เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันเสาร์ที่   27   เมษายน   พ.ศ. 2567

โครงการประชุมวิชาการนานาชาติ International Symposium on Neuroscience and Global Health 2018


โครงการประชุมวิชาการนานาชาติ International Symposium on Neuroscience and Global Health 2018

โครงการประชุมวิชาการนานาชาติ International Symposium on Neuroscience and Global Health 2018

บัณฑิตวิทยาลัย ร่วมกับ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล คณะแพทยศาสตร์ศิริรราชพยาบาล คณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ กระทรวงการต่างประเทศ จัดโครงการประชุมวิชาการนานาชาติ International Symposium on Neuroscience and Global Health 2018 ในวันที่ 6 – 8 สิงหาคม 2561

วันที่ 6 สิงหาคม 2561 : ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณสิรินทร์ พิบูลนิยม สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าววัตถุประสงค์การจัดงานประชุม โดย รองศาสตราจารย์ ดร. นัยพินิจ คชภักดี ผู้ประสานงานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล และ University of Oslo พิธีเปิดโดย ศาสตราจารย์ ดร. พญ. พัชรีย์ เลิศฤทธิ์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ร่วมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เจตน์สว่าง ประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต และ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ ) / ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล และรองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ อุดมกิจ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและพัฒนาหลักสูตร สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติกล่าวต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมการประชุม และได้รับเกียรติจาก คุณประสิทธิพร เวชประสิทธิ์ เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ เป็นตัวแทนร่วมกล่าวแสดงความยินดีในการร่วมจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ International Symposium on Neuroscience and Global Health 2018

จากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษ หัวข้อ "Water Channel Aquaporin-4 (AQP4) in the Brain: StructureFunction, Localization, and Clinical Impacts." โดย Professor Dr. Med. Ole Petter Ottersen. President of Karolinska Institute, Norway หัวข้อ "Abnormal amyloid drainage in the brain, implications for Alzheimer's disease " โดย Associate Professor Dr. Reidun Torp และหัวข้อ "Loss of astrocyte polarity: A common denominator for neurological conditions?" โดย Professor Dr. Mahmood Amiry-Moghaddam, จาก Institute for Basic Medical Sciences, Faculty of Medicine, University of Oslo, Oslo, Norway

โครงการประชุมวิชาการนานาชาติ International Symposium on Neuroscience and Global Health 2018

โครงการประชุมวิชาการนานาชาติ International Symposium on Neuroscience and Global Health 2018

ช่วงบ่าย เป็นการบรรยาย หัวข้อ Summary and Progress Reports on the Mahidol-Norway Capacity Building for Institutions in Myanmar (CBIM) and Capacity Building Initiative for ASEAN (CBIA) โดย ศาสตราจารย์ ดร. พญ พัชรีย์ เลิศฤทธิ์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล หัวข้อ Alumni and Employer Survey for CBIM students โดย Dr. Aung Win Tun ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อด้วยการบรรยาย หัวข้องานวิจัยที่น่าสนใจทางด้านชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล โดยคณาจารย์ต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วย

  • Methamphetamine-induced neurotoxicity: From neuron cells degeneration to cognitive impairment โดย ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เจตน์สว่าง ประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต และ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ ) / ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ม.มหิดล
  • Neuroprotective effect of Thai natural products against Alzheimer's disease โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิภาวรรณ ตั้งนิพนธ์ ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล
  • Research on development of executive functions and selfregulation in Thai children โดย รองศาสตราจารย์ ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล
  • The research techniques to study human cognitive processing โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์ ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล
  • Research on biological signaling and wearable device in stress and mental health problems โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุคนธา งามประมวญ ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล
  • Neuronal changes in the maternal deprivation model of early life stress โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติคุณ วิวัฒน์ภิญโญ ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล
  • Brain exercise for patients after stroke โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์