเกิดปัญหาสุขภาพ นอกจากนั้นยังได้ เทคนิคการทำวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพที่ถูกต้อง ได้เครือข่ายและเรียนรู้ปัญหาจากประสบการณ์จริงผ่านการดูงาน Take course ในต่างประเทศ ได้เรียนรู้และใช้ภาษาอังกฤษ

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาสังคมศาสตร์และสุขภาพ  คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาสังคมศาสตร์และสุขภาพ  คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

อาชีพที่สอดคล้อง คือนักวิจัย นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติการ ในองค์กรภาครัฐและเอกชน เช่น โรงพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข กระทรวง พม. นักประเมินผล นักวิเคราะห์นโยบายด้านสังคมศาสตร์สุขภาพ หรือไปเป็นผู้นำองค์กรด้านสังคมศาสตร์สุขภาพ

คุณสมบัติผู้ที่จะเข้าศึกษาในหลักสูตร

เปิดกว้างมาก สำหรับระดับปริญญาโท รับทุกสาขาวิชาทั้งสายวิทย์ สายศิลป์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือกำลังศึกษาในภาคเรียนสุดท้าย คะแนนเฉี่ยนไม่ต่ำกว่า ๒.๕ ระดับปริญญาเอกรับผู้ที่สำหรับสำเร็จ ระดับปริญญาตรีแพทย์ศาสตรบัณฑิตและโททุกสาขา เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำ ๓.๕ รับ นศ.ป.โท สังคมศาสตร์และสุขภาพ

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ ความสำเร็จของศิษย์

อาจารย์ในหลักสูตรจะได้รับหลายรางวัลมากมาย เช่น รางวัลผู้นำสตรีดีเด่น ผู้นำสตรีและการพัฒนาดีเด่นระดับประเทศ รางวัลมหิดลสาขาบริการวิชาการ เป็นที่ปรึกษาโครงการระหว่างประเทศ เช่น โครงการอนามัยโลก ส่วนผลงานวิจัย มีงานวิจัยหลายเรื่องที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ ได้เผยตีพิมพ์เผยแพร่ระดับประเทศระดับนานาชาติ และได้นำไปประยุกต์ใช้ในสังคมและชุมชน ได้รับทุนสนับสนุนในการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง เช่น ความเป็นธรรมทางสุขภาพ ประเด็นความรุนแรงในเยาวชนในพื้นที่ไซเบอร์ ความรุนแรงในผู้หญิง สุขภาพผู้สูงอายุ คนพิการ และประเด็นโรคเรื้อรัง ติดเชื้อ อุบัติซ้ำ อุบัติใหม่ ในส่วนของนักศึกษา เราสามารถผลิตบัณฑิตทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ ประมาณ ๕๐๐ คน ศิษย์เก่าหลายคน ได้เป็นผู้บริการระดับสูงของมหาวิทยาลัยส่วนกลาง ได้เป็นคณบดี รองคณบดี นักศึกษาบางส่วนได้เป็น CEO ของส่วนงานภาคเอกชน บางคนได้ทำงานองค์การระหว่างประเทศ

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาสังคมศาสตร์และสุขภาพ  คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

สวัสดิการ-การสนับสนุนนักศึกษา

คณะสังคมศาสตร์ฯ มีทุนการศึกษาที่ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย สนับสนุนให้นักศึกษา คือ ทุนเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ ปี ทุนระหว่างเรียน ทุนหงษ์วิวัฒน์ ทุนทำวิจัยร่วมกับทางคณาจารย์ซึ่งสามารถระดมทุนวิจัยจากหน่วยงานต่างๆ ทุนสำหรับกับนักศึกษาในการเป็นอาจารย์ร่วมสอน นอกจากนั้นยังร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย ในการให้ทุนไปเสนอผลงานวิชาการดีเด่นในระดับชาติและนานาชาติ และรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น ซึ่งจะคัดเลือกจากผู้ที่มีผลงานวิทยานิพนธ์เด่น ส่งให้บัณฑิตวิทยาลัยคัดเลือก ในอดีตมีนักศึกษาของเราได้รางวัลจำนวนหนึ่งและจะได้เรื่องของกิจกรรมที่หลักสูตรจัดให้เพื่อพัฒนาตนเอง ในด้านต่างๆ เพื่อไปพัฒนาเด็กและวัยรุ่นประเทศเราให้คุณภาพทัดเทียมกับต่าง ประเทศที่เจริญแล้วทั้งหลาย


สุดท้ายอยากเชิญชวนนักศึกษาระดับ ป.ตรี ป.โท และผู้สนใจ เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรสังคมศาสตร์สุขภาพ หลักสูตรเรามี ๕ หลักสูตร เป็นทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ หลักสูตรไทยและนานาชาติ เพื่อที่จะเสริมศักยภาพและมีความรู้พร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานทั้งในระดับชาติและนานาชาติต่อไป

ผู้สนใจเข้าศึกษา สามารถดูรายละเอียดหลักสูตรได้ที่

www.grad.mahidol.ac.th/th/prospective-students/view.php?id=2510M02G
ช่วงเวลาเปิดรับสมัคร : ตุลาคม – เมษายน ของทุกปี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์การ , งานรับนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0 2441 4125 ต่อ 130 - 135, 110-115