เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันพฤหัสบดีที่   25   เมษายน   พ.ศ. 2567

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (หลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษ)

โดย อาจารย์ ดร. มณฑิรา ยุติธรรม
ประธานหลักสูตรหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (หลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษ)
MASTER OF SCIENCE PROGRAM IN LIVABLE CITY MANAGEMENT AND ENVIRONMENTAL SUSTAINABILITY
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ความเป็นมา / ความสำคัญของการจัดทำหลักสูตร

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ให้ความหมายของ "เมืองน่าอยู่" ไว้ว่า เมืองน่าอยู่ หมายถึง ชุมชนที่อยู่อาศัยทั้งในเขตเมืองและชนบทที่มีสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดี มีสังคมที่เอื้ออาทร มีชุมชนเข้มแข็ง มีความสะดวกสบายปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีระบบเศรษฐกิจที่มั่นคง มีวัฒนธรรมและจิตวิญญาณที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองและชุมชน จากความหมายดังที่ได้กล่าวมา ความเป็นเมืองน่าอยู่จึงแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นฐานและความต้องการของคนในชุมชนนั้นๆ ประชาชนในชุมชนได้มีส่วนร่วมและช่วยเหลือซึ่งกันและกันเกี่ยวกับการดำเนินวิถีทางของชีวิต เพื่อให้ได้ศักยภาพหรือคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด และด้วยความร่วมมือร่วมใจของเจ้าหน้าที่ของเมืองทุกระดับโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงสุดของชุมชน ยั่งยืน

ในปีปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่ประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Asean) จะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC หรือ Asean Economics Community) เพื่อให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน มีผลประโยชน์และอำนาจต่อรองกับประเทศคู่ค้าได้มากขึ้น รวมถึงการนำเข้าส่งออกจะเสรีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่การเปลี่ยนแปลงที่จะเห็นได้ชัดเจน ได้แก่
  1. การลงทุนจะเสรีมากขึ้น เช่น ในด้านการศึกษา ประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดี จะมาเปิดการเรียนการสอนในประเทศไทย รวมทั้งคนไทยที่มีความรู้ความสามารถและทักษะทางภาษาจะย้ายไปทำงานต่างประเทศ
  2. ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการบริหารกิจการการให้บริการ (Hospitalities) เนื่องจากประเทศไทยอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงจะเป็นศูนย์กลางการบิน การท่องเที่ยวการจัดการประชุม ศูนย์กระจายสินค้า และการบริการด้านการแพทย์และสุขภาพ
  3. การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและการค้าขายบริเวณชายแดนจะขยายตัวสูงขึ้น แรงงานที่มีทักษะจะย้ายไปประเทศอื่น แรงงานที่ขาดทักษะจะเข้ามาแทนที่ ส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมและสาธารณูปโภคพื้นฐานขาดแคลน
  4. กรุงเทพมหานคร เมือง และชุมชนจะแออัดเนื่องจากเป็นศูนย์กลางการบริหารกิจการการให้บริการ
  5. ทรัพยากรในท้องถิ่นจะถูกใช้มากขึ้นและเกิดของเสียมากขึ้น ทั้งทรัพยากรที่นำมาเป็นปัจจัยการผลิต การดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางอาหารโลกในการผลิตอาหาร จะเห็นได้ว่าหากไม่ได้รับการวางแผนที่ดี ปัญหาที่เกิดขึ้นในเมือง ชุมชนและสังคม เริ่มทวีความรุนแรง ดังนั้น ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและสร้างภูมิคุ้มกันของชุมชนและท้องถิ่นจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจนั้น ควรสอดคล้องไปกับการพัฒนาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ มีภูมิคุ้มกันและรับมือกับการเปิดรับ ความอ่อนไหว ความเปราะบางต่อผลกระทบ นั่นคือ สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้หลังจากเผชิญปัญหา รวมทั้งใช้จัดการทรัพยากรในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และเชิงสาธารณะ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตและการใช้ทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วม อันจะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งและสร้างภูมิคุ้มกันของชุมชนและท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจของรัฐมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน เพื่อความเป็นธรรมในการจัดการทรัพยากร และเพื่อช่วยเป็นกำลังในการดูแลรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชนต่อไป

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (หลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษ)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (หลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษ)

จุดเด่น / ความมีเอกลักษณ์ของหลักสูตรที่ต่างจากสถาบันอื่น

  • มีกระบวนฝึกฝนนักศึกษาโดยเชื่อมโยงความรู้จากทฤษฏีไปสู่ภาคปฏิบัติ
  • มีการบูรณาการองค์ความรู้ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การถอดบทเรียนเมืองต้นแบบสิ่งแวดล้อมยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (หลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษ)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (หลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษ)


ความร่วมมือกับหน่วยงาน สถาบันภายนอก

  • หน่วยงานที่มีความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) สำนักงานสิ่งแวดล้อมจังหวัด และสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ในท้องถิ่น
  • โครงการที่ดำเนินงานให้กับเมืองต่าง ๆ เช่น
    1. โครงการศึกษาและพัฒนาทางเลือกยุทธศาสตร์ เมืองคาร์บอนต่ำ
    2. การถอดบทเรียนเมืองต้นแบบสิ่งแวดล้อมยั่งยืน
    3. เมืองต้นแบบสิ่งแวดล้อมอาเซียน เป็นต้น

รูปแบบการเรียนการสอน

  1. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ มีการเชื่อมโยงความรู้จากภาคทฤษฎี องค์ความรู้ที่นักศึกษาได้รับจากรายวิชาต่างๆ และนำสู่การเรียนรู้ในสถานการณ์จริงโดยภาคปฏิบัติ
  2. มุ่งเน้นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น หน่วยงานท้องถิ่น และองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม บูรณาการการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี ปฏิบัติและจากประสบการณ์การทำงานสร้างสรรค์งานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอันเป็นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างสมดุล และเป็นผู้นำด้านการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

สิ่งที่นักศึกษาจะได้รับเมื่อได้เข้ามาศึกษา และสำเร็จการศึกษาออกไป / อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

สิ่งที่นักศึกษาได้รับเมื่อเข้ามาศึกษาและสำเร็จการศึกษาออกไป นักศึกษาได้รับความรู้ทางทฤษฏีและการฝึกภาคปฏิบัติ ในมิติทางด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนอย่างครบถ้วน

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (หลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษ)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (หลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษ)

อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
  2. เจ้าหน้าที่นโยบายและแผน
  3. นักพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
  4. ผู้บริหารและบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  5. ผู้บริหารและบุคลากรขององค์กรมหาชน
  6. ผู้บริหารและบุคลากรขององค์กรอิสระ
  7. ผู้บริหารและบุคลากรขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม
  8. ผู้นำชุมชนและอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  9. ผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรทางการศึกษา
  10. ครูผู้ช่วย

ความภาคภูมิใจ / งานวิจัยที่โดดเด่น / ศิษย์เก่าที่เด่นดัง

มีการบูรณาการองค์ความรู้เรื่องเมืองต้นแบบสิ่งแวดล้อมยั่งยืนสู่หน่วยงานท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้วสามารถบูรณาองค์ความรู้ที่ได้รับปรับใช้กับการทำงานได้ดี

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (หลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษ)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (หลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษ)

ทุนการศึกษา / สวัสดิการ

ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีการเรียนดี

เชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าศึกษา

เรียนกับหลักสูตรเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน คุณจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนาเมืองในมิติทางด้านสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนได้ เมื่อนักศึกษาได้เข้ามาศึกษาและสำเร็จการศึกษาออกไป นักศึกษาจะได้รับความรู้ทางทฤษฏีและการฝึกภาคปฏิบัติ ในมิติทางด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนอย่างครบถ้วน และสามารถนำความรู้ไปพัฒนาเมืองและประเทศของเราได้

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (หลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษ)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (หลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษ)

ผู้สนใจเข้าศึกษา สามารถดูรายละเอียดหลักสูตรได้ที่

http://www.grad.mahidol.ac.th/th/prospective-students/view.php?id=2404M04G
ช่วงเวลาเปิดรับสมัคร : ตุลาคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์การ , งานรับนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร. ๐ ๒๔๔๑ ๙๑๒๙ ,๐ ๒๔๔๑ ๔๑๒๕ ต่อ ๒๐๘ – ๒๑๐, ๑๑๒ – ๑๑๓