เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   19   เมษายน   พ.ศ. 2567

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)

โดย อาจารย์ ดร. ปรเมศวร์ เหล่าสินชัย
ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)
MASTER OF SCIENCE PROGRAM IN SCIENCE AND TECHNOLOGY EDUCATION (INTERNATIONAL PROGRAM

นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันฯ จะเชี่ยวชาญทางการจัดการเรียนสอน ถ่ายทอดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาได้ดี เช่นไปเป็นครู อาจารย์ในสถาบันการศึกษาต่างๆ รุ่นแรก อยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี หลายท่านไปสอนวิทยาศาสตร์ บางท่านไปเป็นผู้นำ ผู้บริหารของโรงเรียน สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ทั้งของตนเองและในโรงเรียน สอดคล้องในบริบทของสังคมนั้นๆ ถือเป็นกำลังสำคัญ ที่มีส่วนในการช่วยพัฒนาประเทศอย่างยิ่ง ประเทศไทยจะแข่งขันกับนานาประเทศได้ต้องพึ่งครูที่มีจิตวิญญาณในความเป็นครูสูง มีความสามารถในการสอนได้อย่างดีเยี่ยม เพราะครูจะเป็นผู้สร้างเด็กให้มีคุณภาพ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้ คุณธรรม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

ความเป็นมา ความสำคัญของการจัดทำหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)ได้เริ่มจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ - ๒๔๕๖ ซึ่งในขณะนั้น สสวท. (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยา- ศาสตร์และเทคโนโลยี) มีนโยบายที่จะผลิตครูสอนวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ จึงได้จัดทำโครงการ สควค. (โครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ และคณิต- ศาสตร์) เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูสอนในสาขา วิชาดังกล่าว และยกระดับคุณภาพ ปริมาณการเรียนการสอน สถาบันที่ได้รับการยอมรับเป็นสถาบันผลิตครู ที่มีความเข้มแข็งทางวิชาการ มีความชำนาญทางวิชาชีพและมีจิตวิญญาณในวิชาชีพครู ด้านนี้ มี ๓ แห่ง คือ ๑) มหาวิทยาลัยมหิดล ๒) มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ และ ๓) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และนี่คือจุดเริ่มต้น ในการก่อตั้งสถาบันนวัตกรรมและการเรียนรู้ที่มหาวิทยาลัยมหิดล การก่อตั้งสถาบันหนึ่ง ในภารกิจคือเพื่อรับนักศึกษา และผลิตมหาบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาที่มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ และวิชาชีพ สามารถวิจัย อีกทั้งประยุกต์นวัตกรรมทางการศึกษา จัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของสังคม สามารถถ่ายทอดความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล หรือ อาจกล่าวได้ว่า สถาบันนวัตกรรมและการเรียนรู้ มุ่งผลิตบุคลากร ทางด้านวิทยาศาสตร์ในการสร้างนวัต-กรรม ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา ที่ช่วยในการเรียนการสอนการศึกษาได้ และนวัตกรรมนั้นมีความสำคัญเป็นประโยชน์ต่อสังคม และได้การยอมรับใน ระดับชาติหรือนานาชาติ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา  (หลักสูตรนานาชาติ)

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา  (หลักสูตรนานาชาติ)

จุดเด่น ความโดดเด่น ของหลักสูตร

ถ้าเทียบในเรื่องของหลักสูตรฯ กับสถาบัน การศึกษาในประเทศไทย หลักสูตรฯ เราจะเน้นการผลิตบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมทางการศึกษาเชิงลึก วิธีการพัฒนา กระบวนการเรียนรู้ และความสามารถในการสื่อสาร เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์ กลาง (learner centered) ภายใต้แนวคิด "ดี ง่าย ประหยัด คุณภาพสูง มีประโยชน์แก่ชีวิต" ความแตกต่างโดดเด่นของหลักสูตรฯ คือ หลักสูตรฯ จะเน้นที่ระดับการศึกษา ตั้งแต่ระดับมัธยมปลายขึ้นไป ซึ่งเป็นสถาบันเดียวในประเทศที่เน้นการผลิตนวัตกรรมในลักษณะนี้ นอกจากนั้น สถาบันนวัตกรรมและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล นักศึกษาจะมีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย หรืองานวิชาการในวารสารที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติเป็นจำนวนมาก ปัจจุบัน ศิษย์เก่าของสถาบันฯ สำเร็จการศึกษาไปเป็นอาจารย์และนักวิจัยในสถาบันต่างๆ สร้างผลงานเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและนานาชาติเช่นกัน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา  (หลักสูตรนานาชาติ)

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา  (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรฯ ตอบโจทย์อะไรให้กับสังคม

นักศึกษา ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันฯ จะเชี่ยวชาญทางการจัดการเรียนสอน ถ่ายทอดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาได้ดี เช่นไปเป็นครู อาจารย์ในสถาบันการศึกษาต่างๆ รุ่นแรก อยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี หลายท่านไปสอนวิทยาศาสตร์ บางท่านไปเป็นผู้นำ ผู้บริหารของโรงเรียน สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ทั้งของตนเองและในโรงเรียน สอดคล้องในบริบทของสังคมนั้นๆ ถือเป็นกำลังสำคัญ ที่มีส่วนในการช่วยพัฒนาประเทศอย่างยิ่ง ประเทศไทยจะแข่งขันกับนานาประเทศได้ต้องพึ่งครูที่มีจิตวิญญาณในความเป็นครูสูง มีความสามารถในการสอนได้อย่างดีเยี่ยม เพราะครูจะเป็นผู้สร้างเด็กให้มีคุณภาพ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้ คุณธรรม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา  (หลักสูตรนานาชาติ)

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา  (หลักสูตรนานาชาติ)

ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก

สสวท. (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยา- ศาสตร์และเทคโนโลยี) เป็นความร่วมมือหลัก และขณะนี้ทางสถาบันฯ ได้ร่วมมือกับ สสอท. (สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย) ในการผลิตครูเหมือนกัน เป็นโครงการต่อเนื่องของ สควค. ซึ่งสถาบันฯ กำลังรับนักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ปริญญาโทเปิดรับ ๒ ช่องทาง คือ ช่องทางแรก คือ เด็กที่จบวิทยาศาสตร์ จากปริญญาตรีมาศึกษาต่อ เมื่อสำเร็จการศึกษาจากสถาบันฯ จะขอใบประกอบวิชาชีพครูได้ ช่องทางที่ ๒ คือ รับนักศึกษาที่สำเร็จในหลักสูตร/คณะครุศาสตร์ เป็นเด็กครุศาสตร์ ที่เรียนการสอนสาขาวิทยาศาสตร์ สถาบันฯ จะเพิ่ม content ทางวิทยาศาสตร์ให้ โดยความร่วมมือกับ สสวท. นอกจากนี้ทางสถาบันฯ ยังได้ร่วมมือกับ สกอ. ส่วนหน่วยงาน อื่นๆ เช่น อพวช. (องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยา- ศาสตร์แห่งชาติ) ตรงนี้เราได้รับความมือจากศิษย์เก่าที่อยู่ใน อพวช. โดยพัฒนากิจกรรมในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ รวมถึงร่วมงานกับสถาบันคลังสมองของชาติ ช่วยอบรมอาจารย์ในการพัฒนาการเรียนการสอนเหมือนกัน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา  (หลักสูตรนานาชาติ)

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา  (หลักสูตรนานาชาติ)

ความสำคัญที่จัดทำเป็นหลักสูตรนานาชาติ

ระดับมัธยมปลาย หรืออุดมศึกษาในปัจจุบัน ในประเทศมีการเรียนการสอน ๒ ภาษา คือ โรงเรียนที่มีการเรียนการสอนหลักสูตรเป็นภาษาอังกฤษ โรงเรียนที่สอนหลักสูตรเป็นภาษาไทย บางโรงเรียนมีความต้องการที่จะสอน ทั้งหลักสูตรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ศิษย์เก่าที่สำเร็จจากสถาบันบางท่าน กลับไปเป็นครูสอนที่โรงเรียน พัฒนาหลักสูตร พัฒนาการสอนวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ อีกส่วนหนึ่ง คือ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ถ้าจะศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ต้องอ่านตำราภาษาอังกฤษ ฉะนั้นถ้าสอนเป็นภาอังกฤษ เด็กก็จะสามารถเข้าใจตัวเนื้อหาวิชาได้มาก สามารถพัฒนาตนเองได้ และนำไปสอนได้ดีมากขึ้น สถาบันฯ จึงเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรนานาชาติ (ภาษาอังกฤษ )

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา  (หลักสูตรนานาชาติ)

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา  (หลักสูตรนานาชาติ)

นักศึกษาต่างชาติ เข้ามาเรียนด้วยหรือไม่

ปัจจุบัน สถาบันฯ มีนักศึกษาจากประเทศอินโดนีเซีย เมียนมาร์ จีน อเมริกา อังกฤษ ที่ผ่านมามีนักศึกษามาจากประเทศบังคลาเทศ ภูฏาน ได้รับทุน เช่น ภูฏานได้รับทุนไจก้า แต่นักศึกษาบางคนใช้ทุนส่วนตัว เช่น นักศึกษาอเมริกา เป็นอาจารย์สอนในโรงเรียนนานาชาติ เข้ามาศึกษาเพื่อต้องการพัฒนาตนเอง และในหลักสูตรฯ จะมีการแลกเปลี่ยนแชร์ประสบการณ์หลังสำเร็จการศึกษา เช่น นักศึกษาภูฏานเมื่อสำเร็จการศึกษา กลับไปทำงานที่ประเทศของตน จะกลับมาในช่วงรับปริญญา จะมาแชร์ประสบการณ์ของตนเองในการนำความรู้ไปพัฒนาในด้านใด เช่น การสอนวิทยาศาสตร์ รวมถึง นำไปใช้ในการเรียนการสอนปกติของเขา ด้วยภูฏานกำลังก้าวไปเป็นประเทศกำลังพัฒนา

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา  (หลักสูตรนานาชาติ)

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา  (หลักสูตรนานาชาติ)

ความภาคภูมิใจ งานวิจัยของหลักสูตร หรือศิษย์เก่าที่น่าภาคภูมิใจ

หลักสูตรฯ จะมีการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง การออกแบบสื่อที่ใช้ จะต้องเป็นอุปกรณ์ที่สามารถจับต้องได้ เพื่อที่จะประกอบเข้ากับบทเรียน มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นักศึกษาจะได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างเข้าใจ เชิงลึก ในส่วนงานวิจัย ผลงานที่โดดเด่นของหลักสูตร เช่น โมเดลของกล้ามเนื้อ ซึ่งต่างประเทศมีการถามมาว่า มีการจัดจำหน่ายขายหรือไม่ ซึ่งจริงๆ แล้วก็ขาย แต่จำนวนการผลิตนั้นมีจำกัด ด้วยเราไม่มีแรงงานในการผลิต โมเดลโปรตีน โมเดล DNA เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากในการเรียนการสอน นอกจากนี้ เรายังมีโมเดลเกี่ยวกับฟิสิกส์ มีการทำ Lab การออกแบบทดลองทางเคมี ซึ่งไม่เหมือนที่เคยมี สามารถใช้วัสดุทั่วไป ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ เป็นเรื่องที่น่าสนใจมีความจำเป็นเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน สามารถใช้งานได้จริงรวมถึงคณิตศาสตร์ก็มี ในส่วนของศิษย์เก่า นอกจากได้นำความรู้ไปพัฒนาช่วยในเรื่องการเรียนการสอน บางท่านนำไปพัฒนางานในหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น และที่สถาบันฯ มีศิษย์เก่าหลายท่านที่ดำรงตำแหน่งการงานที่สำคัญ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา  (หลักสูตรนานาชาติ)

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา  (หลักสูตรนานาชาติ)

ทุนการศึกษา สวัสดิการของหลักสูตร สำหรับนักศึกษา

สถาบันฯ ได้ทำความร่วมมือกับสถาบัน องค์กร หน่วยงานต่างๆ ให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษา เช่น ทุน ๖๐ ปีกาญจนาภิเษก ทุน สควค. ในระดับปริญญาเอกและปริญญาโท และสถาบันฯ ได้ร่วมสนับสนุนให้ทุนร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย เช่น ทุนมหิดล-นอร์เวย์ ทุนไทก้า ทุนเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ ปี ครองราชสมบัติ ทุนสนับสนุนการเสนอผลงาน จากบัณฑิตวิทยาลัย เช่น ทุนสนับสนุนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในการเสนอผลงานทางวิชาการ ภายในประเทศ ทุนอุดหนุนในการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาโท – เอก ไปเสนอผลงานทางวิชาการ ณ ต่างประเทศ และทุนไปเสนอผลงานของหลักสูตรฯ ทั้งในและต่างประเทศ และหากกรณีถ้าไม่พอ สถาบันจะสนับสนุน โดยเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่บัณฑิตวิทยาลัยสนับสนุน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา  (หลักสูตรนานาชาติ)

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา  (หลักสูตรนานาชาติ)

การพัฒนาหลักสูตร

ปัจจุบันหลักสูตรของสถาบันฯ ยังไม่สามารถให้ใบประกอบวิชาชีพครู กับผู้สำเร็จการ ศึกษาในหลักสูตรได้ หลักสูตร จึงมีการปรับปรุงหลักสูตรในปีการศึกษา ๖๐ เพื่อรองรับเด็กทุน สควค. เงื่อนไขของ สควค. คือ ในสถาบัน การศึกษาเดียวกัน ควรจะมีหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรีและโท เพื่อสร้างความต่อเนื่องในการศึกษาและเพื่อการพัฒนาในหลักสูตร สถาบัน จึงร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล โดยรับนักศึกษาในระดับปริญญาตรี จากคณะวิทยา- ศาสตร์ เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาโท และนักศึกษาจะได้ใบประกอบวิชาชีพครู ซึ่งตรงนี้จะเพิ่มจำนวนนักศึกษาให้กับสถาบันมากเป็นเท่าตัว

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา  (หลักสูตรนานาชาติ)

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา  (หลักสูตรนานาชาติ)

แนะนำหลักสูตรเชิญชวนผู้สนใจในหลักสูตร

ขอเชิญชวน สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) หากท่านเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางวิทยา ศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ศึกษา เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ หรือ เคมี หรือแม้แต่ คณิตศาสตร์ ถ้าอยากพัฒนาการเรียนการสอนของท่าน ให้เด็กเข้าใจอย่างถ่องแท้ หลักสูตรฯ ของเราเหมาะกับท่านเป็นอย่างยิ่ง เพราะหลักสูตรฯ เน้นในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้เด็กเข้าใจวิทยาศาสตร์ รวมถึงคอมพิวเตอร์ และสำหรับผู้สนใจทั่วไปที่สนใจจะศึกษา หลักสูตรฯ รับผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์ (ทุกสาขา) ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ (เอกวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี) วิทยาศาสตร์การแพทย์ และถ้าท่านอยากเป็นนักวิจัยที่สามารถสร้างนวัตกรรม เพื่อช่วยในการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์ วิทยา ศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ รวมถึงถ้าท่านอยากพัฒนาภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน ซึ่งเราใช้การเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ๑๐๐% และมีนักศึกษาต่างชาติเรียนร่วมด้วย ท่านจะได้ฝึกทักษะภาษาอังกฤษอย่างแท้จริง

ผู้สนใจเข้าศึกษา สามารถดูรายละเอียดหลักสูตรได้ที่

http://www.grad.mahidol.ac.th/th/prospective-students/view.php?id=7101M01G

ช่วงเวลาเปิดรับสมัคร : ตุลาคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์การ , งานรับนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0 2441 4125 ต่อ 130 - 135, 110-115